ไวยกรณ์

คำกริยาบางคำใช้กับ Continuous Tense ไม่ได้จริงหรือ?

เคยอ่านเจอในอินเตอร์เนทตอนค้น ๆ เรื่องเกี่ยวกับ tense เขาว่า กริยาบางตัว เช่น to be, to have, to need, ฯลฯ ใช้กับรูปประโยคแบบต่อเนื่อง (continuous tense) ไม่ได้ คือ คงหมายความว่า เขาไม่พูดว่า กำลังเป็น หรือ กำลังมี ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า สมัยเด็ก ๆ ก็รู้สึกจะเคยเรียนแบบนี้มาเหมือนกัน

เรื่องนี้ไม่ถูกต้องนักนะครับ พูดตามประสบการณ์แล้ว ผมนีกไม่ออกว่า มีกริยาตัวไหนบ้างที่ใช้กับรูปประโยคแบบต่อเนื่องไม่ได้ มีแต่ว่าในบางความหมาย หรือบางสถานการณ์ เราไม่ใช้เป็นรูปประโยคแบบต่อเนื่อง (Present continuous tense) แต่ใช้รูปประโยคปกติ (Present tense) ตัวอย่างเช่น

Verb to be: ถ้าจะบอกเขาลักษณะ หรืออุปนิสัยคน เช่น เขาเป็นคนดี เราก็ใช้ He’s a good man.

would, could, should, etc ตอนที่ 7 การสวดขอพร อวยพร

เคยได้ยินฝรั่งเขาพูดว่า Bless you. หรือ God bless you. ไหมครับ   God เป็นประธานเอกพจน์ แต่เขาไม่ใช้กริยาตามรูปของประธาน คือ ไม่ใช้เป็น God blesses you. ก็เนื่องจากว่าประโยคนี้ย่อมาจาก  May God bless you.  แปลว่า “ขอให้พระเจ้าคุ้มครองคุณ”   เป็นการให้พร หรืออวยพร ภาษาอังกฤษ   ซึ่งวิธีการใช้ก็คือ ใช้ May นำหน้าประโยค เหมือนเป็นประโยคคำถาม แต่ไม่ใช่คำถาม และไม่ต้องขึ้นเสียงสูงที่ท้ายประโยค  ให้พูดเป็นประโยคบอกเล่าธรรมดา  ลองดูตัวอย่างเพิ่มเติมเครับ

  • May all beings be happy and safe. 

would, could, should, etc ตอนที่ 6 อดีตที่หวนคืน

กริยาช่วยเหล่านี้มีรูปประโยคอดีตกาลที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ โดยใช้ร่วมกับ have + กริยาช่องที่สาม  สมัยที่เรียนในโรงเรียน จำได้ว่า เรียนว่าให้ใช้กับประโยค if แบบตรงข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไปแล้วใน เช่น

  • If she hadn’t got sick on the last day, she would have won the contest.  “ถ้าเธอไม่ป่วยซะก่อนในวันสุดท้าย เธอก็จะชนะการแข่งขันไปแล้ว” ก็หมายความว่า อาจเป็นการแข่งขันที่ใช้เวลาหลายวัน แล้วเธอคนนี้ดันมาป่วยเอาวันสุดท้ายเข้าร่วมไม่ได้ คนพูดอาจเห็นว่า เธอคงคะแนนนำ หรือเก่งกว่าคนอื่น  ถ้าได้แข่งครบทุกวันต้องชนะแน่ ๆ

เราอาจจะแทน would ด้วยคำอื่นก็ได้ เพื่อแสดงถึงความมั่นใจที่น้อยลง ลักษณะก็เหมือนที่ได้อธิบายไปแล้วในเรื่องการทำนายอนาคต แต่คราวนี้เป็นการทำนายอดีตแทน เช่น

  • If …,

would, could, should, etc ตอนที่ 4 การทำนายอนาคต

พูดถึง would ไปมากแล้ว คุณคงเห็นแล้วว่า would ไม่ได้ใช้อธิบายอดีตกาลอย่างเดียว  ตอนนี้เรามาพูดถึง could กับ might บ้าง  เช่นเดียวกันนะครับ  could เป็นอดีตกาลของ can  และ might ก็เป็นอดีตกาลของ may เวลาเล่าเรื่องอะไร  แต่ก็ยังมีวิธีใช้อื่นอีก  ตอนนี้ เรามาดูวิธีใช้ในการทำนายอนาคตดู   ช่วงนี้เป็นช่วงสิ้นปี  ถ้าใครฟังข่าวบ่อย ๆ ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจออกมาทำนายว่าปีหน้าจะเกิดอะไรขึ้น   ซึ่งในสถานการณ์นี้ เราก็สามารถใช้ could กับ might ได้  โดยที่ could มีความหมายอ่อนกว่า can แปลว่า สามารถจะ  และ might ก็มีความหมายอ่านกว่า may แปลว่า อาจจะ

สมมติว่าเราพูดโดยเฉพาะการทำนายอนาคตที่ยังไม่มาถึง  ว่า สิ่งนี้จะเกิดขึ้นในปีหน้า  จะพูดได้อย่างไรบ้าง   ผมจะเรียงจากความมั่นใจมากไปจนถึงความมั่นใจน้อยที่สุดนะครับ

  • This will definitely happen next year. 

would, could, should, etc ตอนที่ 5 ต้อง

ตอนที่แล้วเป็นเรื่องการทำนายอนาคต ถ้าใครสังเกตจะเห็นว่าผมไม่ได้รวม must กับ have to เข้าไปในกลุ่มด้วย เวลาคนไทยเราทำนายอนาคต บางทีก็ฟันธงโดยใช้คำว่าต้อง เช่น เราอาจพูดว่า “พรุ่งนี้ฝนต้องตกแน่นอน”   ซึ่งก็ควรแปลว่า It will definitely rain tomorrow.  ถ้าเราไปพูดว่า  It has to (หรือ must) rain tomorrow.  มันมีความหมายเหมือนกับว่าเราอยากให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น  เมื่อมาใช้กับเหตุการณ์ที่คนเราควบคุมไม่ได้ เช่น ปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างนี้ โดยมากก็ควรมีสถานการณ์ประกอบว่าทำไมถึงพูดอย่างนั้น เช่น  อาจพูดว่า It has to rain tomorrow for our plant to survive. 

would, could, should, etc ตอนที่ 3 การคาดคะเน การปรารถนา

ขอพูดเรื่อง would ต่ออีกหน่อย อีกสถานการณ์หนึ่งที่มีการใช้กันมาก ก็ในเรื่องของการแสดงความคิดเห็น  หรือการคาดคะเน ซึ่งปกติก็จะใช้ประโยคแบบปัจจุบันการณ์ (present tense) ธรรมดา  แต่เราจะใช้ would ก็ได้  ก็ให้ความรู้สึกถึงการที่เป็นการคาดคะเน หรือความไม่แน่นอนมากขึ้นหน่อย  โดยทั่วไปก็ใช้แทนกันได้ครับ เช่น

  • I wouldn’t expect it to rain tomorrow.   ฉันไม่คาดหวังว่าฝนจะตกพรุ่งนี้  ก็มีความหมายเดียวกับ I don’t expect it to rain tomorrow.

would, could, should, etc ตอนที่ 2 การขอร้อง

Would นี่จะเรียกว่าเป็นทำนอง อนาคตแบบสมมติ หรือแบบคาดคะเนก็ได้  คิดว่าเราอาจได้เรียนเรื่องรูปประโยคแบบเงื่อนไข (if) มาบ้างแล้ว ทบทวนกันนิดหน่อย เช่น สองประโยดนี้มีความหมายเดียวกันว่า “ถ้าคุณมา เราจะออกไปเที่ยวด้วยกัน”

  • If you come, we will go out together.
  • If you came, we would go out together.
Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net