การอ่านตัวเลขเศษส่วน

มาดูต่อเรื่องการออกเสียงตัวเลขนะครับ  เคยตั้งใจจะเขียนเรื่องเลขเศษส่วนและทศนิยมแล้วก็ลืมไป วันนี้มีคนถามถึงเลยนึกขึ้นได้ ภาษาอังกฤษก็มีวิธีออกเสียงเลขเศษส่วนที่พิสดารหน่อย ถ้าเราไม่เคยเรียนมา ไม่เคยได้ยินมา ก็รับรองว่ามั่วไม่ค่อยออก วันนี้มาลองดูกัน

  • 1/3  อ่านว่า one-third ครับ  third ที่มาจาก the third แปลว่า ที่สาม อันดับสาม นั่นแหละครับ ตัวส่วนเขาก็จะใช้ไอ้ตัวเลขอันดับนี้แหละ ถ้าสองส่วนสาม 2/3 ก็เป็น two-thirds สังเกตว่ามากกว่าหนึ่งจะกลายเป็นพหูพจน์
  • 1/4 ก็เป็น one-forth  1/5 ก็เป็น one-fifth เป็นต้น

ดังนั้น ถ้าเรานับเลขอันดับเป็น คือ first,

Look forward to

มีน้องถามถึงการใช้ look forward to ครับ ซึ่งผมมานึก ๆ ดูแล้ว เป็นสำนวนที่ใช้เป็นประจำทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน แต่ถ้าให้แปลเป็นไทยแล้ว แปลไม่ออกครับ เพราะคนไทยเราไม่ค่อยพูดกันอย่างนี้

สำนวนไทยที่พอจะใกล้เคียงในบางสถานการณ์ ก็คือ ตั้งตารอ  เช่น เราบอกว่า ฉันตั้ังตารอจะไปเที่ยวพักร้อนอาทิตย์หน้า ก็ใช้ภาษาอังกฤษได้ว่า

  • I look forward to my vacation next week. 

มิน่าล่ะ

สำนวนที่เราพูดว่า มิน่าละ ในภาษาอังกฤษก็ตรงกับสำนวนว่า no wonder ซึ่งก็ใช้ตามด้วยประโยคเหมือนไทยเลย เช่น

  • He was sick today.  No wonder he did not play well.  เขาไม่สบายวันนี้ มิน่าล่ะ ถึงเล่นไม่ค่อยดี
  • No wonder no one shows up. 

Fewer vs Less

ถามตอบกับน้องนักเรียนแฟนเพจ น้องก็มีคำถามดี ๆ มาบ่อย ขอเอามาตีพิมพ์เผยแพร่

“ครูครับประโยคว่า
There are less people than I expected.
It weighed less than one Kilogram.
ทำไมไม่ใช้ fewer than เพราะเป็นนามนับได้ครับ”

fewer กับ less แปลว่า น้อยกว่า น้อยลง ทั้งคู่ fewer มาจากคำว่า few  ใช้กับนามนับได้  และ less ก็มาจากคำว่า little ใช้กับนามนับไม่ได้เท่านั้น เช่น

  • There are few cars in the parking lot.

Having said that

สำนวนนี้ ตอนผมได้ยินใหม่ ๆ ก็รู้สึกตลกครับ  Having said that แปลตามตัวเป็น เมื่อพูดอย่างนั้นไปแล้ว ผมก็นึกว่า เอะ พูดแล้ว ก็พูดไปสิ ทำไมต้องมาย้ำด้วยว่าเมื่อพูดไปแล้ว มันหมายความว่าอย่างไรกัน

สำนวน Having said that ก็ใช้เป็นวลีเชื่อมความครับ วิธีใช้และความหมายก็คล้าย ๆ กับ However หรือ On the other hand ที่ได้เล่าไปแล้วครับ  ถ้าจะแปล ก็คล้าย ๆ คนไทยเราพูดว่า “แต่ว่าไปแล้ว”

Out of the woods

out of the woods เป็นสำนวน แปลตามตัว คือ ออกจากป่า เพราะ woods ที่เติม s ก็แปลว่า ป่า นะครับ  ในที่นี้แต่เขามาใช้ในความหมายว่า พ้นอันตราย หรือ พ้นความยากลำบาก  เช่น

  • The hard part is done but we are not out of the woods yet.  

All along

all along แปลว่า มาโดยตลอด หรือ ตั้งแต่ต้น ครับ เช่น

  • I knew about this all along.   ฉันรู้เรื่องนี้มาโดยตลอด   จะใช้ know หรือ have known เป็นปัจจุบันกาลก็ได้นะครับ
  • I was right all along that he was a bad person.  
Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net