Take it with a grain of salt

สำนวนนี้คล้าย ๆ กับภาษาไทยเราว่า ฟังหูไว้หู เหมาะสมมากเลยสำหรับยุคอินเตอร์เนตที่เต็มไปด้วยข่าวสารข้อมูล บางอย่างก็จริง บางอย่างก็กึ่งจริง หรือไม่จริง เวลาเรารับฟังอะไรมาก็ต้องใช้วิจารณญาณ ตรวจสอบก่อนที่จะเชื่อ หรือ เชื่อครึ่งไม่เชื่อครี่งไว้ก่อน ตรง it ในสำนวนนี้ ก็คือ ตัวความคิดเห็น หรือ ข้อมูลที่เราได้รับมานะครับ ลองดูตัวอย่าง

  • He may have some bias, you should take his opinion with a grain of salt.

Morale, Moral, Morality

moral กับ morale เขียนคล้ายกัน แต่ออกเสียงไม่เหมือนกัน และแปลกันคนละเรื่อง morale เน้นพยางค์หลัง อ่านว่า -มอ-[แรล]- แปลว่า ขวัญกำลัง เช่น

  • The morale of the remaining employees went down after the layoff.

In hindsight, In retrospect, Looking back

สำนวนทั้งสามนี้ใช้บ่อยครับ ใช้แทนกันได้ เวลาขึ้นต้นประโยค แปลว่า “เมื่อมองย้อนหลังไปแล้ว …” หรือภาษาไทยเราก็พูดสั้น ๆ ได้ว่า “รู้งี้ …”

เอาเรื่องการออกเสียงก่อน hindsight ออกเสียงว่า -[ไฮด]-ไสท- ส่วน retrospect ออกเสียงว่า -[[เรท]]-โท-สะ-[เป็คท]- ลองดูตัวอย่าง

  • Looking back, I would never have bought this stock.

Commencement Speeches

Commencement speeches หมายถึง สุทรพจน์ที่กล่าวโดยแขกรับเชิญในงานรับปริญญา

ลองฟังสุนทรพจน์ของ Bill Gates Speech ที่กล่าวในงานรับปริญญาของมหาวิทยาลัย Harvard ปี 2007  ฟังสนุก มีสาระ มี English subtitle ด้วย

http://www.youtube.com/watch?v=Q9pmmUcrpjw
http://www.youtube.com/watch?v=eUB423fkias

เช่นเดียวกัน Steve Jobs ที่ Stanford 2005
http://www.youtube.com/watch?v=UF8uR6Z6KLc
http://www.youtube.com/watch?v=DLl59Q2GuC0

Kick the can down the road

สำนวนนี้แปลตามตรงก็ เตะกระป๋องไปตามถนน หมายถึง การมีปัญหาแต่ไม่แก้สักที ใช้วิธีเตะถ่วงไปก่อน หลีกเลี่ยงไปก่อน พูดย่อๆ ก็ได้ว่า kick the can ก็เป็นที่รู้กัน ว่าหมายถึงเตะถ่วงปัญหาไปก่อน ตัวอย่างเช่น

  • The US government keeps kicking the can down the road without fixing its debt problem.

Turn Out

สำนวนที่มาจากคำกริยา บวกกับคำบุพบท (preposition) นี่สำคัญมาก ๆ เลยนะครับ เพราะมีอยู่มากมาย ใช้กันโดยทั่วไป และโดยมากก็เป็นคำที่เราคุ้นเคยกัน พอมารวมกันก็เกิดความหมายใหม่ (แต่ไม่ใช่ถึงกับเป็นแสลง) เช่น put on, put off, put away, put up with, … ถ้าเรารู้ และใช้คล่องก็จะทำให้พูดภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นเยอะ ถ้ามีโอกาสลองไปหาอ่านดูนะครับ ผมยังไม่มีแผนที่จะเน้นเอามานำเสนออย่างเต็มที่ในที่นี้นะครับ แต่เนื่องในโอกาสสดุดีฟุดฟิดโฟไฟ วันนี้ขอเสนอคำว่า turn out

Turn out มีที่ใช้ทั้งเป็นคำกริยา และคำนาม แต่มีความหมายคนละเรื่องกัน เวลาเป็นคำกริยาก็แปลว่า ออกมาเป็น หรือ กลายมาเป็น หรือ ปรากฏว่า ลองดูตัวอย่างเช่น

  • He did not do well in school but he turns out fine now.  
Copyright © 2013-2025 betterenglishforthai.net