Search Results for – "chapter3"

รูปประโยคปฏิเสธ กับ การใช้ Never

Never เป็นคำง่าย ๆ ที่คนใช้สับสนนะครับ โดยเฉพาะในเรื่องของไวยกรณ์ ผมเดาจากประสบการณ์ตัวเองว่า เป็นเพราะหนังสือไวยกรณ์ไทยไปสอนในทำนองคำว่า never, ever, และ already มักใช้กับรูปประโยค Present Perfect tense หรือรูปประโยคกาลเวลาแบบเสร็จสิ้นไปแล้ว บางคนก็เลยจำไปว่าใช้ได้กับ Present Perfect tense เท่านั้น ใช้กับอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่

Never นั้นใช้เหมือนคำวิเศษณ์ (adverb) ทั่วไป แต่มีลักษณะพิเศษคือ ทำให้ประโยคบอกเล่ากลายเป็นประโยคปฏิเสธ ความหมายกลายเป็นปฎิเสธที่เข้มข้นกว่าปฏิเสธปกติ คือ แทนที่จะเป็น “ไม่”

4. Would, could, should, etc

บทที่แล้วผมได้พูดถึงการประยุกต์ใช้รูปประโยคพื้นฐานสี่สหาย คือ ทำ, กำลังทำ, ทำแล้ว, ทำมาอยู่ เพื่ออธิบายอนาคต  ถ้าคุณสังเกตดูดี ๆ จะเห็นว่ารูปแบบประโยคแบบอนาคต เริ่มมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่า แบบปัจจุบัน และแบบอดีต กล่าว คือ แค่ใช้ will มานำหน้าเท่านั้นเอง  ขอยกมาให้ดูตรงนี้อีกทีเพื่อความสะดวก

  1. จะ + ทำ :          will do
  2. จะ + กำลังทำ:  will be + doing
  3. จะ + ทำแล้ว:    will have + done
  4. จะ + ทำมาอยู่:  will have been + doing

แค่ตัว will นำหน้าตัวเดียวก็ทำให้ประยุกต์เป็นมีความหมายแบบอนาคต ผมขอใช้ภาษาไทยแทนศัพท์อังกฤษ เพื่อใช้เรียกรูปประโยคเหล่านี้นะครับ อย่าเข้าใจผิดว่าผมชี้แนะว่าเป็นคำแปล  ไม่ใช่นะครับ ผมใข้เป็นสัญลักษณ์เพื่อเป็นตัวแทนที่ใกล้เคียงความหมายของมันเท่านั้นเอง อย่างที่อธิบายในบทที่แล้วว่า บางอย่างแปลแล้วฟังตลก  มันไม่ใช่ภาษาไทย ถ้าใครให้แปลเราก็แปลโดยใช้ความเข้าใจ แล้วก็แปลโดยใช้ภาษาไทยที่เหมาะสมประมาณเอา

ที่ยกมานี้ ก็เพื่อจะเข้าสู่เนื้อเรื่องของบทนี้ว่า นอกจาก will แล้ว ยังมีกริยาช่วยอีกหลายตัวที่สามารถใช้ในรูปแบบประโยคนี้ได้  ถ้าพร้อมแล้ว ทำใจให้เปิดกว้าง แล้วก็มาลุยกันเลย

 

1. รูปประโยคปัจจุบันกาล

ภาษาอังกฤษมีการใช้โครงสร้างของไวยกรณ์ เพื่อบอกกาลเวลา หรือที่เรียกว่า Tense มีมากถึง 12 แบบ ทำเอาคนงง บางคนบอกว่ารูปประโยคแบบนั้นแบบนี้ไม่มีที่ใช้ ที่ไม่มีก็เพราะเราไปพยายามแปลตรง ๆ น่ะสิครับ บางแบบแปลมาแล้วมันก็ฟังแปลก ๆ ในภาษาไทยใครเขาจะพูดกันแบบนั้น ผมก็จะลองเล่าอีกแนวหนึ่ง คือแนวที่มองจากสถานการณ์ที่จะเอาไปใช้ได้ ซึ่งก็หวังว่า คุณจะเกิด”สัมผัส” ในภาษา ไม่ใช่แค่รู้จักรูปประโยค หรือแปลความหมายออก

ภาษาไทยเรานั้น มีโครงสร้างไวยกรณ์ของกาลเวลาที่ไม่ค่อยเป็นกฏเกณฑ์ชัดเจน บ่อยครั้งเราใช้คำขยาย หรือสถานการณ์ประกอบในการทำให้เข้าใจว่าคนพูดหรือเขียน กำลังพูดถึงเวลาอะไร  เช่น เราจะพูดว่า คุณทำอะไรอยู่ หรือคุณกำลังทำอะไรอยู่ ก็มีความหมายเหมือนกัน  เราอาจพูดว่า ปีหน้าหนูอายุเท่าไร ก็รู้กันว่าเป็นการพูดถึงอนาคตไม่จำเป็นต้องพูดว่า ปีหน้าหนูจะมีอายุเท่าไร ภาษาอังกฤษนั้นมีส่วนที่หลวม ๆ อย่างนี้เหมือนกัน คือ บางทีใช้คำประกอบ หรือสถานการณ์ประกอบเพื่อให้เข้าใจ แต่เพิ่มเติมจากนั้น เขาก็มีรูปแบบไวยกรณ์ที่สามารถสื่อถึงเวลาได้โดยตรง อย่างละเอียดถึง 12 แบบ นี่คือสิ่งที่เราไม่มีครับ แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกว่าที่เราจะทำความเข้าใจได้  บทนี้มาดูอันที่ง่ายก่อน คือ การพูดถึงกาลเวลาปัจจุบัน

 

Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net