The Birth of a Word

อาจารย์ที่ MIT ชื่อ เดบ รอย เขาทำวิจัยน่าสนใจ และก็เป็นเรื่องใกล้ ๆ ตัว  เขาตั้งกล้องอัดวีดีโอในบ้านไว้ตั้งแต่ลูกเกิดเป็นเวลาสามปี ทั้งเสียงทั้งภาพ รวมเป็นวีดีโอ กับ เสียงทั้งหมดกว่าสองแสนชั่วโมง แล้วก็ใช้คอมพิวเตอร์มาวิเคราะห์ สร้างเป็นภาพสามมิติของทั้งบ้าน จะค้นหาว่าลูกเริ่มเดินก้าวแรกตอนไหน พูดคำแรกอะไรตอนไหนก็ได้ เขาก็เอามาวิเคราะห์ ว่าลูกพูดคำว่า water มีพัฒนาการเป็นอย่างไร เริ่มจากพูดว่า gaga จนพอฟังออกว่าเป็น water ได้รับอิทธิพลจากการเห็นหรือการได้ยินผู้ใหญ่รอบตัวอย่างไร บ่อยแค่ไหน ตอนไหน  เรื่องการวิเคระห์ หรือ การแสดงผลนี้ก็ต้องใช้จิตนาการหน่อยนะครับว่า จะวิเคระห์อะไร พล็อตกราฟอะไร อย่างไร ให้มันดูได้เรื่อง เพราะข้อมูลมันมหาศาล

เขาก็ยังแสดงให้ดูว่า สามารถเอาเทคโนโลยีเดียวกันนี้ ไปวิเคระห์รายการทีวี และการพูดโต้ตอบกันของคนใน Social media (ก็พวกเฟสบุค ทวิตเตอร์ และอื่น ๆ) ถ้าถามว่า เอาข้อมูลมาวิเคระห์แล้วได้ประโยชน์อะไร ดูสนุก ๆ เท่านั้นหรือ ถ้าให้ผมเปรียบเทียบ ก็เหมือนสมัยก่อนที่คนคิดค้นกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องส่องดูดาวได้ ทำให้คนเรามองเห็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น เรามองเห็นเนื้อหนัง แต่ไม่เห็นว่าในเซลล์เป็นอย่างไร  เรามองเห็นท้องฟ้า ดวงดาวแต่ไม่เห็นว่าข้างในดาวแวบ ๆ นั้นมีอะไร  สมัยก่อนผมก็คิดว่า คงมีคนถามเหมือนกันว่า เห็นเซลล์ชัด ๆ  เห็นดาวชัด ๆ แล้วก็ดูสวยดี น่าสนใจ แต่จะดูไปทำไม กินก็ไม่ได้  ฮ่า ผมว่า ถ้ามนุษย์ยังไม่มีกล้องจุลทรรศน์ใช้ เทคโนโลยีต่าง ๆที่มีอยู่ในปัจจุบันในโลก อย่างน้อยน่าจะต้องล้าหลังไปไม่ต่ำกว่า 50 ปี

นี่ก็เหมือนกันครับ เราเห็นเด็กโตทุกวัน เห็นทีวีทุกวัน เห็นคนคุยกันทุกวัน แต่เรายังไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ นา ๆ และรายละเอียดอื่น ๆ ซึ่งบางอย่างเราก็ไม่รู้แม้แต่ว่าจะถามว่ามีอะไรบ้างที่จะดูได้  สิ่งที่เขาทำ และนักวิจัยหลาย ๆ คนทำอยู่ก็เหมือนเป็นกล้องจุลทรรศน์ และกล้องโทรทรรศน์เพื่อส่องดูพฤติกรรมมนุษย์นั่นเอง

Look down vs Look up

ผมเพิ่มสอนลูกว่า อย่าไปดูถูกคนอื่น แปลให้เขาฟังว่า ดูถูก ภาษาอังกฤษ คือ look down on someone ซึ่งมันความหมายไม่เหมือนกับ insult someone ทีเดียวนะครับ  ภาษาไทยแปลว่าดูถูกเหมือนกัน แต่ insult คือ การพูดจา หรือ กระทำที่ดูถูก เหยียดหยามคนอื่น คือ ต้องมีการกระทำหรือการพูด ต่อหน้าต่อตาด้วย  แต่ look down on เป็นการอธิบายความความรู้สึก ความนึกคิด  ถ้าเรา look down on someone ก็หมายความว่า เรามองว่าคนนั้นต่ำต้อยกว่าเรา อาจจะทางปัญญา ความรู้ ฐานะ หรือ ความเจริญ อะไรก็ได้ เช่น

  • Never look down on someone just because he or she is uneducated.  

Let’s get this out of the way.

Get something out of the way  ก็ความหมายตามตัวนะครับ คือ มาเอาอะไรออกนอกทางกันเถอะ ก็เหมือนเวลาเราทำงานอะไร ต้องเดินไปเดินมา แล้วมันมีของวางขวางทาง เกะกะอยู่ ซึ่งการย้ายของนี้ออกก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน แต่เทียบแล้วเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกับงานจริงที่จะทำ เราจะใช้วิธีเดินหลบไปก็ได้ เดี๋ยวมาย้ายทีหลัง แต่ก็ทำให้ช้าลง เดินไม่สะดวก คนอื่น ๆ ก็ต้องเดินหลบเหมือนกัน วิธีที่ดีกว่านั้นก็คือ ลงทุนเสียแรงเสียเวลาสักนิดหน่อย จัดการเอามันออกซะก่อน ก็จะได้ไปทำงานจริงได้สะดวกขึ้น นี่ก็พูดได้ว่า Let’s get this out of the way.  

เรียนไวยกรณ์อย่างไรดี

แฟนเพจคนหนึ่งถามมาว่า

เราควรทำความเข้าใจ เรื่องหลักไวยกรณ์ ไปพร้อมกับทักษะ การพูด อ่าน เขียน
หรือ ควร นั่งทำข้อสอบเพื่อทำให้ การเรียนและการใช้ภาษาอังกฤษ ดีขึ้น

จากการทำเพจนี้มา ผมเริ่มเข้าใจมากขึ้นถึงปัญหาการเรียนภาษาของเรา ผมเริ่มเห็นชัดว่า เรื่องไวยกรณ์ก็ดี เรื่องคำศัพท์ สำนวนก็ดี เป็นปัญหาที่คล้าย ๆ กับทักษะการออกเสียง ยกตัวอย่างเรื่องไวยกรณ์

  1. มีไวยกรณ์ในภาษาอังกฤษจำนวนมากที่ภาษาไทยเราไม่มี  ก็เหมือนเสียงบางเสียงในภาษาอังกฤษที่ภาษาไทยไม่มี
  2. ถ้าได้รับการปลูกฝังมาแต่เด็ก เด็ก ๆ สามารถสร้างทักษะ หรือสัมผัสกับไวยกรณ์ได้ เขาเข้าใจได้ ใช้ได้ โดยอัตโนมัติเลย แต่ผู้ใหญ่อย่างเรานั้น ส่วนใหญ่ทำไม่ได้เองโดยอัตโนมัติ

ดังนั้น ผมคิดว่าวิธีแก้ไขก็ คือ  การศึกษาให้เข้าใจไวยกรณ์อังกฤษ จากนั้นก็ไปสังเกตจากการฟัง การอ่าน ให้เกิดทักษะที่มั่นคงขึ้น คนที่ไม่เข้าใจ หรือสับสนในเรื่องไวยกรณ์พื้นฐาน ก็จะเอาไปใช้จับต้นชนปลายไม่ถูก พอเริ่มใช้ภาษาอังกฤษมาก ๆ เข้า ก็มักจะอ่านออก เข้าใจในความหมาย แต่พอมาให้เขียนเอง ก็เขียนไม่ค่อยได้ หรือใช้ไวยกรณ์แบบสับสน ผิด ๆ ถูก ๆ  นี่ก็คล้ายกับเรื่องของการฟังการออกเสียงเลย

ทีแรกผมก็คิดว่า เรื่องไวยกรณ์มีแหล่งข้อมูลอยู่ทั่วไป หนังสือก็มีมาก และโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เน้นสอน เน้นสอบเรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก ๆ ไม่คิดว่าเป็นปัญหาสำหรับคนไทย  แต่หลังจากได้สังเกตมากขึ้น ก็รู้สึกว่า คงคิดผิด รู้สึกว่าความเข้าใจไวยกรณ์ของเด็กที่จบมัธยมเรานั้น เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะอะไร ใครอยากแสดงความคิดเห็นก็เชิญนะครับ ผมก็อยากฟังว่า คุณว่าจริงไหม และทำไม

ย้อนกลับไปตอบคำถามข้างต้น ผมว่าการทำข้อสอบ เรียกว่าแบบฝึกหัดละกัน ถ้าทำให้เกิดทักษะในการใช้ก็ดี ถ้าแค่ติวไปสอบ ก็ยังดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย  แต่วิธีที่ถูก คิดว่า การฝึกให้เข้าใจกฎไวยกรณ์ก่อน เสร็จแล้วก็ไปใช้ฟัง ใช้อ่าน เราอยากฝึกไวยกรณ์ ก็หัดสังเกตไวยกรณ์ดู ก็จะเห็นว่าเวลาเขาใช้จริง ๆ ใช้อย่างไร

การลงชื่อในจดหมายภาษาอังกฤษ

วันก่อนผมไปช่วยตรวจอีเมลของรุ่นน้องคนหนึ่ง เขาเขียนติดต่อเรื่องสมัครเรียน สมมติชื่อว่า Suda Namdee ก็แล้วกันนะครับ  เขาเขียนชื่อตัวเองลงท้ายจดหมายอย่างนี้ ผมเห็นแล้วก็อุทานว่า เฮ้อ เขียนอย่างนี้ไม่เหมะสม  ผิดยังไงครับ

Sincerely,
Ms. Namdee

ก็ไม่ได้ผิดไวยกรณ์อะไร ผมเคยเขียนอธิบายไปทีหนึ่งแล้วว่า Mr, Ms, Mrs แล้วตามด้วยนามสกุลนี่ เป็นการให้เกียรติคนที่เราติดต่อด้วย ใช้สำหรับเวลายังไม่สนิทกันนัก หรือเวลาจะให้เด็กเรียกผู้ใหญ่ก็ได้ ถ้าเป็นภาษาไทยก็เทียบเท่ากับคำว่า คุณ นะครับ

ดังนั้น Mr,

Phrasal verbs

Phrasal verb คือ กริยาวลี หรือ กริยาที่รวมกับบุพบท ที่เราได้ยกตัวอย่างมาหลายตอนที่ผ่านมา  ก็ขอเล่าเพิ่มอีกนิดในภาพรวม  บางคนถามว่า รู้ได้ยังไงว่า ตอนไหนมีความหมายพิเศษ และตอนไหนมีความหมายตามตัวอักษร  ขอตอบแบบยกตัวอย่างภาษาไทย เช่น คำว่า เข้าตา ส่วนใหญ่มีความหมายพิเศษ แต่ก็ใช้ความหมายตามตัวอักษรได้ เช่น ขี้ผงเข้าตา เราก็รู้ได้ไม่มีปัญหา จากสถานการณ์บ้าง รูปประโยคบ้าง ท่วงทำนองการพูดบ้าง บางทีพวกตลกก็เอามาเล่นเป็นมุขได้ เพราะมีความหมายได้สองแบบ  ในภาษาอังกฤษก็มีลักษณะเดียวกันเลย เช่น pull off ที่เพิ่งเล่าไปจะมีความหมายตามตัวว่าดึงให้หลุดออกมาก็ได้  หรือ ความหมายพิเศษว่าทำได้สำเร็จก็ได้   look up จะใช้ในความหมายตามตัวว่ามองขึ้นข้างบนก็ได้ หรือใช้ในความหมายพิเศษว่า เปิดหา ก็ได้

ภาษาอังกฤษก็มีวลีพวกนี้เรียกว่า มหาศาล ผมว่าน่าจะเป็นพัน  มาจากคำง่าย ๆ ที่เรารู้แล้วทั้งนั้น วลีหลายตัวเราก็คุ้นเคยอยู่แล้ว แต่ก็มีอีกมากที่เขานิยมใช้ แต่เราไม่คุ้นเคย  ตอนผมไปทำงานกับฝรั่งใหม่ ๆ ก็ต้องมาหัดใช้คำพวกนี้ตามเขา เพราะบางอย่างไม่มีคำศัพท์ที่ใช้แทนได้ หรือเขาไม่นิยมใช้กัน เช่น คำว่าส่งการบ้าน เราพูดว่าส่งการบ้านก็ไปแปลว่า send homework แต่จริง ๆ ไม่ใช่ คำว่า send ใช้เวลาส่งไปรษณีย์ หรืออีเมล ถ้าเราส่งวิธีนั้นก็ใช้ send ได้   แต่ถ้าเราส่งในห้องเรียน ต้องใช้ว่า hand in homework หรือ submit homework ก็ได้ (ไม่ระบุวิธีส่ง)

ลองดูความหลากหลายของกริยาพวกนี้ดู

  • กริยาวลีบางตัวก็มีความหมายพิเศษอย่างเดียว หรือไม่ค่อยนิยมแบบใช้ตามตัวอักษร เช่น take over แปลว่า เข้าครอบครอง
  • กริยาวลีบางตัวก็ไม่เชิงว่าเป็นความหมายพิเศษ เพราะใกล้เคียงกับความหมายตามตัวอักษร เช่น คำว่า come up  เราก็ควรรู้ว่านิยมใช้กับอะไร ตอนไหนบ้าง
  • กริยาวลีบางตัวก็ใช้แบบไม่มีกรรม เช่น get by   บางตัวใช้แบบมีกรรมเสมอ เช่น put on something บางตัวมีใช้แบบมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ เช่น come by
  • กริยาวลีที่มีกรรมบางตัว ถ้ากรรมเป็นสรรพนาม ก็ต้องใช้อยู่ตรงกลางระหว่างกริยากับบุพบท เช่น  put it on,

Pull off something

อีกสำนวนหนึ่งที่แปลว่าทำอะไรได้สำเร็จ สำนวนนี้เป็นสำนวนโปรดผมเลย คือ pull off something  ตัว something นี่ก็แทนด้วยอะไรก็ได้  โดยมากก็หมายถึงเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ทำได้สำเร็จ เช่น pull off victory,  pull off project,  pull off lie ก็แปลว่า โกหกสำเร็จ (คนอื่นเขาเชื่อ)  ในเรื่องกีฬา การแข่งขัน ถ้าทีมไม่เก่งเอาชนะทีมตัวเก็งได้ เขาก็เรียกว่า ทีมนั้น pull off upset  คือ ทำพลิกล็อกได้สำเร็จ

ถ้าเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่ก็ใช้สรรพนามแทนได้ pull it off หรือ pull this/that off ก็ได้  ดูตัวอย่างเช่น

  • This job is difficult but I think we can pull it off if we work together.  
Copyright © 2013-2025 betterenglishforthai.net