ความตั้งใจในภาษาไทยนี่มีหลายความหมายในภาษาอังกฤษครับ เช่น เราจะบอกว่า เขามีความตั้งใจดี หรือตั้งใจไม่ดี ในทำนองว่า มีเจตนา หรือวัตถุประสงค์ที่ดี หรือ ไม่ไดี อย่างนี้ เรียกว่า intention เช่น
- He did good but had a bad intention.
ความตั้งใจในภาษาไทยนี่มีหลายความหมายในภาษาอังกฤษครับ เช่น เราจะบอกว่า เขามีความตั้งใจดี หรือตั้งใจไม่ดี ในทำนองว่า มีเจตนา หรือวัตถุประสงค์ที่ดี หรือ ไม่ไดี อย่างนี้ เรียกว่า intention เช่น
ผมมาเมืองไทยได้สักพัก ได้ยินคำนี้ทางทีวีก็งง เอะฟังเหมือนคำทับศัพท์แต่ไม่รู้มาจากภาษาอังกฤษว่าอะไร ต้องมาเห็นคำที่เขียนไว้ถึงรู้ เข้าใจว่าคนคิด คงต้องการเล่นคำให้มีความหมายไทยด้วย และก็สอดคล้องกับคำอังกฤษด้วย ก็ดีครับมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ถ้าถามผม ผมว่าใช้คำไทยไปเลยดีกว่า เช่น ระบบพร้อมจ่าย หรือ จ่ายพลัน
คำว่า พร้อม กับ prompt เราอาจจะฟังว่าออกเสียงคล้ายกัน แต่ฝรั่งฟังแล้วออกเสียงคำละเรื่องครับ จุดแรก คือ ตัว R กับ ร ออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่จริง ๆ อันนี้เป็นจุดเล็ก ถ้าเราออกเสียง ร ฝรั่งก็ยังฟังพอรู้เรื่อง จุดที่สองที่สำคัญกว่า คือ คำว่า prompt เนื่องจากลงด้วยพยัญชนะ p กับ t ทำให้สระมีเสียงสั้น ต้องออกเสียงเป็น พร็อม แทนที่จะเป็น พร้อม ถ้าเราพูดให้ฝรั่งฟังก็ออกเสียงสั้นหน่อยว่า พร็อมเพย์ เขาก็จะรู้ว่ามาจากคำอะไร ไม่เชื่อลองดูครับ ส่วนเสียง t ละท้าย ละได้เนื่องจากตามด้วยพยางค์ เพย์ ทำให้ฟังไม่ค่อยออก ถ้าเราออกเสียง prompt โดด ๆ ก็จะได้ยินเสียง t ลงท้าย เป็น เทอะ เล็ก ๆ
เรื่องนี้เคยสอนไปหมดแล้วครับ อ่านทบทวนได้ที่ เสียง R และ L กับ เสียง T และ D
เราเรียนกันแต่เด็ก ๆ ว่า tree แปลว่า ต้นไม้ อันนี้ถูกครับ แต่ทราบไหมครับว่า เวลาแปลกลับจากไทยเป็นอังกฤษ ต้นไม้ ไม่ได้แปลว่า tree เสมอไป เช่น เวลาคนพูดว่า ฉันจะไปซื้อต้นไม้ที่สวนจตุจักร อันนี้ถ้าแปลว่า I am going to buy trees at Jatujak park. ก็ผิดเลย ควรแปลว่า I am going to buy plants at Jatujak park.
เขียนถึง self inflicted ก็ทำให้นีกถึงสำนวนนี้ ถ้าเราไปพูดกับใครว่า You are shooting yourself in the foot. แปลตามตัวก็คือ คุณยิงปืนไปโดนเท้าตัวเอง แต่ในที่นี้ก็หมายถึงว่า สิ่งที่เขาทำอยู่นี่มันทำร้ายตัวเองโดยไม่ตั้งใจนะ หรือทำให้เกิดผลเสียโดยไม่จำเป็น โดยทั่วไปก็มีนัยว่า เขาไม่รู้ตัวว่าเป็นการทำร้ายตัวเองอยู่ หรือ เป็นความเห็นส่วนตัวของเรา ไม่สนิทก็อย่าไปว่าใครครับ เช่น ผมเคยเห็นเพื่อนซื้อซอฟท์แวร์ไม่ได้เรื่องมาใช้ ทำให้งานมั้นยากขึ้น แทนที่จะใช้ spreadsheet หรือ ทำเองง่าย ๆ ผมก็พูดอย่างนี้กับเขา
ดูตัวอย่างเพิ่มเติมเช่น
เอาข่าวเก่ามาเล่านะครับ บางคนก็วิจารณ์ว่า การที่คนอังกฤษโหวตออกจาก EU แล้วทำค่าเงินตัวเองตกกระหน่ำ และมีแนวโน้มที่จะทำเศรษฐกิจตัวเองตกต่ำในอนาคต เป็น self inflicted wound หรือ self inflicted damage แปลว่า แผล หรือ ความเสียหายที่เกิดจากตัวเอง ไม่ได้เกิดจากคนอื่น หรือปัจจัยภายนอก
คำว่า inflicted (-อิน-[ฟลิก]-ติด-) ก็มาจากคำกริยา inflict ความหมายคล้ายกับคำว่า impose หรือ cause ที่แปลว่า ทำให้เกิดขึ้น แต่ inflict ใช้กับความเสียหาย หรือ ความเจ็บปวด เช่น
ขอโทษหายไปนานครับ เผอิญมีงานหนักเข้ามา จนไม่มีแรงเหลือ ผมดูวันที่ที่เขียนครั้งสุดท้ายก็หนึ่งเดือนพอดี เลยตกใจ วันนี้ขอเขียนเรื่องความอดทนต่อ เอาเป็นแบบทนทาน แบบล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ บาดเจ็บแล้วก็หายได้ หรือ ฆ่าเท่าไรก็ไม่ตาย ประมาณนั้น ฝรั่งเรียก ลักษณะแบบนี้ว่า resilient เน้นพยางค์ที่สองนะครับ อ่านว่า -รี-[ซิล]-เลียน- ถ้าใช้เป็นคำนามก็ resiliency เติม ซี่ ไปอีกพยางค์นึง
endurance ที่เคยเล่าให้ฟังไป เป็นความทนทานแบบอึด อยู่ได้นาน หรือใช้เท่าไรก็ไม่พัง แต่ resiliency เป็นความทนทานแบบสบบุกสมบัน พังแล้วก็กอบกู้ตัวเองขึ้นมาใหม่ได้ คล้าย ๆ แต่ไม่เหมือนกันทีเดียวนะครับ คำว่า tough (ทัฟ) ก็จะเป็นความหมายกลาง ๆ ใช้แทนได้กับทั้งสองคำ
มาดูตัวอย่างเช่น
อดทนหน่อย แบบฝรั่งก็มีประมาณสองแบบ แบบแรกก็เหมือนกับว่า อดทนหน่อย แบบใจเย็น ๆ ก็พูดได้ว่า
แต่ถ้าคนอยู่ในภาวะเป็นทนทุกข์อยู่ เราต้องใช้สำนวนให้กำลังใจ เช่น
เราจะพูดให้กำลังแบบอื่นก็ได้ เช่น