ไวยกรณ์

เรียนไวยกรณ์อย่างไรดี

แฟนเพจคนหนึ่งถามมาว่า

เราควรทำความเข้าใจ เรื่องหลักไวยกรณ์ ไปพร้อมกับทักษะ การพูด อ่าน เขียน
หรือ ควร นั่งทำข้อสอบเพื่อทำให้ การเรียนและการใช้ภาษาอังกฤษ ดีขึ้น

จากการทำเพจนี้มา ผมเริ่มเข้าใจมากขึ้นถึงปัญหาการเรียนภาษาของเรา ผมเริ่มเห็นชัดว่า เรื่องไวยกรณ์ก็ดี เรื่องคำศัพท์ สำนวนก็ดี เป็นปัญหาที่คล้าย ๆ กับทักษะการออกเสียง ยกตัวอย่างเรื่องไวยกรณ์

  1. มีไวยกรณ์ในภาษาอังกฤษจำนวนมากที่ภาษาไทยเราไม่มี  ก็เหมือนเสียงบางเสียงในภาษาอังกฤษที่ภาษาไทยไม่มี
  2. ถ้าได้รับการปลูกฝังมาแต่เด็ก เด็ก ๆ สามารถสร้างทักษะ หรือสัมผัสกับไวยกรณ์ได้ เขาเข้าใจได้ ใช้ได้ โดยอัตโนมัติเลย แต่ผู้ใหญ่อย่างเรานั้น ส่วนใหญ่ทำไม่ได้เองโดยอัตโนมัติ

ดังนั้น ผมคิดว่าวิธีแก้ไขก็ คือ  การศึกษาให้เข้าใจไวยกรณ์อังกฤษ จากนั้นก็ไปสังเกตจากการฟัง การอ่าน ให้เกิดทักษะที่มั่นคงขึ้น คนที่ไม่เข้าใจ หรือสับสนในเรื่องไวยกรณ์พื้นฐาน ก็จะเอาไปใช้จับต้นชนปลายไม่ถูก พอเริ่มใช้ภาษาอังกฤษมาก ๆ เข้า ก็มักจะอ่านออก เข้าใจในความหมาย แต่พอมาให้เขียนเอง ก็เขียนไม่ค่อยได้ หรือใช้ไวยกรณ์แบบสับสน ผิด ๆ ถูก ๆ  นี่ก็คล้ายกับเรื่องของการฟังการออกเสียงเลย

ทีแรกผมก็คิดว่า เรื่องไวยกรณ์มีแหล่งข้อมูลอยู่ทั่วไป หนังสือก็มีมาก และโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เน้นสอน เน้นสอบเรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก ๆ ไม่คิดว่าเป็นปัญหาสำหรับคนไทย  แต่หลังจากได้สังเกตมากขึ้น ก็รู้สึกว่า คงคิดผิด รู้สึกว่าความเข้าใจไวยกรณ์ของเด็กที่จบมัธยมเรานั้น เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะอะไร ใครอยากแสดงความคิดเห็นก็เชิญนะครับ ผมก็อยากฟังว่า คุณว่าจริงไหม และทำไม

ย้อนกลับไปตอบคำถามข้างต้น ผมว่าการทำข้อสอบ เรียกว่าแบบฝึกหัดละกัน ถ้าทำให้เกิดทักษะในการใช้ก็ดี ถ้าแค่ติวไปสอบ ก็ยังดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย  แต่วิธีที่ถูก คิดว่า การฝึกให้เข้าใจกฎไวยกรณ์ก่อน เสร็จแล้วก็ไปใช้ฟัง ใช้อ่าน เราอยากฝึกไวยกรณ์ ก็หัดสังเกตไวยกรณ์ดู ก็จะเห็นว่าเวลาเขาใช้จริง ๆ ใช้อย่างไร

Phrasal verbs

Phrasal verb คือ กริยาวลี หรือ กริยาที่รวมกับบุพบท ที่เราได้ยกตัวอย่างมาหลายตอนที่ผ่านมา  ก็ขอเล่าเพิ่มอีกนิดในภาพรวม  บางคนถามว่า รู้ได้ยังไงว่า ตอนไหนมีความหมายพิเศษ และตอนไหนมีความหมายตามตัวอักษร  ขอตอบแบบยกตัวอย่างภาษาไทย เช่น คำว่า เข้าตา ส่วนใหญ่มีความหมายพิเศษ แต่ก็ใช้ความหมายตามตัวอักษรได้ เช่น ขี้ผงเข้าตา เราก็รู้ได้ไม่มีปัญหา จากสถานการณ์บ้าง รูปประโยคบ้าง ท่วงทำนองการพูดบ้าง บางทีพวกตลกก็เอามาเล่นเป็นมุขได้ เพราะมีความหมายได้สองแบบ  ในภาษาอังกฤษก็มีลักษณะเดียวกันเลย เช่น pull off ที่เพิ่งเล่าไปจะมีความหมายตามตัวว่าดึงให้หลุดออกมาก็ได้  หรือ ความหมายพิเศษว่าทำได้สำเร็จก็ได้   look up จะใช้ในความหมายตามตัวว่ามองขึ้นข้างบนก็ได้ หรือใช้ในความหมายพิเศษว่า เปิดหา ก็ได้

ภาษาอังกฤษก็มีวลีพวกนี้เรียกว่า มหาศาล ผมว่าน่าจะเป็นพัน  มาจากคำง่าย ๆ ที่เรารู้แล้วทั้งนั้น วลีหลายตัวเราก็คุ้นเคยอยู่แล้ว แต่ก็มีอีกมากที่เขานิยมใช้ แต่เราไม่คุ้นเคย  ตอนผมไปทำงานกับฝรั่งใหม่ ๆ ก็ต้องมาหัดใช้คำพวกนี้ตามเขา เพราะบางอย่างไม่มีคำศัพท์ที่ใช้แทนได้ หรือเขาไม่นิยมใช้กัน เช่น คำว่าส่งการบ้าน เราพูดว่าส่งการบ้านก็ไปแปลว่า send homework แต่จริง ๆ ไม่ใช่ คำว่า send ใช้เวลาส่งไปรษณีย์ หรืออีเมล ถ้าเราส่งวิธีนั้นก็ใช้ send ได้   แต่ถ้าเราส่งในห้องเรียน ต้องใช้ว่า hand in homework หรือ submit homework ก็ได้ (ไม่ระบุวิธีส่ง)

ลองดูความหลากหลายของกริยาพวกนี้ดู

  • กริยาวลีบางตัวก็มีความหมายพิเศษอย่างเดียว หรือไม่ค่อยนิยมแบบใช้ตามตัวอักษร เช่น take over แปลว่า เข้าครอบครอง
  • กริยาวลีบางตัวก็ไม่เชิงว่าเป็นความหมายพิเศษ เพราะใกล้เคียงกับความหมายตามตัวอักษร เช่น คำว่า come up  เราก็ควรรู้ว่านิยมใช้กับอะไร ตอนไหนบ้าง
  • กริยาวลีบางตัวก็ใช้แบบไม่มีกรรม เช่น get by   บางตัวใช้แบบมีกรรมเสมอ เช่น put on something บางตัวมีใช้แบบมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ เช่น come by
  • กริยาวลีที่มีกรรมบางตัว ถ้ากรรมเป็นสรรพนาม ก็ต้องใช้อยู่ตรงกลางระหว่างกริยากับบุพบท เช่น  put it on,

Go do something : ผิดไวยกรณ์หรือเปล่า?

ผมท่องจำไวยกรณ์สมัยเรียนมัธยมมาเยอะ ก็โชคดีที่ลืมบ้างแต่ส่วนใหญ่ก็พอจำได้ บางครั้งพอได้ยินคนพูดอะไรแปลก ๆ ผมก็อดนึกไม่ได้ว่ามันเป็นไวยกรณ์แบบไหน มีรูปประโยคหนึ่งที่เห็นคนเจ้าของภาษาเขาใช้บ่อยในภาษาพูด ซึ่งนึกไปแล้วมันก็ผิดไวยกรณ์ เช่น Let’s go do something fun today.  ก็แปลตรง ๆ ไม่มีพลิกแผลงอะไร ว่า วันนี้เราไปหาอะไรทำสนุก ๆ กันดีกว่า   มีคำกริยาเหมือนเป็นกริยาแท้ ใช้ติดกันดื้อ ๆ สองตัว ผมนึกแล้วก็ไม่เคยเรียนมาก่อนครับ

ถ้าคุณจำหลักไวยกรณ์ได้ ประโยคธรรมดา (ที่ไม่มีการเชื่อมประโยคย่อย ๆ) ต้องมีกริยาแท้ตัวเดียว ตัวอื่น ๆ เป็นตัวประกอบทั้งนั้น เช่น go shopping หรือ get to do something หรือ let him go.

ปฏิเสธซ้อนสอง

เวลาเราพูดแบบปฎิเสธสองอันในประโยคเดียวกัน (Double Negative) เช่น บอกว่า ฉันไม่ปฏิเสธ ก็หมายถึงฉันยอมรับ กลายเป็นความหมายบวกไป ในภาษาอังกฤษนี่ก็มีเยอะครับ เพราะคำที่มีความหมายปฎิเสธมันเยอะ เวลาเติม un-, in-, dis-, … ลงไปข้างหน้าคำคุณศัพท์บางคำก็กลายเป็นความหมายตรงกันข้าม เช่น ถ้าพูดว่า

  • I do not disagree. ก็หมายความว่า I agree.

That will be wonderful กับ That would be wonderful.

เราเรียนเรื่อง would ในโรงเรียนน้อยไปครับ เรียนว่าเป็นอดีตของ will ซึ่งก็ถูกต้องเวลาเล่าเรื่องในอดีต แต่ would ยังเอามาใช้กับปัจจุบัน และอนาคตได้ด้วย โดยเฉพาะในภาษาพูด เรื่องนี้ผมเคยเล่าไปนานมากแล้ว มาทบทวนใหม่สำหรับแฟนเพจใหม่หน่อย

ในทางทฤษฎี would ถือเป็นอนาคตแบบสมมติ เช่นพูดว่า If I were a millionaire, I would buy that house. ถ้าฉันเป็นมหาเศรษฐี ฉันจะซื้อบ้านหลังนั้น อันนี้เป็นการสมมติสิ่งที่เกินความจริง หรือเป็นความฝัน ควรใช้ would ไม่ควรใช้ will พอเอา would มาใช้กับการสมมติเหตุการณ์ที่ไม่แน่ไม่นอน ก็ใช้ได้ทั้งสองแบบ would อาจจะแสดงความไม่แน่ใจของผู้พูดมากกว่า will หน่อย เช่น if you drop it,

ของที่เป็นขิ้นเดียวแต่เป็นคำพหูพจน์

เรื่องการใช้คำพหูพจน์ หรือเอกพจน์เป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ก็ฝึกให้ชำนาญยากนะครับ เพราะไวยกรณ์ภาษาไทยไม่ค่อยหยุมหยิมเรื่องนี้ แต่ภาษาอังกฤษนั้นหยุยหยิมน่าดู ตอนนี้ลองมาดูของที่เห็นเป็นชิ้นเดียวแท้ ๆ แต่ฝรั่งเห้นเป็นพหูพจน์ ได้แก่

  • แว่นตา eye glasses หรือ glasses (-กล้าส-สึซ- หรือ -แกล้ส-สึซ-) เฉย ๆ ก็ได้ เวลานับก็ใช้คำว่า pair มาช่วย เช่น a pair of glasses หรือ two pair of glasses เวลาจะชมใครว่าใส่แว่นแล้วสวย ก็อาจใช้ได้ว่า Your glasses are beautiful.

ใช้ good เป็นคำขยายกริยาได้หรือ?

สมัยเด็ก ๆ ผมท่องไวยกรณ์ภาษาอังกฤษมาเยอะ พอได้มาใช้ภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา ก็เริ่มสังเกตว่า ในภาษาพูดเขาก็มีการใช้ที่ผิดไวยกรณ์อยู่เหมือนกัน พอคนใช้เยอะ ๆ เป็นที่นิยม จากผิดก็กลายเป็นไม่ผิดสิครับ คือ ผิดไวยกรณ์ แต่ไม่ได้ผิดภาษา

ตัวอย่างอันหนึ่งที่เห็นก็คือ คนอเมริกันก็มีการใช้ good เป็นคำขยายกริยา หรือ adverb ด้วย ทั้งที่ good เป็นคำคุณศัพท์ขยายนาม ส่วนคำขยายกริยา คือ well ตัวอย่างเช่น

  • How are you doing?
Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net