6. กริยาบอกความรู้สึก

บทที่แล้วเราได้รู้จักกับการใช้ กริยา ing กับกริยาช่องสาม ในรูปประโยคเพื่อบ่งบอกการกระทำ รือ ถูกกระทำของประธาน และหน้าที่ของมันก็เหมือนกับคำคุณศัพท์ ผมได้ชี้ให้เห็นไปแล้วว่า เราไม่สามารถแปลตรง ๆ เป็นไทยได้ตลอดเวลาว่า ถูกกระทำ เพราะ บางทีการใช้นั้นก็เริ่มแปลงออกไปเป็นคำคุณศัพท์บอกอาการ  เราต้องเข้าใจ และคุ้นเคยกับความหมายของคำนั้น

บทนี้ก็มาดูกลุ่มคำกริยากลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ คือ พวกกริยาบอกความรู้สึก กริยาพวกนี้มีใช้บ่อย และรูปประโยคกริยา ing กับ กริยาช่องสามของมันให้ความหมายที่ต้องทำความเข้าใจ

 

สามรูปแบบของกริยาบอกความรู้สึก

ขอยกตัวอย่างคำว่า interest นะครับ เป็นคำนามแปลว่า ดอกเบี้่ย หรือ ความสนใจก็ได้  ในที่นี้เราจะพูดถึงตอนเป็นคำกริยา ซึ่งแปลว่า ทำให้สนใจ  มีรูปแบบการใช้สามแบบ คือ

  1. This interests me.  ตรงไปตรงมานะครับ ประธาน+กริยา+กรรม  มีความหมายว่า อันนี้ทำให้ฉันสนใจ
  2. This is interesting (to me).   แปลว่า อันนี้น่าสนใจ  เหมือนเป็นรูปประโยคกำลังทำ แต่จริง ๆ ไม่ใช่ เป็นการใช้ interesting เป็นคำคุณศัพท์  This is interesting to me  แปลว่า อันนี้น่าสนใจ คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกับ This is interesting me.  ซึ่งเป็นรูปกำลังทำ (continuous) ของแบบที่หนึ่ง แปลว่า อันนี้กำลังทำให้ฉันสนใจ
  3. I am interested.  แปลว่า ฉัน(รู้สึก)สนใจ  เช่นเดียวกัน ใช้ interested เป็นคำคุณศัพท์ แต่ถ้าจะคิดว่า interest แปลว่าทำให้สนใจ to be interested ก็คือ ถูกทำให้สนใจ ก็ได้ ซึ่งพูดสั้น ๆ ก็คือ รู้สึกสนใจนั่นเอง เพราะฉะนั้น ข้อ 1. กับ ข้อ 3. นี้สอดคล้องกัน  ถ้าจะใส่กรรมเข้าไปก็เป็น  I am interested in this. หรือI am interested by this. ก็พอได้

การใช้ทั้งสามแบบก็มีความหมายเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะเน้นอะไร แบบที่หนึ่งก็เน้นอาการสนใจ แบบที่สองก็เน้นสิ่งที่ทำให้สนใจ  แบบที่สามก็เน้นที่บุคคล

สังเกต คำบุพบท in ในแบบที่สามนี้แล้วแต่คำกริยา แต่ละคำมีบุพบทที่นิยมไม่เหมือนกัน อันนี้ก็แสบหน่อย เราต้องจำ หรือใช้ให้คุ้นเคยว่ากริยาอะไร ชอบใช้กับบุพบทอะไร ถ้าไม่รู้ส่วนใหญ่ก็สามารถใช้ by แทนได้

 

กริยาบอกความรู้สึกที่พบบ่อย

นอกจาก interest ก็ยังมีอีกหลายคำที่พบบ่อย คำเหล่านี้มีวิธีใช้สามแบบเหมือน interest แต่อาจใช้บุพบทไม่เหมือนกัน ได้แก่

  • surprise  ทำให้ประหลาดใจ
    surprising  น่าประหลาดใจ  ข้อยกเว้น surprise เฉย ๆ ก็เป็นคุณศัพท์แปลว่า ที่ทำให้ประหลาดใจ ได้ เช่น surprise party
    surprised  รู้สึกประหลาดใจ
  • amaze  ทำให้ประหลาดใจ
    amazing  น่าประหลาดใจ
    amazed  รู้สึกประหลาดใจ
  • shock  ทำให้ประหลาดใจมาก + ตกใจมาก
    shocking  น่าประหลาดใจมาก + ตกใจมาก
    shocked  รู้สึกประหลาดใจมาก + ตกใจมาก
  • intrigue   ทำให้สนใจมาก
    intriguing  น่าสนใจมาก
    intrigued  รู้สึกสนใจมาก
  • excite ทำให้ตื่นเต้น
    exciting  น่าตื่นเต้น
    excited รู้สึกตื่นเต้น
  • thrill ทำให้ตื่นเต้น
    thrilling  น่าตื่นเต้น
    thrilled รู้สึกตื่นเต้น
  • worry ทำให้เป็นห่วง
    worrying  น่าเป็นห่วง
    worried รู้สึกเป็นห่วง
  • attract ทำให้ชอบ พิศวาส
    attracting  น่ารัก น่าพิศวาส  ความหมายเหมือน attractive
    attracted รู้สึกชอบ พิศวาส
  • entertain ทำให้สนุก บันเทิง
    entertaining  น่าสนุก บันเทิง
    entertained รู้สึกสนุก บันเทิง
  • embarrass  ทำให้อับอาย
    embarrassing  น่าอับอาย
    embarrassed รู้สึกอับอาย
  • humiliate  ทำให้เสียหน้า อับอาย
    humiliating  น่าเสียหน้า น่าอับอาย
    humiliated  รู้สึกเสียหน้า อับอาย
  • relax  ทำให้ผ่อนคลาย
    relaxing  น่าผ่อนคลาย
    relaxed  รู้สึกผ่อนคลาย
  • tire ทำให้เหนื่อย หรือ ทำให้เบื่อหน่อย
    tiring  น่าเหนื่อย หรือ ทำให้เบื่อหน่อย
    tired  รู้สึกเหนื่อย หรือ ทำให้เบื่อหน่อย
  • exhaust ทำให้เหนื่อยมาก
    exhausting  น่าเหนื่อยมาก
    exhausted  รู้สึกเหนื่อยมาก
  • satisfy  ทำให้พอใจ
    satisfying  น่าพอใจ
    satisfied  รู้สึกพอใจ
  • please  ทำให้พอใจ ดีใจ
    pleasing  น่าพอใจ ดีใจ
    pleased  รู้สึกพอใจ ดีใจ
  • frustrate ทำให้หงุดหงิด
    frustrating น่าหงุดหงิด
    frustrated รู้สึกหงุดหงิด
  • upset ทำให้โมโห
    upseting  น่าโมโห
    upset  รู้สึกโมโห   กริยาช่องสอง และสามมีรูปเหมือนกัน

ลองดูตัวอย่างนะครับ ผมจะใช้ผสมกับรูปประโยคที่เราได้ศึกษามาในบทที่ 1 – 4  พยายามจับตัว verb to be ที่แปลงรูปเป็นกาลเวลาต่าง ๆ นะครับ

  • I am pleased to meet you.  ฉันรู้สึกดีใจที่ได้พบคุณ
  • I am worried about this problem.  ฉันรู้สึกเป็นห่วงกับปัญหานี้
  • This has been very exciting.  (ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้)อันนี้มันน่าตื่นเต้นมาก
  • I am surprised that you have not been interested yet.  ฉันประหลาดใจว่า คุณยังไม่รู้สึกสนใจเลย
  • You will/would have been exhausted by then.  ถึงตอนนั้น คุณก็จะเหนื่อยมาก
  • That was very embarrassing.   เรื่องนั้นมันน่าอับอายมาก  (ในอดีต)
  • You are humiliating me.   คุณกำลังทำให้ฉันเสียหน้ามาก
  • You will be entertained by this movie.  คุณจะสนุกมากกับหนังเรื่องนี้
  • The result is pretty satisfying to me.   ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจสำหรับฉัน
  • I am satisfied with the result.  ฉันพอใจกับผลที่ได้นี้
  • This will relax your muscle.  อันนี้จะผ่อนคลายกล้ามเนื้อคุณ
  • You muscle should have been relaxed by now.  ถึงตอนนี้กล้ามเนื้อคุณน่าจะผ่อนคลายแล้วนะ
  • These flowers should attract butterflies  ดอกไม้เหล่านี้น่าจะดึงดูดผีเสื้อ
  • Butterflies are attracted to these flowers.   ผีเสื้อชอบมาหาดอกไม้เหล่านี้
  • I feel frustrated by his behavior.  ฉันรู้สึกหงุดหงิดกับพฤติกรรมของเขา
  • This is enough.  I am tired already.  แค่นี้พอแล้ว ฉันเหนื่อยแล้ว

 

ใช้เป็นคำคุณศัพท์เลยก็ได้

บทที่แล้ว เราได้เห็นแล้วว่ากริยาเติม ing กับ กริยาช่องสาม สามารถเอามาใช้เป็นคำคุณศัพท์ขยายนามได้ ซึ่งก็ให้ความหมายว่านามนั้น ๆ เป็นผู้ทำ หรือถูกกระทำ สำหรับกริยาบอกความรู้สึกก็เช่นเดียวกัน เมื่อเอามาขยายนามก็บ่งบอกว่า นามนั้น ๆ มีความรู้สึกเป็นอย่างไร เช่น

  • This is an interesting book.  อันนี้เป็นหนังสือที่น่าสนใจ
  • We will notify all Interested parties.   เราจะแจ้งให้ทุกฝ่ายที่มีความสนใจให้ทราบ
  • Exhausted runners should take a rest first.  นักวิ่งที่หมดแรกควรจะหยุดพักก่อน
  • This has been an exhausting race.   อันนี้เป็นการแข่งขันที่น่าเหน็ดเหนื่อยมาก
  • Your reputation can be damaged by just an embarrassing act.  ชื่อเสียงของคุณอาจถูกทำลายได้เพียงเพราะกระทำที่น่าอับอายแค่ครั้งเดียว

» ไปบทถัดไป 7. วลีที่มาจากกริยา    » กลับไปที่ สารบัญ

Updated: 8 กุมภาพันธ์ 2017

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

20 − four =

Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net