ศัพท์และสำนวน

Through vs To

มีคนถามให้อธิบาย การใช้ through (-ธรู-) แปลว่า อะไร ผมก็ไม่ได้นึกว่าจะเป็นเรื่องที่สับสนในการใช้ แต่ก็คงเป็นเพราะภาษาไทยเราไม่มีบุพบทที่ที่เทียบเท่าเลยทำให้บางคนไม่เข้าใจชัด คำที่ใกล้เคียงกับ through ทั้งเสียงและความหมายก็คือ to เนื่องจากเราไม่มีเสียง R บางคนที่ไม่คุ้นเคย เมื่อได้ยิน through ก็ไปคิดว่าเป็น to ได้

ลองมาเทียบความหมายในประโยคกัน ระหว่าง through กับ to

  • Go to the door and you will see a white table.

Feel Free

สำนวน feel free เป็นสำนวนที่น่าใช้มากครับ แปลเป็นไทยก็ทำนองว่า เชิญตามสบาย หรือ ทำได้เลย ไม่ต้องเกรงใจ เป็นการให้อนุญาติแบบกันเอง ๆ ไม่เป็นทางการ เชิญชวนนิด ๆ เช่น เราไปเป็นวิทยากร หรือ ไปอธิบายความอะไรให้ใคร เห็นคนฟังเกร็ง ๆ เงียบ ๆ จะบอกว่า เชิญถามคำถามได้นะ ระหว่างที่ฉันพูดนี่ ไม่ต้องเกรงใจ ก็พูดได้ว่า Please feel free to ask any question (while I talk).

Man / Men / Person / People

มาดูคำเอกพจน์ และ พหูพจน์ ของคนกันหน่อยครับ

  • man (แมน) / men (เมน)
  • woman(-[วู]-เมิน-) / women (-[วี]-เมิน-)
  • gentleman / gentlemen (เนื่องจากพยางค์สุดท้ายเป็นสระเสียงเบา ทั้งสองคำออกเสียงเหมือนกันว่า -[เจน]-เทิล-เมิน-)
  • lady (-[เล]-ดี-) / ladies (-[เล]-ดีซ-)
  • human (-[ฮิว]-เมิน-) / humans (-[ฮิว]-เมินซ-)
  • human being / human beings
  • person / persons หรือ people

คำว่า people โดยทั่วไปก็เป็นพหูพจน์ เช่น There are people outside.  

Dream

รู้สึกมีคนสนใจเรื่อง dream เยอะ ก็ขอพูดต่ออีกหน่อย ฝันของเราก็มีความหมายได้หลาย 3 อย่าง คือ ฝันกลางคืน ฝันกลางวัน และก็ใฝ่ฝัน ก็เหมือน dream ของฝรั่งมีความหมายได้ทั้งสามอย่างเหมือนกันแล้วแต่สถานการณ์ ถ้าจะเจาะจงฝันกลางวันก็มักจะใช้อีกคำ คือ daydream

ขอเล่าต่อ เรื่องการใฝ่ฝัน ซึ่งฝรั่งก็ใช้กันมาก น่าจะมากกว่าคนไทย ถ้าสมมติ อยู่ดี ๆ คนถามว่า What is your dream?

Dream Come True

ฝันที่เป็นจริง ถ้าพูดเป็นประโยคก็เช่น My dream has finally come true. ฝันฉันในที่สุดก็เป็นจริง

อีกแบบที่นิยมใช้ ก็คือใช้ dream come true สามคำเขียนเรียงกันอย่างนี้ กลายเป็นนามนับได้ หรือ เป็นคุณศัพท์ก็ได้ สังเกตว่า come ไม่เติม s นะครับ เพราะไม่ใช่ประโยคแท้ เป็นการเอารูปประโยคมาเรียงกันกลายเป็นคำเฉพาะกิจขึ้นมา จริง ๆ ถ้าเขียนให้ถูกหลักเป๊ะก็ควรมีขีดกลางเชื่อมคำ เป็น dream-come-true แต่หลาย ๆ คนก็เขียนแบบไม่มีขีด เช่น

  • This is a dream come true to me.

Feel sorry for someone

sympathy, empathy, หรือ condolence ว่าไปแล้ว อาจจะเป็นศัพท์เทคนิคที่ไปใช้พูดยากไปหน่อยในชีวิตประจำวัน ตอนนี้เอาง่ายหน่อย สมมติถ้ามีใครเล่าเรื่องโชคร้ายของเขาให้เราฟัง เราอยากจะบอกเหมือนไทย ๆ ว่า เสียใจด้วยนะ ก็พูดง่าย ๆ ว่า

  • I’m sorry to hear that. หรือ Sorry to hear that.
  • I feel sorry for you.

Pity vs Sympathy vs Empathy

คราวก่อนพูดถึง sympathy มาต่อหน่อยว่า มีคำที่ความหมายใกล้เคียงกันอีก 2 คำ ในภาษาไทยเรามีคำว่า สมเพช สงสาร และเห็นอกเห็นใจ ภาษาอังกฤษก็มี pity sympathy และ empathy ซึ่งก็เทียบแล้วใกล้เคียง แต่ไม่ถึงกับแปลกันตรง ๆ

pity sympathy และ empathy ทั้งสามคำก็ใช้เวลาเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก เรียงลำดับจากความเห็นใจ และ เข้าใจเขาจากน้อยไปมาก

pity น่าจะตรงกับสมเพช อาจจะบวกสงสารนิดหน่อย รูปคำ และสำนวนเวลาใช้ไม่เหมือนกับคำอื่น เช่น

  • I take pity on them.
Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net