อื่นๆ

ข่าวสาร วัฒนธรรม และเรื่องอื่น ๆ

New Year’s Resolutions

New year’s resolution แปลว่า ปณิธานปีใหม่ คือ การตั้งใจว่าทำอะไรใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงอะไรในปีใหม่นี้ เช่น เลิกสูบบุหรี่ หรือ ออกกำลังกายทุกวัน หรือ เรียนภาษาอังกฤษทุกวัน ฯลฯ ปีใหม่ก็เป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่ทำคนให้เกิดกำลังใจในการทำอะไรให้ชิวิตตัวเองเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เคยฟังวิทยุเขาเล่าว่า ปณิธานปีใหม่ ส่วนใหญ่จะล้มเหลว คนทำได้สักพักก็เลิก แต่ผมว่าอย่างน้อยก็ยังดีกว่าขอโชค ขอหวย จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะ ปณิธานปีใหม่ เป็นการขอตัวเองให้ทำอะไร เป็นพลังจากภายในเราเอง

ก็ขอให้ท่านที่มีปฏิธานปีใหม่ทุกท่าน ประสบความสำเร็จในปีนี้

May all your new year’s resolutions come true.

Khan Academy

ผมขอแนะนำ http://www.khanacademy.org  ซึ่งจัดทำโดยคุณ ซาลแมน คาน (Salman Khan) เขามีวีดีโอสอนวิชาต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับอนุบาล ไปจนถึงคนทำงาน  เมื่อก่อนมีแต่วีดีโอ ในปีนี้เขาได้ปรับปรุงใหม่ มีลูกเล่นต่าง ๆ มากมาย สามารถดูความก้าวหน้าในการเรียนของเราได้ ถ้าเป็นครู หรือผู้ปกครองก็ดูความก้าวหน้าของนักเรียนที่เราดูแลอยู่ได้  โดยทุกอย่างฟรีหมด เป็นองค์กรที่ทำโดยไม่หาผลกำไรใด ๆ

Khan Academy
ถึงไม่มีวิชาภาษาอังกฤษ แต่ก็ใช้เรียนภาษาอังกฤษได้ เราเลือกวิชาที่เราสนใจ และพอมีพื้นฐานอยู่บ้าง วีดีโอมี closed caption หรือ คำบรรยายภาษาอังกฤษ ให้ดูตามไปได้ ถ้าฟังยังไม่ค่อยออก คนสอนใช้ภาษาแบบเป็นการพูดคุย ทำให้ไม่น่าเบื่อ อย่างนี้เรียกว่า ยิงทีเดียวได้นกสองตัว ได้ทั้งภาษา และความรู้ที่เขาสอน

วิธีเลือกคำบรรยาย ให้กดที่เครื่องหมายเฟือง ที่มุมขวาล่างของวีดีโอ แล้วเลือก subtitle เป้น English วีดีโอ Youtube ทั่ว ๆ ไปใช้คอมพิวเตอร์ฟังเสียงแล้วสร้างคำบรรยายอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ยังไม่ถึงขั้น ผิดเยอะแยะ ใช้ไม่ได้เลยครับ สำหรับวีดีโอของ khanacademy เขาใช้คนใส่ไว้ก่อน เพราะฉะนั้น คำบรรยายเขาถูกต้อง

 

Lee Kuan Yew and Singapore

คุณลีกวนยูก็เพิ่มเสียชีวิตไปเมื่อวันจันทน์ที่ผ่านมา ผมก็เลยได้มีโอกาสได้ฟังบทสัมภาษณ์เก่าของท่านในรายการชาลี โรส ของ PBS น่าสนใจครับ เราอาจได้ยินเรื่องวิสัยทัศน์ และความสำเร็จของท่านมาบ้าง แต่ที่ผมประทับใจและเพิ่งเข้าใจชัดเจนจากรายการนี้ คือ วิสัยทัศน์ในการสร้างสังคมที่คนต่างเชื้อชาติ และภาษามาอยู่ร่วมกันได้โดยสันติ ในสิงคโปร์นั้นมีทั้งคนเชื้อสายจีน มาเล และอินเดียอาศัยอยู่ แล้วก็มีฝรั่ง และชาติอื่น ๆ มาทำงาน หรือเรียนอีกมาก (มากกว่า 30% เป็นชาวต่างชาติ)  นี่เป็นปัญหาใหญ่ของโลกตอนนี้นะครับ ซึ่งคุณลีก็แสดงให้เห็นแล้วว่า เขาทำสำเร็จได้อย่างไร และต่างจากวิธีของอเมริกันอย่างไร  แต่เขาก็ยอมรับว่า วิธีของเขานั้นเป็นวิธีเชิงบังคับ (enforced) การปรองดองมันยังไม่อยู่ใน DNA ของคน

คุณลีเป็นคนที่มองโลกกว้างครับ เพราะได้ไปอยู่ที่อังกกฤษ และอเมริกา และก็ไปเยี่ยมดูที่ต่าง ๆ มาทั่วโลก เขาเรียนรู้จากประสบการณ์ และความผิดพลาดของคนอื่น และของตนเอง ใครที่สนใจเรื่องการบ้างการเมือง หรือเรื่องสังคมโลก และความปรองดองของคน ลองคลิกที่รูปไปฟังดูนะครับ (ลิงค์อาจอยู่ไม่ถาวร ขึ้นกับเจ้าของเขา) ผมอยากจะแปลให้แต่ก็คงไม่ไหว ใครสงสัยตอนไหนก็ถามมาแล้วกัน

Lee Kuan Yew on Charlie Rose

 

Pro vs Anti

เขียนเรื่อง For or Against แล้ว ก็ทำให้นึกถึงอีกคู่หนึ่งที่คล้าย ๆ กัน คือ pro กับ anti (อ่านว่า -แอน-ไท- หรือ -แอน-ที- ก็ได้) แต่สองคำนี้ใช้เป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนาม บางทีก็เขียนมีการขีดขั้นกลางก่อนคำนาม และค่อนข้างเป็นเรื่องการเมืองหน่อย

ที่ว่าการเมือง หรือ politics นี่ก็ ไม่จำเป็นต้อง หมายถึง เรื่องของนักการเมืองอย่างเดียวนะครับ แต่หมายถึงเรื่องที่แบ่งฝ่ายกันในสังคม มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ไม่จำเป็นถึงกับทะเลาะกัน แต่บางทีก็มีบ้าง ในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น ถ้ามีความเห็นแบ่งฝ่ายกันสองอย่างขัดแย้งกัน แล้วมีคนสนับสนุนพอ ๆ กัน เรื่องมันก็มันจะเข้าไปถึงพรรคการเมืองครับ เพราะ นักการเมืองก็มาจากประชาชน และก็ต้องเอาใจคน โดยมากนักการเมืองก็ต้องแสดงความคิดเห็นตัวเองว่า เห็นด้วยกับฝ่ายไหน เพราะ คนเขาอยากจะเลือกคนที่คิดเหมือนเขา

เมืองไทยเราก็มักจะขัดแย้งระดับตัวบุคคล หรือพรรคการเมืองนะครับ เช่นที่ชัดเจนก็คือ pro-taksin กับ anti-taksin (ผมแกล้งสะกดผิดนะครับ เพราะเวบนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง แค่แนะนำภาษา กับวัฒนธรรมเฉย ๆ) เทียบเท่ากับอเมริกาก็ pro-obama กับ anti-obama  แต่ในอเมริกานั้น เขามีเรื่องขัดแย้งกันในเรื่องความคิด หรือ หลักการเยอะครับ เพราะฉะนั้นคำแต่ละคำพวกนี้ บางทีมีความหมายลึกซึ้ง ย้อนถึงในประวัติศาสตร์ ในวัฒนธรรม ใครอ่านข่าวใหม่ ๆ ก็อาจจะไม่เข้าใจ  เช่น คำว่า pro gun ก็ไม่ได้แปลว่า พวกชอบปืน แต่หมายถึง ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการมีปืนในครอบครอง หรือใช้ปืนป้องกันต่อ (รัฐธรรมนูญของอเมริกันนั้นกำหนดไว้ว่า การมีปีนไว้ป้องกันตัวเป็นสิทธิ) และ พวก anti gun ก็คือ พวกที่เห็นตรงกันข้ามกับเรื่องนี้ หรืออยากให้มีกฏหมายควบคุมให้เข้มงวดกว่านี้  ลองดูตัวอย่างคำอื่น ๆ ในสังคมอเมริกันนะครับ บางคำก็ใช้ในสังคมโลกด้วย เช่น

  • pro gay vs anti gay  หรือ pro gay right vs anti gay right  พวกเห็นด้วยกับการให้สิทธิเกย์ในการแต่งงาน กับ พวกต่อต้าน
  • pro immigration vs anti immigration  พวกเห็นด้วยกับการมีกฏหมายเอื้ออำนวยกับคนเข้าประเทศขอสัญชาติ กับพวกต่อต้านไม่ชอบคนต่างชาติ หรืออยากให้มีกฏหมายเข้มงวดกว่านี้
  • pro free trade vs anti free trade  พวกเห็นด้วยกับการเปิดการค้าเสรี (กับต่างชาติ) กับพวกต่อต้าน
  • pro choice vs pro life   เรื่องนี้เกี่ยวกับกฏหมายการทำแท้งนะครับ  pro choice คือ พวกเห็นด้วยกับการให้เสรีในการทำแท้ง (ในกรณีท้องโดยไม่ต้งใจ หรือมีเหตุผลทางแพทย์) ส่วน pro life หรือ anti abortion คือ พวกต่อต้านการทำแท้ง
  • pro science vs anti science เรื่องนี้กว้างครับ บางทีหมายถึง เรื่องโลกร้อน (global warming) ก็มีพวกที่เชื่อกับไม่เชื่อ  บางทีก็หมายถึง เรื่องเชื่อว่า พระเจ้าที่สร้างโลกมีจริง หรือไม่จริง   คำว่า anti science นี้ก็ใช้เหมือนเป็นคำดูถูกกันนะครับ ว่าเป็นพวกต่อต้านวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น เราอย่าไปซี้ซั้วใช้

ก็ยังมีเยอะกว่านี้ครับ ผมแค่เล่าคร่าว ๆ อย่าไปถือว่าเป็นคำจำกัดความที่สรุปตรงเป๊ะนะครับ ใครสนใจก็ไปหาอ่านเพ่ิมเติมเอา  และก็ยังมีอีกหลายเรื่อง ที่เขาไม่ได้ใช้คำว่า pro หรือ anti เช่น พวกฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายขวา  พวก liberal หรือ conservative และอื่น ๆ   คำพวกนี้มีความหมายเฉพาะลึกซื้งในตัวมัน  ซึ่งในวัฒนธรรมการเมืองของไทยนั้น ไม่มีคำพวกนี้ ผมเรียกว่า ยังไปไม่ถึงก็แล้วกัน  ก็ไม่ได้ว่าดี หรือไม่ดีนะครับ ที่อเมริกานั้นเขาปกครองกันเองมากว่า 220 ปี  ส่วนของไทยเราสัก 80 ปี และขึ้น ๆ ลง ๆ  ของเขาก็ขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนกันในตอนแรก ๆ ประเด็นของผม หรือข้อสังเกตของผมในที่นี้ก็คือ ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น เนื่องจากคนมีความคิดไม่เหมือนกัน ความขัดแย้งก็มีเป็นธรรมดา คำพวกนี้ที่ใช้แบ่งแยกความคิดกัน แยกพวกกัน ก็เกิดขึ้นอย่างมากมายเป็นธรรมดา

ความขัดแย้งทางความคิดนี้ จริง ๆ แล้วคนตะวันตกส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องไม่ดีนะครับ แนวคิดคือว่า ประชาธิปไตยนั้นไม่ได้เอาไว้แก้ไขไม่ให้มีความขัดแย้ง  แต่เอาไว้บริหารความขัดแย้ง  ว่าขัดแย้งแล้วก็ยังอยู่ด้วยกันได้ ทำงานกันได้  จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องดีที่คนเห็นไม่ตรงกัน จะได้คัดคานกัน  ที่เขามองว่าไม่ดี คือ การขัดแย้งจนไม่สามารถทำงานอะไรกันไม่ได้ หรือขัดแย้งแล้วสร้างความรุนแรง หรือทำผิดกฏหมาย ซึ่งเขาก็มีปัญหาทั้งสองแบบนี้กันอยู่เนือง ๆ เหมือนกันดังที่ได้เห็นกันในข่าว ของใครดีไม่ดีก็คิดกันเอาเองนะครับ  ว่าจะพูดแต่เรื่องภาษา ก็ไปเข้าการเมืองหน่อยจนได้ ขออภัยครับ

A brief history of plural word…s

ใครว่า คำพหูพจน์ยาก และวุ่นวาย (ผมด้วย) เดี่ยวเติม s เดี๋ยวเปลี่ยนรูป

มาดูประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้หน่อย  เมื่อก่อนยาก และวุ่นวายกว่านี้อีก  น่าสนใจดี

วันหยุด

ขอหยุดพักร้อนสักพักครับ สัปดาห์หน้าค่อยกลับมา

พูดถึงวันหยุด วันหยุดของฝรั่งมีสามแบบ weekend คือ เสาร์อาทิตย์ holiday คือ วันหยุดพิเศษ เช่น วันปีใหม่ วันแรงงาน สงกรานต์ ฯลฯ ถ้าเราไปพูดถึงหยุดเสาร์อาทิตย์เป็น holiday คนฟังจะงงนะครับ

ส่วนแบบที่สาม คือ PTO (อ่านว่า พี ที โอ) ย่อมาจาก Paid Time Off เป็นคำรวม ๆ หมายถึง การลาหยุดที่บริษัทจ่ายค่าจ้างให้ จะหยุดไปทำธุระ หรือ ไปเที่ยวก็ได้ ถ้าหยุด PTO หลายวันหน่อย เพื่อพักผ่อน หรือไปเที่ยว ก็เรียก vacation หรือ ลาพักร้อน

นั่นก็สามแบบหลัก แต่จริง ๆ มีอีกหลายแบบ ปลีกย่อย ได้แก่

  • sick leave ลาป่วย บางบริษัทก็นับเป็น PTO
  • ลาเลี้ยงลูกที่เพิ่งเกิด เป็นพนักงานหญิงก็เรียก maternity leave (-มะ-[เทอ]-นิ-ตี-) ถ้าชายก็เรียก paternity leave (-พะ-[เทอ]-นิ-ตี-) หรือ จะเรียกกลาง ๆ ไม่ระบุเพศก็ใช้ parental leave หรือ family leave ก็ได้ บางประเทศมีกฏหมายบังคับให้บริษัทต้องให้หยุด หรือต้องจ่ายค่าแรงให้ในการหยุดแบบนี้ บางประเทศไม่เป็นกฏหมายก็แล้วแต่นโยบายของบริษัทว่าจะจ่าย หรือไม่จ่าย หรือให้ไป หรือไม่ให้ไปกี่วัน
  • Leave of absence คือ ลาทำธุระพิเศษระยะยาว อาจเป็นหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน เช่น ไปดูแลญาติป่วย หรือเสีย อันนี้ไม่จ่ายค่าแรงครับ แต่ตกลงกันว่า จะไปนานแค่ไหน และยังเป็นพนักงานอยู่ คือ กลับมาจะให้ทำงานต่อ ว่างั้น
  • Sabbatical leave (-สะ-[แบ]-ติ-เคิล-) อันนี้เหมือนเป็น vacation พิเศษระยะยาว อาจจะเดือนสองเดือน ถึงยาวถึงหนึ่งปี อันนี้เฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ ดี ๆ ถึงมี เป็นสวัสดิการให้พนักงานที่ทำงานมานาน ๆ เช่น 8 ปี 10 ปี ก็อนุญาติให้พนักงานพักยาว บริษัทอาจจ่ายค่าแรงให้ส่วนหนึ่ง ฝรั่งก็ใช้ในการหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการงาน เช่น ไปท่องเที่ยว ไปเป็นอาสาสมัคร ไปสอนหนังสือ หรือ ทำงานพิเศษชั่วคราวอื่น ฯลฯ

ตัวพิมพ์ใหญ่

คุณ N. ถามมาว่า “ทำไมภาษาอังกฤษบางครั้งถึงต้องเขียนตัวพิมพ์ใหญ่หมดเลย บางครั้งต้องเขียนตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะคำขึ้นต้น หรือบางครั้งก็เขียนตัวพิมพ์เล็กได้หมดเลย”

ก่อนอื่น คำว่า ตัวพิมพ์ใหญ่นี่ ภาษาอังกฤษใช้ว่า uppercase letter หรือ capital letter ก็ได้  และเวลาไปกรอกแบบฟอร์มอะไร ถ้าเขาต้องการให้เราใช้ตัวใหญ่ (เพื่อความชัดเจน) ก็จะบอกว่า Please print หรือ Please use uppercase letters   คำว่า print ในที่นี้ เป็นที่รู้กันหมายถึง ให้ใช้ตัวใหญ่

มาถึงว่าเมื่อไรถึงใช้ตัวใหญ่ คิดว่าหลักพื้นฐานทุกคนคงรู้แล้ว คือ ขึ้นประโยคต้องอักษรนำตัวใหญ่ คำเฉพาะต้องอักษรนำตัวใหญ่ เช่น One of the biggest cities in the world is New York City.

Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net