Metaphorically or Literally

ผมอ่านข่าวเกี่ยวกับสงครามในซีเรียอันนี้  “The future looks dark for Syrians — both metaphorically and literally”  ก็เห็นศัพท์ที่น่าเอามาเล่าสู่กันฟัง สองคำเทียบกันอยู่พอเหมาะ เป็นศัพท์ที่ผมเห็นบ่อยครับ แต่คนไทยอาจจะไม่ค่อยได้ใช้

คำแรกคือ metaphorically (-[เมต]-ตะ-[[ฟอ]]-ริก-ลี-) ซึ่งมาจากคำนามที่เห็นบ่อยกว่า คือคำว่า  metaphor (-[[เมต]]-ตะ-[ฟอร]-) แปลว่า สัญลักษณ์แบบเป็นตัวแทน หรือแบบอุปมา  ตัวอย่างเช่น เหมือนเราพูดว่า ยุ่งจะตายอยู่แล้ว หรือ กลุ้มใจหัวจะแตก ไอ้คำว่า จะตาย หรือ หัวแตก ก็เป็น metaphor หรือ เป็นการพูดแบบ metaphorically คือเป็นการพูดแบบเชิญเปรียบเทียบเฉย ๆ ไม่ได้มีความหมายตามตัวอักษร  อีกคำที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน คือ analogy อันนี้แปลเหมือนคำไทยว่า อุปมาอุปมัย ก็มักเป็นเรื่องเป็นราวมากกว่า metaphor หน่อย ดูตัวอย่างเช่น

  • When I said my head was going to explode (-เอ็กส-[โพลด]-) ,

Home vs House

ก็มีหลายคำนะครับที่ภาษาไทยมีคำเดียวแต่ภาษาอังกฤษมีหลายคำ ผมเคยพูดถึงไปบ้างแล้ว วันนี้ลองมาดูคำที่เราคงรู้จักกันดี คือ บ้าน  ภาษาอังกฤษมีสองคำ คือ house กับ home ซึ่งบางสถานการณ์ก็ใช้แทนกันได้ แต่บางทีก็ไม่ได้

หลักทั่ว ๆ ไปก็ คือ house หมายถึง ตัวบ้าน ตัวอาคารนั้นเลย เป็นทางวัตถุว่างั้นเถอะ แต่ home หมายถึง ที่ ๆ เราอาศัย ที่ ๆ เรารู้สึกอบอุ่น อาจหมายรวมถึงตัวบ้าน ทำเลที่ตั้ง สภาพแวดล้อม คนที่อยู่ด้วย และอื่น ๆ คือ เป็นกึ่งทางวัตถุ และกึ่งทางใจนะครับ  เพราะฉะน้้น ถ้าใครจะบอกว่า คิดถึงบ้านก็พูดว่า

  • I miss (my) home.  

State of the art

มีคนถามมาว่า state of the art หมายความว่าอะไร คนเรียนวิศวกรรมอาจจะรู้อยู่ ก็เอามาเล่ากันหน่อย  คำว่า art ไม่ได้แปลว่า ศิลป ได้อย่างเดียวนะครับ  ยังหมายถึง ฝีมือ หรือ เทคนิคขั้นสูง หรืออะไรทำนองนั้นด้วย คือ เก่งมาก ๆ จนกลายเป็นศิลป คนไทยบางทีก็ใช้คำนี้เหมือนกัน เช่น คุณจะเห็นเขาชอบใช้เป็นชื่อหนังสือ เช่น

  • The art of cooking   ศิลปการทำอาหาร
  • The art of conversation ศิลปการสนทนา
  • The art of computer programming
  • ฯลฯ

state of the art ก็มักใช้รวมกันดื้อ ๆ อย่างนี้เลย เป็นเหมือนคำคุณศัพท์ หมายถึง เป็นเทคนิคขั้นสูงล่าสุด แบบหาในตำราทั่วไปไม่มี ว่างั้นเถอะ จะเขียนแบบมีขีดเชื่อมระหว่างคำก็ได้เป็น state-of-the-art  หรือ บางคนไม่ใช้ขีดก็ได้ (ซึ่งคงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรางงกัน) เช่น

  • We are using state of the art technology.  

Regret vs Sad vs Sorry

คำว่าเสียใจในภาษาอังกฤษนั้นมีหลายคำนะครับ เริ่มจากคำที่เรารู้จักกันดี ก็คือ  sad หรือ คำนาม คือ sadness  อันนี้ คือ เศร้าโศกเสียใจ ใช้บอกอาการ บอกความรู้สึก เช่น

  • He is sad.  เขากำลังเสียใจอยู่   He looks sad.  เขาดูท่าทางเสียใจ   He feels sad.  เขารู้สึกเสียใจ

ถ้าเสียใจมาก มีอาการทุกข์ระทม หรือขมขื่น ก็มีคำนามว่า sorrow หรือ grief

คำถัดไป คือ sorry เป็นการเสียใจในสิ่งที่ทำไป หรือ ใช้ขอโทษ หรือ ใช้แสดงความเสียใจกับคนอื่นก็ได้ อันนี้ผมเคยเขียนอธิบายไปหลายครั้งแล้ว ขอให้ลองกดลิงค์ที่ให้ไปดู

คำถัดไปที่อยากจะพูดถึงยาวหน่อย เพราะเราอาจจะไม่คุ้นเคยกัน ก็คือ regret (-ริ-[เกร็ท]-) เป็นคำนาม หรือคำกริยาก็ได้ แปลว่า เสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว คล้าย ๆ กับ sorry แต่ไม่เหมือนทีเดียว  sorry ใช้กับความผิดที่อาจจะทำไปโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ได้  ส่วน regret ใช้กับการกระทำที่เราตั้งใจ ไม่จำเป็นต้องเป็นความผิด แต่เป็นเรื่องที่ตัดสินใจทำไปแล้วมาเสียใจทีหลัง เพราะมันส่งผลพวงไม่ดีให้กับตัวเอง หรือผู้อื่น โดยตอนที่ทำนั้นคาดไม่ถึง เพราะฉะนั้น เวลาขอโทษใครเขาไม่ใช้ regret นะครับ ต้องใช้ sorry  ดูตัวอย่างเช่น

  • I’m sorry for what I did yesterday.  

Pro vs Anti

เขียนเรื่อง For or Against แล้ว ก็ทำให้นึกถึงอีกคู่หนึ่งที่คล้าย ๆ กัน คือ pro กับ anti (อ่านว่า -แอน-ไท- หรือ -แอน-ที- ก็ได้) แต่สองคำนี้ใช้เป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนาม บางทีก็เขียนมีการขีดขั้นกลางก่อนคำนาม และค่อนข้างเป็นเรื่องการเมืองหน่อย

ที่ว่าการเมือง หรือ politics นี่ก็ ไม่จำเป็นต้อง หมายถึง เรื่องของนักการเมืองอย่างเดียวนะครับ แต่หมายถึงเรื่องที่แบ่งฝ่ายกันในสังคม มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ไม่จำเป็นถึงกับทะเลาะกัน แต่บางทีก็มีบ้าง ในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น ถ้ามีความเห็นแบ่งฝ่ายกันสองอย่างขัดแย้งกัน แล้วมีคนสนับสนุนพอ ๆ กัน เรื่องมันก็มันจะเข้าไปถึงพรรคการเมืองครับ เพราะ นักการเมืองก็มาจากประชาชน และก็ต้องเอาใจคน โดยมากนักการเมืองก็ต้องแสดงความคิดเห็นตัวเองว่า เห็นด้วยกับฝ่ายไหน เพราะ คนเขาอยากจะเลือกคนที่คิดเหมือนเขา

เมืองไทยเราก็มักจะขัดแย้งระดับตัวบุคคล หรือพรรคการเมืองนะครับ เช่นที่ชัดเจนก็คือ pro-taksin กับ anti-taksin (ผมแกล้งสะกดผิดนะครับ เพราะเวบนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง แค่แนะนำภาษา กับวัฒนธรรมเฉย ๆ) เทียบเท่ากับอเมริกาก็ pro-obama กับ anti-obama  แต่ในอเมริกานั้น เขามีเรื่องขัดแย้งกันในเรื่องความคิด หรือ หลักการเยอะครับ เพราะฉะนั้นคำแต่ละคำพวกนี้ บางทีมีความหมายลึกซึ้ง ย้อนถึงในประวัติศาสตร์ ในวัฒนธรรม ใครอ่านข่าวใหม่ ๆ ก็อาจจะไม่เข้าใจ  เช่น คำว่า pro gun ก็ไม่ได้แปลว่า พวกชอบปืน แต่หมายถึง ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการมีปืนในครอบครอง หรือใช้ปืนป้องกันต่อ (รัฐธรรมนูญของอเมริกันนั้นกำหนดไว้ว่า การมีปีนไว้ป้องกันตัวเป็นสิทธิ) และ พวก anti gun ก็คือ พวกที่เห็นตรงกันข้ามกับเรื่องนี้ หรืออยากให้มีกฏหมายควบคุมให้เข้มงวดกว่านี้  ลองดูตัวอย่างคำอื่น ๆ ในสังคมอเมริกันนะครับ บางคำก็ใช้ในสังคมโลกด้วย เช่น

  • pro gay vs anti gay  หรือ pro gay right vs anti gay right  พวกเห็นด้วยกับการให้สิทธิเกย์ในการแต่งงาน กับ พวกต่อต้าน
  • pro immigration vs anti immigration  พวกเห็นด้วยกับการมีกฏหมายเอื้ออำนวยกับคนเข้าประเทศขอสัญชาติ กับพวกต่อต้านไม่ชอบคนต่างชาติ หรืออยากให้มีกฏหมายเข้มงวดกว่านี้
  • pro free trade vs anti free trade  พวกเห็นด้วยกับการเปิดการค้าเสรี (กับต่างชาติ) กับพวกต่อต้าน
  • pro choice vs pro life   เรื่องนี้เกี่ยวกับกฏหมายการทำแท้งนะครับ  pro choice คือ พวกเห็นด้วยกับการให้เสรีในการทำแท้ง (ในกรณีท้องโดยไม่ต้งใจ หรือมีเหตุผลทางแพทย์) ส่วน pro life หรือ anti abortion คือ พวกต่อต้านการทำแท้ง
  • pro science vs anti science เรื่องนี้กว้างครับ บางทีหมายถึง เรื่องโลกร้อน (global warming) ก็มีพวกที่เชื่อกับไม่เชื่อ  บางทีก็หมายถึง เรื่องเชื่อว่า พระเจ้าที่สร้างโลกมีจริง หรือไม่จริง   คำว่า anti science นี้ก็ใช้เหมือนเป็นคำดูถูกกันนะครับ ว่าเป็นพวกต่อต้านวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น เราอย่าไปซี้ซั้วใช้

ก็ยังมีเยอะกว่านี้ครับ ผมแค่เล่าคร่าว ๆ อย่าไปถือว่าเป็นคำจำกัดความที่สรุปตรงเป๊ะนะครับ ใครสนใจก็ไปหาอ่านเพ่ิมเติมเอา  และก็ยังมีอีกหลายเรื่อง ที่เขาไม่ได้ใช้คำว่า pro หรือ anti เช่น พวกฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายขวา  พวก liberal หรือ conservative และอื่น ๆ   คำพวกนี้มีความหมายเฉพาะลึกซื้งในตัวมัน  ซึ่งในวัฒนธรรมการเมืองของไทยนั้น ไม่มีคำพวกนี้ ผมเรียกว่า ยังไปไม่ถึงก็แล้วกัน  ก็ไม่ได้ว่าดี หรือไม่ดีนะครับ ที่อเมริกานั้นเขาปกครองกันเองมากว่า 220 ปี  ส่วนของไทยเราสัก 80 ปี และขึ้น ๆ ลง ๆ  ของเขาก็ขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนกันในตอนแรก ๆ ประเด็นของผม หรือข้อสังเกตของผมในที่นี้ก็คือ ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น เนื่องจากคนมีความคิดไม่เหมือนกัน ความขัดแย้งก็มีเป็นธรรมดา คำพวกนี้ที่ใช้แบ่งแยกความคิดกัน แยกพวกกัน ก็เกิดขึ้นอย่างมากมายเป็นธรรมดา

ความขัดแย้งทางความคิดนี้ จริง ๆ แล้วคนตะวันตกส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องไม่ดีนะครับ แนวคิดคือว่า ประชาธิปไตยนั้นไม่ได้เอาไว้แก้ไขไม่ให้มีความขัดแย้ง  แต่เอาไว้บริหารความขัดแย้ง  ว่าขัดแย้งแล้วก็ยังอยู่ด้วยกันได้ ทำงานกันได้  จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องดีที่คนเห็นไม่ตรงกัน จะได้คัดคานกัน  ที่เขามองว่าไม่ดี คือ การขัดแย้งจนไม่สามารถทำงานอะไรกันไม่ได้ หรือขัดแย้งแล้วสร้างความรุนแรง หรือทำผิดกฏหมาย ซึ่งเขาก็มีปัญหาทั้งสองแบบนี้กันอยู่เนือง ๆ เหมือนกันดังที่ได้เห็นกันในข่าว ของใครดีไม่ดีก็คิดกันเอาเองนะครับ  ว่าจะพูดแต่เรื่องภาษา ก็ไปเข้าการเมืองหน่อยจนได้ ขออภัยครับ

To be for or against

เวลาจะบอกว่าเราสนับสนุน หรือ ต่อต้านอะไร ก็พูดง่าย ๆ ว่า I am for …   หรือ I am against … ใช้กันบ่อยครับในเรื่องการเมือง เวลาจะบอกว่าสนับสนุนหรือต่อต้านนโยบายเรื่องนั้นเรื่องนี้ หรือจะใช้เรื่องงาน หรือ เรื่องทั่ว ๆ ไปก็ได้ เช่น

  • I am for political reform.  

Better off

เคยได้ยิน Better off ไหมครับ  ต่างกับ better อย่างไรครับ   คิดว่าทุกคนคงคุ้นเคยกับ good, better, และ best ที่แปลว่า ดี ดีกว่า และดีที่สุด  หรือ แปลว่าเก่ง เก่งกว่า กับเก่งที่สุดก็ได้ ลองเทียบประโยคเหล่านี้ดู

  • He is better than I am.  
Copyright © 2013-2025 betterenglishforthai.net