ศัพท์และสำนวน

Heads up

Heads up อ่านว่า -เฮิด-ซัพ- พบบ่อยมาก ๆ โดยเฉพาะภาษาพูด เวลาใช้ต้องใช้สองคำคู่กันอย่างนี้เหมือนคำ ๆ เดียว ซึ่งเป็นคำนามแปลว่า การบอกล่วงหน้า หรือ เตือนล่วงหน้า To give someone a heads up ก็มีความหมายเดียวกับ to tell someone ahead of time  ถ้าเป็นคำนามก็คล้ายคำว่า notice เป็นต้น แต่ heads up ฟังดูกันเอง ๆ เป็นทางการน้อยกว่า ตัว s ข้างหลัง head นี้ไม่ได้ทำให้เป็นคำพหูพจน์นะครับ ดูตัวอย่างเช่น

  • I want to give you a heads up.

Crazy vs Mad

ตอนก่อนเรื่อง crazy ผมอธิบายตกไปความหมายหนึ่งที่ใช้บ่อย คือ แปลว่า ชอบแบบคลั่งไคล้ ก็ได้ เช่น

  • He is crazy about you.   เขาคลั่งไคล้คุณเอามาก ๆ เลย (คือ ชอบ หรือ รักแบบไม่ลืมหู ลืมตา)
  • He is crazy about cars. 

Silly vs Crazy

คำว่า บ้า ในภาษาไทยก็มีหลายคำใกล้เคียงกันในภาษาอังกฤษ ตอนนี้มาดูบางคำที่ใช้บ่อย ๆ   คำแรก คือ silly มีใช้อยู่ในสองสถานการณ์ คือ

  • เห็นใครทำเพี้ยน ๆ เต้นแร้งเต้นกา หรือ พูดจาไร้สาระแบบเพี้ยน ๆ เราก็พูดได้ว่า That’s silly.  เหมือนภาษาไทยแปลว่า เพี้ยน หรือ บ๊อง
  • กรณีที่สองเป็นอาการโง่ผสมกับบ้า (stupid/foolish + crazy) เช่น ใครเสนอความคิดประหลาด ๆ ที่เราไม่เห็นด้วย ถ้าจะด่าให้สะใจก็พูดว่า That’s silly.

Wishful Thinking vs Daydreaming

สองคำนี้ความหมายคล้าย ๆ กัน แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว เอาเรื่องไวยกรณ์ก่อน daydream เป็นคำนามก็ได้ คำกริยาก็ได้ แปลว่า ฝันกลางวัน เนื่องจากเป็นคำกริยาก็เลยมีรูปศัพท์ได้มากมาย เช่น daydreamed รูปกริยาช่องสอง daydreaming การฝันกลางวัน หรือ daydreamer แปลว่า นักฝันกลางวัน ส่วน wishful thinking นั้น เป็นคำนามเท่านั้น แปลว่า การคิดโดยมองแต่แง่ดีมากเกินไป ไม่ใช้เป็นคำกริยา ยกเว้น wishful thinker ก็พอมีใช้บ้าง

ถ้าเห็นใครคิดเหม่อลอย เรียกแล้วไม่ได้ยิน อย่างนี้ต้องเรียกว่า daydreaming ถ้าใครคิดฝันหวานว่าจะทำโน่นทำนี่ ได้โน่นได้นี่ อันนี้ก็จะเรียกว่า daydreaming ก็ได้ หรือเบาหน่อย ก็เรียกว่า wishful thinking ก็ได้ ส่วนถ้าจะอธิบายว่าใครมีความหลงผิด คิดในแง่ดีเกินไป ไม่มองความเป็นจริง ก็ควรใช้ว่า wishful thinking ไม่ใช่ daydreaming เช่น

  • I’ll quit my job,

Job vs Work

job กับ work เมื่อเป็นคำนาม แปลเหมือนกันว่า งาน  บางสถานการณ์ก็ใช้แทนกันได้ แต่บางสถานการณ์ก็ไม่ได้  work เป็นนามนับไม่ได้ แต่ job นับได้  ตัวอย่างหนี่งที่ใช้แทนกันได้ คือ เรื่องเกี่ยวกับผลงาน หรืออะไรที่ทำอยู่  สังเกตการใช้ a ข้างหน้า job ด้วยนะครับ เช่น

  • You are doing a good job. 

Naive vs Innocent

อีกคำหนึ่งที่คล้ายกับ naive คือ innocent ออกเสียงเน้นพยางค์แรกว่า -[อิน]-เนอะ-สึน-  แต่ความหมายไม่เหมือนกันทีเดียว  naive ใช้กับการไม่รู้เรื่องรู้ราวแบบอ่อนประสบการณ์ ดังที่ได้กล่าวในตอนที่แล้ว  แต่ innocent เป็นอาการไม่รู้เรื่องรู้ราวแบบบริสุทธิ์ ที่ผมนึกออกก็ใช้ในสามสถานการณ์ คือ 1) เด็ก ๆ บริสุทธิ์ไม่รู้ประสีประสา ไม่รู้ผิดรู้ถูก 2) คนบริสุทธิ์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด  3) คนไม่รู้เรื่องรู้ราวกับเหตุการณ์ แต่โดนลูกหลง  ตัวอย่างเช่น

  • All children were born innocent.  

Foolish vs Naive

naive อ่านว่า -ไน-[อีฯ]-  ก็แปลว่า อ่อนประสบการณ์ ไม่รู้เรื่องรู้ราว ไม่ทันคน ก็ความหมายคล้ายกับ foolish แต่เป็นเชิงลบน้อยกว่า คือ ไม่ถึงกับว่า โง่   foolish จะออกไปในแนวด่าว่า โง่ ไม่รู้เรื่อง โดนคนอื่นเขาหลอกแล้วยังไม่รู้ตัว  แต่ naive นี้เป็นแค่อาการอ่อนโลก เฉย ๆ ไม่รู้เคล็ดลับ หรือกลไกสังคมที่คนอื่น ๆ เขารู้กัน เช่น เราเข้าไปทำงานบริษัทใหม่ ๆ อาจจะมีวัฒนธรรม หรือกฏที่ไม่เป็นทางการ ที่คนอื่นเขารู้กัน ทำกัน แต่เราไม่รู้ และไม่ได้สังเกต  อย่างนี้ก็เรียกว่า naive เช่น

  • I was young and naive when I first graduated. 
Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net