เดินผ่านไป

ดูกริยาที่ใช้กับ by ต่อนะครับ ถ้าจะพูดว่า เดินผ่านไปที่ไหน หรือขับรถผ่านไปที่ไหน จะพูดว่าอย่างไร ถ้าเราไปแปลจากภาษาไทย ก็เป็น walk pass something เพราะ pass แปลว่า ผ่าน ถูกไหมครับ

เกือบถูกครับ ทั้ง walk และ pass เป็นกริยาทั้งคู่ เราไม่ใช้คู่กัน ที่ถูกควรใช้ walk past something  อีกสำนวนหนึ่งที่นิยมใช้ก็ walk by ซึ่งจะตามด้วยคน สิ่งของ หรือ สถานที่ก็ได้  walk past อาจจะสื่อเพิ่มนิดหน่อยว่า เดินผ่านพ้นไป (เช่นเวลาบอกทาง) แต่ walk by นั้นเหมือนในภาษาไทยว่า เดินผ่านไป แต่ก็น่าจะใช้แทนกันได้เป็นส่วนใหญ่ครับ ตัวอย่างเช่น

  • He walked right by me without saying a word.  

Hard to come by

เมื่อวานเขียนถึง come by ก่อนนอน วันนี้ตื่นขึ้นมาก็นึกถึงสำนวน hard to come by ทำให้นึกขึ้นได้ว่า อ้อ come by ยังมีอีกความหมายหนึ่งซึ่งแปลว่า ได้มา หรือ หาเจอ  เหมือน find หรือ obtain นิยมใช้กันมากในสำนวนว่า hard to come by ซึ่งแปลว่า หาได้ยาก  จะใช้คำอื่นที่แปลว่า ยากแทน hard ก็ได้ เช่น not easy หรือ difficult หรือ tough เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

  • Honest politicians are hard to come by.  

แวะมาหา

เวลาคุยโทรศัพท์กับเพื่อน แล้วบอกว่า เดี๋ยวแวะมาหาที่บ้านนะ พูดว่าไงครับ ที่เราเรียนมาก็อาจจะพูดว่า I’ll visit you.  หรือ I’ll go to your place.  ก็ใช้ได้นะครับ  แต่มีสำนวนพูดอีกแบบที่ฟังดูเป็นทางการน้อยหน่อย เหมาะสำหรับคนที่ไปมาหาสู่กันอยู่แล้ว เช่นบ้านอยู่ละแวกเดียวกัน เจอกันบ่อย ๆ  หรือ เป็นนักเรียนอยู่หอพักละแวกเดียวกัน แต่คนละห้อง หรือ ใช้ในที่ทำงานก็ได้ ที่มีโต๊ะทำงานแยะกันอยู่คนละส่วน หรือคนละชั้น สถานการณ์พวกนี้ใช้คำว่า visit ดูมันหนัก ๆ ไปหน่อย

สำนวนที่ว่าแวะมาหาก็ คือ come by ตามด้วยสถานที่นะครับ ไม่ใช่ตามด้วยคน หรือ จะไม่ตามด้วยกรรมก็ได้ เป็นที่รู้กันมาหาคนที่กำลังพูดด้วย  (ถ้า visit ใช้กับคน หรือสถานที่ก็ได้) เช่น

  • I’ll come by your place tomorrow.  

Enemy vs Adversary vs Rival

ช่วงนี้คนทะเลาะกันเยอะนะครับ ไม่ใช่แค่เมืองไทย ที่เมืองนอกก็เยอะ ภาษาอังกฤษก็มีศัพท์หลายคำเกี่ยวกับการเป็นศัตรู และคู่แข่งกัน  ผมก็ลองนึกเล่น ๆ ว่าคำพวกนี้ต่างกันอย่างไร ก็คิดวิธีอธิบายได้อย่างหนึ่ง คือ ถ้าเอาตัววัดเป็น ความเกลียด ความอยากทำลายฝ่ายตรงข้าม ก็น่าจะเรียงจากตัวที่แรงที่สุดไปถึงอ่อนที่สุดได้ดังนี้

  • อันดับหนึ่งไม่ต้องสงสัย คือ enemy (-[เอน]-เนอะ-มี-) แปลว่า ศัตรู คู่อาฆาต  ในสงครามเขาก็เรียกฝ่ายตรงข้ามว่า enemy  ถ้าใครเรียกใครว่า enemy ก็คือ เกลียดมาก ขนาดอยู่ร่วมกันไม่ได้เลยทีเดียว
  • เบาลงมาหน่อยก็ foe (-โฟ-) หรือ adversary (-[แอด]-เฯอะ-เสะ-รี-) อันนี้ คือ คู่ปรับ คู่ทะเลาะ คู่อริอะไรประมาณนั้น ไม่ถึงกับต้องฆ่าให้หมดไป แต่ต้องเอาให้อยู่หมัด ถ้าเราไม่อัดมัน มันจะอัดเรา ตอนนี้นักการเมืองสหรัฐบางคน ก็มาเริ่มเรียกรัสเซียว่าเป็น adversary
  • เบาลงไปอีก อันนี้ คือ rival (-[ไร]-เฯล-) หมายถึง คู่ปรับ คู่แข่งขัน อันนี้เริ่มเป็นกลาง ๆ หน่อย ไม่จำเป็นต้องเกลียดกัน อาจจะไม่ชอบหน้ากันได้  แต่ rival มักหมายถึง คู่แข่งขันที่แข่งกันมาเป็นเวลานาน ผลัดกันแพ้ชนะ หรือผลัดกันเก่ง ผลัดกันได้เปรียบเสียเปรียบ ไม่ใช่เป็นการแข่งนัดเดียวจบ เช่น ทีมชาติไทยกับทีมมาเลเซีย ถ้าแข่งที่ไหนก็มักเจอกัน ผลัดกันแพ้ชนะ อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นคู่ rival ได้

การแข่งขันแบบ rival นี้ก็มีศัพท์นิยมใช้เรียกว่า rivalry (-[ไร]-เฯล-รี-) นอกจากเกมส์กีฬา แล้วก็ใช้กับเรื่องอื่นๆ ได้ เช่น ธุรกิจ  (business rivalry เช่น ไมโครซอฟท์กับแอปเปิล หรือ ซัมซุงกับแอลจี)  การเมือง (political rivalry แข่งกันแพ้ชนะเลือกตั้ง)  เป็นต้น

  • เบาไปอีก ก็น่าจะเป็น competitor (-คอม-[เพท]-ติ-เตอระ-) คู่แข่งขัน มาจากคำกริยาว่า compete (-คอม-[พีท]-) ก็นิยมใช้กับเกมส์กีฬา การประกวด และ ธุรกิจ คำนี้ไม่มีความเกลียดเหลืออยู่นะครับ มีแต่ความอยากเอาชนะ คำว่า competitor ใช้อธิบายลักษณะคนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเจาะจะว่าแข่งกับใครเหมือนคำอื่น ๆ ข้างต้น  เช่น บอกว่า He’s a competitor.  

Go do something : ผิดไวยกรณ์หรือเปล่า?

ผมท่องจำไวยกรณ์สมัยเรียนมัธยมมาเยอะ ก็โชคดีที่ลืมบ้างแต่ส่วนใหญ่ก็พอจำได้ บางครั้งพอได้ยินคนพูดอะไรแปลก ๆ ผมก็อดนึกไม่ได้ว่ามันเป็นไวยกรณ์แบบไหน มีรูปประโยคหนึ่งที่เห็นคนเจ้าของภาษาเขาใช้บ่อยในภาษาพูด ซึ่งนึกไปแล้วมันก็ผิดไวยกรณ์ เช่น Let’s go do something fun today.  ก็แปลตรง ๆ ไม่มีพลิกแผลงอะไร ว่า วันนี้เราไปหาอะไรทำสนุก ๆ กันดีกว่า   มีคำกริยาเหมือนเป็นกริยาแท้ ใช้ติดกันดื้อ ๆ สองตัว ผมนึกแล้วก็ไม่เคยเรียนมาก่อนครับ

ถ้าคุณจำหลักไวยกรณ์ได้ ประโยคธรรมดา (ที่ไม่มีการเชื่อมประโยคย่อย ๆ) ต้องมีกริยาแท้ตัวเดียว ตัวอื่น ๆ เป็นตัวประกอบทั้งนั้น เช่น go shopping หรือ get to do something หรือ let him go.

ปฏิเสธซ้อนสอง

เวลาเราพูดแบบปฎิเสธสองอันในประโยคเดียวกัน (Double Negative) เช่น บอกว่า ฉันไม่ปฏิเสธ ก็หมายถึงฉันยอมรับ กลายเป็นความหมายบวกไป ในภาษาอังกฤษนี่ก็มีเยอะครับ เพราะคำที่มีความหมายปฎิเสธมันเยอะ เวลาเติม un-, in-, dis-, … ลงไปข้างหน้าคำคุณศัพท์บางคำก็กลายเป็นความหมายตรงกันข้าม เช่น ถ้าพูดว่า

  • I do not disagree. ก็หมายความว่า I agree.

ยินดีต้อนรับ!

ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ผมเริ่มเขียนบทความแนะนำการพูดภาษาอังกฤษในเฟสบุคตั้งแต่ปี 2555 อยากจะเปลี่ยนมาทำเว็บไซต์นานแล้ว ในที่สุด ก็มีแรงบันดาลใจพอ เริ่มทำแล้วก็รู้สึกเรื่องเทคนิคมันเยอะ แต่ก็สนุกดี

ข้อปรับปรุงจากเฟสบุคเพจก็มีคร่าว ๆ ดังนี้ ครับ

  • เริ่มมีเสียง Laughing ผมก็หลีกเลี่ยงมานาน ด้วยความจงใจ สอนคนออกเสียง แต่ดันไม่ส่งเสียง ข้อดีก็คือทำให้พยายามเขียนให้มันละเอียด แต่ข้อเสียก็แน่นอนว่า คนอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง ได้ผลไม่คุ้มค่ากับเวลา  เวบไซต์นี้ก็เริ่มใส่เสียงเสียที ฟังเสียงผมได้ข้างล่างนี้

  • ผมอยากทำให้เป็นเวบของชุมชนนะครับ ไม่ใช่ของผม  ก็อยากจะเลิกเขียนคนเดียวซะที ผมรู้ว่าคนที่เก่งภาษาอังกฤษมีอยู่เยอะ อยากจะเชิญชวนอาสาสมัครนักเขียนมาช่วยกัน ใครที่สนใจก็ติดต่อมาได้
  • เนื้อหาเบื้องต้นก็จะแบ่งเป็นสามกลุ่มนะครับ
    • Blogs: ก็เป็นบทความอิสระ แต่จัดเป็นหมวดหมู่ (category)   หมวดหมู่อาจมีการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมในอนาคต ตามที่นักเขียนเห็นว่าเหมาะสม
    • หนังสือ: ก็เป็นเนื้อหาที่เรียบเรียงเป็นลำดับบท ๆ เหมือนหนังสือ เรื่องการออกเสียงที่ผมเริ่มในเฟสบุคก็จะได้รวมรวมมาไว้ที่นี้ และกำลังเขียนเพิ่มเติมให้สมบูรณ์
    • ห้องสนทนา: กระดานสนทนาอิสระ ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน

การทำเว็บไซต์อย่างนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีข้อผิดพลาดทางเทคนิค หรือทางเนื้อหาบ้าง โดยเฉพาะ เราไม่มีเวลาที่จะมาตรวจสอบทุกอย่างให้รัดกุมก่อนเปิดใช้ ก็ถึอว่าผู้ที่เข้ามาใช้แรก ๆ คือคนช่วยตรวจสอบ ใครเห็นอะไรไม่ถูกต้อง หรือมีข้อแนะนำ ก็ขอเชิญส่งข้อคิดเห็นมาได้ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

กรุณาอ่านเงื่อนไขการใช้งานเพิ่มเติมที่ About นะครับ

เฟสบุคเพจของเรา ก็จะแปรสภาพกลายเป็นแฟนเพจของไซต์นี้นะครับ ใครใช้เฟสบุคก็สามารถติดตามข่าวคราวได้ที่นั่น ใครไม่ใช้ก็ลองเสนอช่องทางอื่นครับ เดี๋ยวนี้มันมีเยอะเหลือเกิน ผมก็ไม่ทราบว่าคนไทยชอบใช้อะไร

Copyright © 2013-2025 betterenglishforthai.net