ศัพท์และสำนวน

Hats off to someone

พูดถึงสำนวนเกี่ยวกับใส่หมวกแล้ว ก็นึกถึงถอดหมวก การถอดหมวกให้ใคร ก็เป็นสำนวนที่ตรงกับสำนวนไทยเราว่า ยกนิ้วให้ คือ ยกย่องในความสามารถของคนอื่น แต่อย่าไปพูดในภาษาอังกฤษว่ายกนิ้วให้นะครับ ถ้าพูดผิดมันกลายเป็นการด่าไป เดี๋ยวจะเป็นเรื่อง (ยกนิ้วที่ดี คือ นิ้วโป้ง ในภาษาอังกฤษ คือ thumbs up ซึ่งผมเคยเขียนเล่าไปตอนหนึ่งแล้ว แต่ถ้าเป็น to give someone a finger หมายถึง ยกนิ้วกลางให้ สำนวนเขาไม่ต้องพูดว่านิ้วกลาง นิ้วเฉย ๆ a finger นี่แหละครับเป็นที่รู้กัน)

ถ้าจะพูดว่ายกนิ้วให้ ในภาษาอังกฤษต้องบอกว่า ถอดหมวกให้ พูดย่อ ๆ ว่า Hats off to …

สำนวนเกี่ยวกับลูกบอล

คนอเมริกันมีบ้าดูกีฬาพอสมควรนะครับ เหมือนคนไทยบ้าดูฟุตบอล ช่วงนี้ก็มีบาสเกตบอล NBA และเทนนิส French Open กำลังชิงแชมป์กันอยู่ วันนี้ลองมาดูสำนวนที่มาจากกีฬา แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เรื่องในเรื่องกีฬา นิยมใช้กันมากในหมู่คนทำงาน

สำนวนแรก คือ to drop the ball ก็หมายถึง ทำงานเสีย แบบว่าไม่ทำหน้าที่ตัวเองแล้วทำให้งานส่วนรวมเสีย อาจจะโดยตั้งใจปล่อยปละละเลย หรือ ไม่เก่ง หรือ หลงลืมก็ได้ เช่น

  • The whole project failed because John dropped the ball.

Buy / Sell Ideas

ทุกคนคงรู้จัก buy กับ sell นะครับ ก็คือ ซื้อ กับ ขาย ตอนนี้ขอมาแนะนำว่า สองคำนี้ใช้ในความหมาย เกี่ยวกับ ความคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะ หรือ ข่าวสารข้อมูล ก็ได้ นิยมใช้กันมากในภาษาพูด ลองดูตัวอย่างและ ความหมายครับ

  • I’m going to try to sell this idea to him.

Take something back

อันนี้ก็แปลธรรมดา ๆ ได้ว่า เอาอะไรบางอย่างคืน แต่ตอนนี้ ขอเล่าถึงความหมายเมื่อ something ตัวนี้หมายถึง คำพูดที่ได้พูดออกไปแล้ว สำนวนนี้ก็จะหมายความว่า ขอถอนคำพูด หรือ ขอพูดใหม่ จะใช้ในเรื่องร้ายแรงก็ได้ เช่นไปว่าใครเสีย ๆ หาย ๆ หรือ ใช้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ได้ เช่น บอกข้อมูลคลาดเคลื่อนไปโดยไม่ตั้งใจ ตัวอย่างเช่น

  • ถ้าเราจะพูดว่า เอ้ย ขอโทษที เมื่อกี้พูดผิดไป ก็บอกได้ว่า Sorry,

Take something for granted

granted อ่านว่า -[แกรน]-ติด- สำนวนนี้ได้ยินบ่อย หมายความว่า คิดว่าอะไรบางสิ่งบางอย่างได้มาง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ความพยายาม ใครรู้ว่าสำนวนไทยที่สั้น ๆ ที่มีความหมายเดียวกัน ก็บอกด้วย ผมนึกออกอันหนี่ง คือ จะแปลว่า มีโดยปริยาย หรือได้มาโดยปริยาย ก็ได้ ลองดูตัวอย่างการใช้

  • He was born rich and took money for granted.

Take it with a grain of salt

สำนวนนี้คล้าย ๆ กับภาษาไทยเราว่า ฟังหูไว้หู เหมาะสมมากเลยสำหรับยุคอินเตอร์เนตที่เต็มไปด้วยข่าวสารข้อมูล บางอย่างก็จริง บางอย่างก็กึ่งจริง หรือไม่จริง เวลาเรารับฟังอะไรมาก็ต้องใช้วิจารณญาณ ตรวจสอบก่อนที่จะเชื่อ หรือ เชื่อครึ่งไม่เชื่อครี่งไว้ก่อน ตรง it ในสำนวนนี้ ก็คือ ตัวความคิดเห็น หรือ ข้อมูลที่เราได้รับมานะครับ ลองดูตัวอย่าง

  • He may have some bias, you should take his opinion with a grain of salt.

Morale, Moral, Morality

moral กับ morale เขียนคล้ายกัน แต่ออกเสียงไม่เหมือนกัน และแปลกันคนละเรื่อง morale เน้นพยางค์หลัง อ่านว่า -มอ-[แรล]- แปลว่า ขวัญกำลัง เช่น

  • The morale of the remaining employees went down after the layoff.
Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net