ศัพท์และสำนวน

Make it vs Come through

สำนวนว่า ทำได้สำเร็จ ฝ่าฝันอุปสรรคมาได้สำเร็จ ก็มีหลายอย่างนะครับ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับสำนวน make it ซึ่งใช้ได้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงเรื่องใหญ่ เช่น ถ้าจะนัดอะไรใคร แล้วจะบอกว่าไปได้ ไปไม่ได้ เขาก็นิยมใช้สำนวน make it เช่น

  • I cannot make it tomorrow.  ถ้าเป็นการพูดเกี่ยวกันการนัดหมายทำอะไร ประโยคนี้ก็แปลว่า ฉันจะมาไม่ได้พรุ่งนี้  (ไม่ว่าง)  ความหมายเดียวกับคำว่า come  พูดเต็ม ๆ ก็ I cannot make it to …

Come up big vs Come up short

come up ใช้กันมากนะครับ ไม่เฉพาะที่เป็นสำนวนพิเศษที่ผมยกมาเท่านั้น ที่เป็นความหมายทั่ว ๆ ไปก็มีที่ใช้เยอะ พระอาทิตย์ขึ้นก็ The sun comes up.  เหตุการณ์เกิดขึ้นก็ได้ เช่น The problem comes up again and again.  ปัญหานี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก

ตอนนี้มาดูสำนวน come up ที่ตามด้วยคำคุณศัพท์ ที่เกี่ยวกับการทำอะไรสำเร็จ หรือล้มเหลว  ถ้าใครทำอะไรสำเร็จ แบบไม่ใช่แค่ธรรมดา แต่ค่อนข้างเกินความคาดหมาย ฝรั่งก็มีสำนวนว่า come up big  ในทางตรงกันข้ามใครทำอะไรไม่สำเร็จ แบบค่อนข้างต่ำกว่าความคาดหมาย หรือน่าผิดหวัง อาจจะตัวเองผิดหวัง หรือคนอื่นผิดหวังก็แล้วแต่ เขาก็ใช้สำนวนว่า come up short

คุณอาจจะถามว่าทำไมไม่ใช้คำว่า small ซึ่งมันตรงข้ามกับ big  ผมคิดว่ามันมีที่มา ซึ่งมาจากอีกสำนวนหนึ่ง คือ short of expectation แปลว่าต่ำกว่าความคาดหวัง  come up short  ก็ใช้อีกแบบหนึ่งได้ว่า fall short หรือ พูดให้เต็มก็ คือ fall short of expectation ดูตัวอย่างกันดีกว่า เช่น

  • The Thai football team came up big beating Japan 2-0.  

Come up with something

คราวก่อนพูดถึง come across an idea ว่าคิดได้โดยไม่ได้ตั้งใจ  ถ้าเราจะเอาแบบตั้งใจ เขาก็นิยมใช้สำนวนว่า come up with an idea เช่น

  • We came up with a great idea to distribute our products.   เราคิดวิธีกระจายสินค้าที่ดีเยี่ยมขึ้นมาได้

ผมก็พยายามแปลความหมายให้มันได้อารมณ์เท่า แต่แปลยากนะครับ to come up with เป็นสำนวนที่ใช้กันตลอดเวลา ไม่ใช่แค่กับ idea จะเป็นเรื่องอื่นก็ได้ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความคิด ความสามารถ หรือ ผลงาน เช่น solution,

Come across as …

Come across ยังมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง โดยใช้ในสำนวนว่า come across as ใช้กับประธานที่เป็นบุคคล หรือการกระทำ ตามด้วยกรรมที่เป็นนาม หรือ กริยา+ing  ที่บอกลักษณะ หมายความว่า การกระทำ หรือ บุุคคลนั้น ๆ มองดูหเหมือน หรือ สื่อไปในทางที่เป็นลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยทั่วไปในลักษณะที่ไม่เป็นการจงใจ

เช่น คนบางกลุ่มอาจมีนิสัยชอบพูดเสียงดัง พอมาอยู่ในกลุ่มคนที่พูดเบา ๆ นุ่มนวล คนที่ติดนิสัยพูดเสียงดังก็อาจจะมองดูเหมือน ไม่พอใจอะไรหรือเปล่า หรือ โกรธ ทั้งที่จริง ๆ เขาอาจจะไม่ได้คิดอย่างนั้น ก็พูดได้ว่า

  • In this company,

Come across, Run into

สำนวนว่า search for กับ look for แปลว่า ค้นหา ใช่ไหมครับ  ถ้าหาเจอก็ใช้ find เช่น

  • I have been looking for a perfect car, and finally found one.  หารถที่ดีถูกใจมานาน ในที่สุดก็เจอคันหนึ่ง

ทีนี้ถ้าเจอโดยบังเอิญ หรืออยู่ดี ๆ ก็เจอ ควรพูดว่าอย่างไร  คำว่า find ปกติไม่ระบุเจาะจงว่า ค้นหาแล้วเจอ หรืออยู่ดี ๆ ไปเจอ ก็แล้วแต่สถานการณ์ที่พูด  แต่ส่วนใหญ่จะหมายถึง สิ่งที่ค้นหา หรืออยากเจอ ถ้าจะระบุให้แน่ชัดว่าเจอโดยบังเอิญก็สามารถพูดได้ว่า find something by chance ก็ได้  แต่สำนวนที่นิยมใช้กว่า กะทัดรัดกว่า ก็คือ come across หรือ run into  ใช้กับคนหรือสิ่งของก็ได้ เช่น

  • I came across an old friend yesterday.  

Get by

เขียนเรื่องกริยาที่ใช้กับ by ก็นึกถึงสำนวน get by นะครับ ก่อนจะเล่าถึงสำนวนนี้  ลองมาท้าวความหน่อยว่า ถ้ามีคนถามเรื่องทุกข์สุข ความเป็นอยู่ เราจะตอบอย่างไรได้บ้าง เช่น เขาอาจจะถามว่า How are you?  คุณเป็นไง (อันนี้แล้วแต่สถานการณ์นะครับ บางทีก็เป็นคำกึ่งทักทาย) หรือ How is your work?  งานเป็นอย่างไร   How is your business? ธุรกิจเป็นอย่างไร หรือ How is it going at school/work?  

Run something by someone

Can I run something by you?  แปลว่า อะไรครับ ขอฉันเอาอะไรวิ่งชนคุณหน่อยหรือเปล่า หรือ ขอให้ช่วยวิ่งทำอะไรหรือเปล่า คนละเรื่องนะครับ นี่คือเสน่ห์ของกริยาคู่กับบุพบทเหล่านี้ ไม่ใช่สแลง แต่มีความหมายพิเศษหน่อย ถ้าอยู่ในสถานการณ์บางทีเราก็พอเดาได้ โดยไม่ต้องถึงกับเปิดพจนานุกรม  ประโยคนี้หมายความว่า ขอถามความคิดเห็นคุณเกี่ยวกับอะไรบางอย่างได้ไหม  เหมือนพูดว่า Can I get your opinion on something? แต่ฟังดูเป็นเรื่องเป็นราวกว่าหน่อย

เขาก็นิยมใช้กับความคิด หรือ การตัดสินใจ หรือ แผนอะไร  ถ้าเราคิดอะไรได้ อาจจะอยากได้ความเห็นที่สองว่าดีไม่ดีอย่างไร เราก็เอาไปถามเพื่อน หรือถามผู้ที่เชี่ยวชาญ ก็ใช้สำนวนนี้ได้  อีกสถานการณ์หนึ่งก็คือ ถามความเห็นกึ่ง ๆ ขออนุญาตนะครับ เช่น ลูก ๆ มีไอเดียอยากจะทำโน่นทำนี่ก็ไปถามความเห็นพ่อแม่ หรือ ลูกน้องไปถามความเห็นเจ้านาย  ตัวอย่างเช่น

  • That’s a good idea.  
Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net