อื่นๆ

ข่าวสาร วัฒนธรรม และเรื่องอื่น ๆ

Leave someone behind

ผมอ่านบทความเกี่ยวกับครูที่เอาใจใส่เด็กทุก ๆ คน โดยเฉพาะเด็กที่อ่อนกว่าคนอื่น ก็นึกถึงสำนวน leave someone behind แปลตามตัวก็คือ ปล่อยให้ใครตามหลัง หรือ ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เช่น เวลาไปเดินทางไกลเป็นกลุ่ม บางคนอาจจะไม่แข็งแรงเท่าคนอื่น เดินช้ากว่าเขา ถ้าจะบอกคนอื่นว่า ไปก่อนเถอะ ปล่อยฉันไว้ข้างหลัง ก็พูดได้ว่า Go ahead, just leave me behind.

ผมก็ได้เรียนรู้และสัมผัสมาว่า สังคมที่เห็นแก่ตัว คือ สังคมที่ปล่อยคนอ่อนแอไว้ข้างหลัง ให้คุณค่าเฉพาะแก่คนที่ฉลาด แข็งแรง หรือ ร่ำรวย สังคมที่น่าอยู่ คือ สังคมที่ไม่เห็นแก่ตัว อันนี้คนส่วนใหญ่คงเห็นด้วย แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น ถ้าดูตามสถิติแล้ว สังคมที่ไม่เห็นแกตัว ก็เป็นสังคมที่เจริญกว่าด้วย คุณดูประเทศในโลกที่หนึ่งทั้งหลาย มีอัตราภาษีโดยเฉลี่ยที่สูงกว่าประเทศโลกที่สามมาก มีการโกงกินน้อยกว่า และที่สำคัญให้ความสำคัญกับการศึกษาแก่ทุก ๆ คนอย่างเท่าเทียมกัน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคน และค่านิยม

ในโลกเรามีตัวอย่างให้เห็นมากมายว่า แม้แต่คนพิการก็สามารถทำประโยชน์ได้มาก เช่น Steven Hawkins นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ตอนนี้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ตอนนี้อายุ 72 ปีนั่งรถเข็นอย่างเดียว แม้แต่พูดยังพูดไม่ได้ ต้องพูดผ่านคอมพิวเตอร์อย่างเดียว อาการพิการของเขาเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 21 ปี หมอบอกคงอยู่ได้อีกแค่สองปี แต่เขาก็ต่อสู้ไม่เพียงแต่อยู่ต่อมาได้ แต่ทำประโยชน์อย่างมากมาก ทั้งเขียนหนังสือ ค้นคว้าทฤษฎีใหม่ เป็นอาจารย์สอนหนั่งสือ มีเด็กจบปริญญาเอกในความดูแลของเขาถึง 39 คน

Helen Keller หญิงอเมริกันเกิดเมื่อปี 1880 ตาบอดและหูหนวกตั้งแต่อายุ 2 ขวบ สมัยก่อนนั้นคนตาบอดก็ยังพอให้การศึกษาได้ แต่ทั้งบอดและหูหนวกก็เรียกว่าหมดหวัง แต่เธอโชคดีที่มีพ่อแม่ที่พยายามขวนขวาย หาผู้รู้ หาครูพิเศษมาสอนลูกจนได้ ต่อมา Helen นั้นสามารถทั้งอ่านออก เขียนได้  และพูดได้ มีอาชีพเป็นทั้งนักพูด นักรณรงค์ และนักเขียน เรื่องราวของเธอ และครูที่สอน เคยมีคนเอามาทำเป็นหนังชื่อ The Miracle Worker ถ้าสนใจลองหาอ่านดูนะครับ

คนสองคนนี้ ถ้าไม่ได้คนรอบข้างที่เอาใจใส่ เขาไม่มีทางที่จะเป็นประโยชน์อะไรได้เลย เพราะแค่ช่วยตัวเองก็ยังไม่ได้ ผมก็ยกเอาเฉพาะคนดัง ๆ มา แต่ยังมีตัวอย่างอีกมากมาย และก็มีตัวอย่างที่เราทุกคนทำได้ทั้งนั้น เช่น เห็นเพื่อนที่เรียนอ่อน ก็ช่วยสอนเขา  เห็นเพื่อนที่เศร้า ก็ไปถามไถ่ทุกข์สุข  เห็นใครถูกทิ้งไว้คนเดียวไม่มีเพื่อน ไม่มีใครคุยด้วย ก็ไปคุยกับเขา ดูตัวอย่างการใช้สำนวนนี้นะครับ

  • If you leave others behind,

Sportsmanship

คนไทยเอาคำว่าใจสปอร็ตมาใช้ในความหมายว่า ใจกว้าง ชอบแจก  ซึ่งไม่ได้ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย ก็ไม่รู้ว่าเริ่มมาจากไหน  คำว่ามีความใจกว้างในภาษาอังกฤษ คือ generous ([เจน]-เนอะ-รัส) เป็นคำคุณศัพท์  He is generous.   ก็แปลว่า คนนี้มีความใจกว้าง ชอบแจก ชอบให้เยอะ ๆ

ส่วนคำว่า sport นั้นก็ไม่ได้เป็นคำคุณศัพท์ด้วยซ้ำ แปลว่า กีฬา  เวลาจะบอกว่าใครมีน้ำใจนักกีฬา ก็มักใช้กับคำนาม sportsmanship (สะ-[ปอรทส]-แมน-ฉิพ) คือ ความมีน้ำใจนักกีฬา เช่น

  • He has/exhibits good sportsmanship.  

Best Mother’s Day Speech by the MVP

วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้เป็นวันแม่ที่สหรัฐอเมริกา สัปดาห์นี้ก็เลยเหมือนเป็นสัปดาห์วันแม่ โรงเรียนบางที่มีกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ  ก็จังหวะพอดีกับนักบาสเกตบอล NBA ชื่อ เควิน ดูรันท์ (Kevin Durant) เพิ่งได้รับรางวัล MVP ประจำปีของ NBA  ตัวย่อ MVP ก็คือ Most Valuable Player หรือ ผู้เล่นที่มีคุณค่าที่สุด เควินเพิ่งได้รางวัลปีนี้เป็นครั้งแรก อายุเพิ่ง 25 ปีเท่านั้นเอง

ผมก็ไม่ถึงกับเป็นแฟนกีฬา ติดตามบ้างห่าง ๆ แต่ก็คอยเชียร์คุณเควินเสมอเมื่อมีโอกาสได้ดู สาเหตุไม่ใช่ว่าเขาเล่นเก่ง ไอ้เก่งนั่นแน่นอนอยู่แล้ว แต่ที่เชียร์เพราะเขาเป็นคนดี มีน้ำใจนักกีฬา ขยัน ถ่อมตัว ไม่เคยมีเรื่องกับใคร เพื่อนเล่นผิดพลาดก็ไม่เคยว่า กรรมการตัดสินผิดพลาดก็ไม่เคยว่าเขา ดูแล้วชื่นใจ เป็นตัวอย่างที่ดีของเยาวชน ทุกครั้งที่แข่งแม่จะมาดูข้างสนาม แข่งเสร็จเขาก็จะไปกอดแม่ทุกครั้ง ไม่ว่าจะแพ้ หรือชนะ

ถ้าคุณลองไปอ่านชีวิตในวัยเด็กก็จะชื่นชมเขาเข้าไปอีก มาจากเด็กยากจน ตัวสูงโย่งเพื่อน ๆ ล้อ ก็ได้แม่คอยทะนุถนอมมา ปลูกฝังให้มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เควินก็ถือโอกาสในตอนกล่าวสุทรพจน์รับรางวัล MVP เมื่อสองวันที่แล้ว เล่าถึงชีวิตวัยเด็ก และสดุดีความดีของแม่  ลองฟังดูนะครับ ใครฟังไม่ค่อยออก ก็ดูคำถอดความที่มีไว้ข้างล่างได้

“I don’t think you know what you did.

ความหลากหลายของคำ

เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมภาษาอังกฤษมีคำความหมายซ้ำ ๆ กันเยอะเหลือเกิน ภาษาไทยเราก็มี แต่ภาษาอังกฤษมีเยอะกว่า  วันนี้ผมฟังข่าวทางทีวี ได้ยินคนประกาศข่าวพูดถึงดรรชนิหุ้นของสหรัฐขึ้นว่า

  • Today the Dow Jones Industrial Average gained 60 points, the Nasdaq rose 20 points, and the S&P 500 added 10 points.  

The Birth of a Word

อาจารย์ที่ MIT ชื่อ เดบ รอย เขาทำวิจัยน่าสนใจ และก็เป็นเรื่องใกล้ ๆ ตัว  เขาตั้งกล้องอัดวีดีโอในบ้านไว้ตั้งแต่ลูกเกิดเป็นเวลาสามปี ทั้งเสียงทั้งภาพ รวมเป็นวีดีโอ กับ เสียงทั้งหมดกว่าสองแสนชั่วโมง แล้วก็ใช้คอมพิวเตอร์มาวิเคราะห์ สร้างเป็นภาพสามมิติของทั้งบ้าน จะค้นหาว่าลูกเริ่มเดินก้าวแรกตอนไหน พูดคำแรกอะไรตอนไหนก็ได้ เขาก็เอามาวิเคราะห์ ว่าลูกพูดคำว่า water มีพัฒนาการเป็นอย่างไร เริ่มจากพูดว่า gaga จนพอฟังออกว่าเป็น water ได้รับอิทธิพลจากการเห็นหรือการได้ยินผู้ใหญ่รอบตัวอย่างไร บ่อยแค่ไหน ตอนไหน  เรื่องการวิเคระห์ หรือ การแสดงผลนี้ก็ต้องใช้จิตนาการหน่อยนะครับว่า จะวิเคระห์อะไร พล็อตกราฟอะไร อย่างไร ให้มันดูได้เรื่อง เพราะข้อมูลมันมหาศาล

เขาก็ยังแสดงให้ดูว่า สามารถเอาเทคโนโลยีเดียวกันนี้ ไปวิเคระห์รายการทีวี และการพูดโต้ตอบกันของคนใน Social media (ก็พวกเฟสบุค ทวิตเตอร์ และอื่น ๆ) ถ้าถามว่า เอาข้อมูลมาวิเคระห์แล้วได้ประโยชน์อะไร ดูสนุก ๆ เท่านั้นหรือ ถ้าให้ผมเปรียบเทียบ ก็เหมือนสมัยก่อนที่คนคิดค้นกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องส่องดูดาวได้ ทำให้คนเรามองเห็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น เรามองเห็นเนื้อหนัง แต่ไม่เห็นว่าในเซลล์เป็นอย่างไร  เรามองเห็นท้องฟ้า ดวงดาวแต่ไม่เห็นว่าข้างในดาวแวบ ๆ นั้นมีอะไร  สมัยก่อนผมก็คิดว่า คงมีคนถามเหมือนกันว่า เห็นเซลล์ชัด ๆ  เห็นดาวชัด ๆ แล้วก็ดูสวยดี น่าสนใจ แต่จะดูไปทำไม กินก็ไม่ได้  ฮ่า ผมว่า ถ้ามนุษย์ยังไม่มีกล้องจุลทรรศน์ใช้ เทคโนโลยีต่าง ๆที่มีอยู่ในปัจจุบันในโลก อย่างน้อยน่าจะต้องล้าหลังไปไม่ต่ำกว่า 50 ปี

นี่ก็เหมือนกันครับ เราเห็นเด็กโตทุกวัน เห็นทีวีทุกวัน เห็นคนคุยกันทุกวัน แต่เรายังไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ นา ๆ และรายละเอียดอื่น ๆ ซึ่งบางอย่างเราก็ไม่รู้แม้แต่ว่าจะถามว่ามีอะไรบ้างที่จะดูได้  สิ่งที่เขาทำ และนักวิจัยหลาย ๆ คนทำอยู่ก็เหมือนเป็นกล้องจุลทรรศน์ และกล้องโทรทรรศน์เพื่อส่องดูพฤติกรรมมนุษย์นั่นเอง

เรียนไวยกรณ์อย่างไรดี

แฟนเพจคนหนึ่งถามมาว่า

เราควรทำความเข้าใจ เรื่องหลักไวยกรณ์ ไปพร้อมกับทักษะ การพูด อ่าน เขียน
หรือ ควร นั่งทำข้อสอบเพื่อทำให้ การเรียนและการใช้ภาษาอังกฤษ ดีขึ้น

จากการทำเพจนี้มา ผมเริ่มเข้าใจมากขึ้นถึงปัญหาการเรียนภาษาของเรา ผมเริ่มเห็นชัดว่า เรื่องไวยกรณ์ก็ดี เรื่องคำศัพท์ สำนวนก็ดี เป็นปัญหาที่คล้าย ๆ กับทักษะการออกเสียง ยกตัวอย่างเรื่องไวยกรณ์

  1. มีไวยกรณ์ในภาษาอังกฤษจำนวนมากที่ภาษาไทยเราไม่มี  ก็เหมือนเสียงบางเสียงในภาษาอังกฤษที่ภาษาไทยไม่มี
  2. ถ้าได้รับการปลูกฝังมาแต่เด็ก เด็ก ๆ สามารถสร้างทักษะ หรือสัมผัสกับไวยกรณ์ได้ เขาเข้าใจได้ ใช้ได้ โดยอัตโนมัติเลย แต่ผู้ใหญ่อย่างเรานั้น ส่วนใหญ่ทำไม่ได้เองโดยอัตโนมัติ

ดังนั้น ผมคิดว่าวิธีแก้ไขก็ คือ  การศึกษาให้เข้าใจไวยกรณ์อังกฤษ จากนั้นก็ไปสังเกตจากการฟัง การอ่าน ให้เกิดทักษะที่มั่นคงขึ้น คนที่ไม่เข้าใจ หรือสับสนในเรื่องไวยกรณ์พื้นฐาน ก็จะเอาไปใช้จับต้นชนปลายไม่ถูก พอเริ่มใช้ภาษาอังกฤษมาก ๆ เข้า ก็มักจะอ่านออก เข้าใจในความหมาย แต่พอมาให้เขียนเอง ก็เขียนไม่ค่อยได้ หรือใช้ไวยกรณ์แบบสับสน ผิด ๆ ถูก ๆ  นี่ก็คล้ายกับเรื่องของการฟังการออกเสียงเลย

ทีแรกผมก็คิดว่า เรื่องไวยกรณ์มีแหล่งข้อมูลอยู่ทั่วไป หนังสือก็มีมาก และโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เน้นสอน เน้นสอบเรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก ๆ ไม่คิดว่าเป็นปัญหาสำหรับคนไทย  แต่หลังจากได้สังเกตมากขึ้น ก็รู้สึกว่า คงคิดผิด รู้สึกว่าความเข้าใจไวยกรณ์ของเด็กที่จบมัธยมเรานั้น เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะอะไร ใครอยากแสดงความคิดเห็นก็เชิญนะครับ ผมก็อยากฟังว่า คุณว่าจริงไหม และทำไม

ย้อนกลับไปตอบคำถามข้างต้น ผมว่าการทำข้อสอบ เรียกว่าแบบฝึกหัดละกัน ถ้าทำให้เกิดทักษะในการใช้ก็ดี ถ้าแค่ติวไปสอบ ก็ยังดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย  แต่วิธีที่ถูก คิดว่า การฝึกให้เข้าใจกฎไวยกรณ์ก่อน เสร็จแล้วก็ไปใช้ฟัง ใช้อ่าน เราอยากฝึกไวยกรณ์ ก็หัดสังเกตไวยกรณ์ดู ก็จะเห็นว่าเวลาเขาใช้จริง ๆ ใช้อย่างไร

การลงชื่อในจดหมายภาษาอังกฤษ

วันก่อนผมไปช่วยตรวจอีเมลของรุ่นน้องคนหนึ่ง เขาเขียนติดต่อเรื่องสมัครเรียน สมมติชื่อว่า Suda Namdee ก็แล้วกันนะครับ  เขาเขียนชื่อตัวเองลงท้ายจดหมายอย่างนี้ ผมเห็นแล้วก็อุทานว่า เฮ้อ เขียนอย่างนี้ไม่เหมะสม  ผิดยังไงครับ

Sincerely,
Ms. Namdee

ก็ไม่ได้ผิดไวยกรณ์อะไร ผมเคยเขียนอธิบายไปทีหนึ่งแล้วว่า Mr, Ms, Mrs แล้วตามด้วยนามสกุลนี่ เป็นการให้เกียรติคนที่เราติดต่อด้วย ใช้สำหรับเวลายังไม่สนิทกันนัก หรือเวลาจะให้เด็กเรียกผู้ใหญ่ก็ได้ ถ้าเป็นภาษาไทยก็เทียบเท่ากับคำว่า คุณ นะครับ

ดังนั้น Mr,

Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net