สำนวนที่มาจากคำกริยา บวกกับคำบุพบท (preposition) นี่สำคัญมาก ๆ เลยนะครับ เพราะมีอยู่มากมาย ใช้กันโดยทั่วไป และโดยมากก็เป็นคำที่เราคุ้นเคยกัน พอมารวมกันก็เกิดความหมายใหม่ (แต่ไม่ใช่ถึงกับเป็นแสลง) เช่น put on, put off, put away, put up with, … ถ้าเรารู้ และใช้คล่องก็จะทำให้พูดภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นเยอะ ถ้ามีโอกาสลองไปหาอ่านดูนะครับ ผมยังไม่มีแผนที่จะเน้นเอามานำเสนออย่างเต็มที่ในที่นี้นะครับ แต่เนื่องในโอกาสสดุดีฟุดฟิดโฟไฟ วันนี้ขอเสนอคำว่า turn out
Turn out มีที่ใช้ทั้งเป็นคำกริยา และคำนาม แต่มีความหมายคนละเรื่องกัน เวลาเป็นคำกริยาก็แปลว่า ออกมาเป็น หรือ กลายมาเป็น หรือ ปรากฏว่า ลองดูตัวอย่างเช่น
- He did not do well in school but he turns out fine now. เขาเรียนไม่เก่งตอนอยู่โรงเรีย
น แต่ตอนนี้ก็สามารถไปได้ด้วยดี ก็คงหมายถึง โตขึ้นแล้วมีงานทำเป็นหลักเป็นแ หล่ง หรือประสบความสำเร็จ - We thought it was a bad movie but It turns out to be a good one. เราคิดว่าเป็นหนังไม่ดี แต่ (หลังจากดูแล้ว) กลับกลายเป็นหนังดี
- It turned out we did not need that much money. ก็ปรากฏว่า เราไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากขนาดนั้น
สังเกตว่า turn out สามารถตามด้วยคำคุณศัพท์ก็ได้ (turn out fine, turn out good, turn out bad, …) หรือ ตามด้วยประโยคย่อยก็ได้ หรือ ตามด้วย to be + นาม ก็ได้
ส่วน turnout ที่ใช้เป็นคำนาม (นับได้เสียด้วย) เขียนติดกัน แปลว่า ฝูงชนที่มาร่วมการชุมนุม เช่น ในงานสัมนา งานปาร์ตี้ งานคอนเสริท การปราศรัย ชุมนุมประท้วง ฯลฯ
- The protest yesterday attracted a big turnout. การชุมนุมประท้วงเมื่อวานนี้ คนมาเยอะมาก a big turnout หรือ a good turnout แปลว่า มีคนมาเยอะ
- We had a low voter turnout in the last election. การเลือกตั้งที่ผ่านมามีคนมาใช้สิทธิ์น้อย