ผมได้ยกตัวอย่างไปประโยคคำถาม และปฏิเสธไปบ้างแล้วในบทก่อน ๆ แต่ไม่ได้อธิบายอะไร ก็ตั้งใจเพื่อให้คนที่ใช้พอเป็นแล้ว ก็ใช้กันไปโดยไม่ต้องไปคิดเรื่องกฎจนเกินไป การทำประโยคคำถาม และปฏิเสธนั้น เท่าที่เห็นมา เราไม่ค่อยมีปัญหามากนัก ถึงแม้โครงสร้างประโยคจะไม่ค่อยเหมือนภาษาไทยก็ตาม บทนี้ก็มาสรุป รูปประโยคกันหน่อยก่อนที่จะไปต่อในเรื่องอื่น สำหรับคนที่อาจจะไม่คุ้นเคย
ประโยคปฏิเสธ
ถ้าเราจับกริยาแท้ของประโยคได้ ก็ทำเป็นประโยคปฏิเสธก็ไม่มีอะไรยาก มีแค่สองกฎง่าย ๆ
- สำหรับ Present Simple กับ Past Simple ที่ไม่ใช่ verb to be ให้ใช้ do/does/did + not + v1 เช่น
- He does not like this. เขาไม่ชอบอันนี้
- They did not come here. พวกเขาไม่ได้มาที่นี่
- Do not go there. จำได้ไหมครับ ประโยคคำสั่ง หรือแนะนำ ไม่มีประธาน
- You do not have to go there. คุณไม่ต้องไปที่นั้นก็ได้
- สำหรับรูปอื่น ๆ จะมีกริยาช่วยอยู่ด้วย ก็ให้ใช้ not หลังกริยาช่วย เช่น
- He is not doing it right. เขากำลังทำไม่ถูก
- They have not been doing this. เขาไม่ได้ทำอันนี้มา
- He had not lived here before. เขาไม่เคยอยู่ที่นี่มาก่อนหน้านั้น
- The bus will not come back. รถตู้จะไม่กลับมาแล้ว
- The bus will not be coming back. เหมือนกับประโยคข้างต้น แต่เน้นการกระทำ
- This could not have been better. เรื่องนี้นี้ไปได้ดีมาก ๆ ไม่มีดีกว่านี้แล้ว
- You are not going to believe this. อันนี้เป็นภาษาพูดสำหรับดึงความสนใจผู้ฟัง เหมือนเราพูดว่า รับรองคุณไม่เชื่อเรื่องนี้แน่เลย หรือ รู้อะไรไหม เหลือเชื่อมากเลย
- You should not be doing this. คุณไม่ควรจะทำอันนี้ (เน้นว่าเขาทำอยู่)
ที่น่าสังเกต คือ verb to be ไม่ว่าจะเป็นกริยาช่วย หรือ กริยาแท้ (แปลว่า เป็น อยู่ คือ) ก็ให้เติม not ข้างหลังเหมือนกัน เช่น
- He was not here. เขาไม่ได้อยู่ที่นี่ (ในอดีต)
- He was not doing that. เขาไม่ได้ทำอันนั้นอยู่ (ในอดีต)
แต่ verb to have ถ้าเป็นกริยาช่วยให้เติม not ข้างหลัง แต่ถ้าเป็นกริยาแท้ในรูป Present/Past Simple (แปลว่า มี ต้อง ฯลฯ) ให้ใช้ do/does/did + not นำ เช่น
- He does not have a car. เขาไม่มีรถ
- He has not had a car. เขาไม่เคยมีรถ
ผมเคยอ่านว่า คนอังกฤษใช้ He has not a car. คือ เติม not หลังคำว่ามี อันนี้ผมคิดว่าเป็นอังกฤษแบบเก่าครับ ปัจจุบันก็มีคนใช้น้อยลง แม้แต่คนอังกฤษเองก็ตาม เพราะฉะนั้น ใครจะใช้แบบนั้น ก็ใช้ได้ครับ ไม่ถือว่าผิด แต่ถ้าจะเอาแบบสากลหน่อย ก็ใช้ verb to do ช่วยดีกว่า
อีกแบบที่ใช้ได้ คือ He has no cars. มีความหมายเดียวกับ He does not have any cars. อันนี้สำหรับนามนับได้ จะใช้ a car หรือ any cars ก็ได้ เป็นการเน้นที่ต่างกันนิดหน่อยแล้วแต่สถานการณ์
ประโยคบอกเล่าเน้นกริยา
พิเศษหน่อยสำหรับ ประโยค Present/Past Simple เราสามารถเน้นกริยาได้ โดยใช้ do/does/did เหมือนประโยคปฏิเสธแต่ไม่ใส่ not เช่น
- He does have a car. ความหมายเดียวกับ He has a car. แต่เน้นอาการมี
- They did go there. ความหมายเดียวกับ They went there. แต่เน้นการไป
บางคนถามว่า เน้นไปทำไม ในกรณีที่ผู้ฟัง(หรืออ่าน)กำลังสงสัย หรือมีอาจจะมีความคิดไปอีกทาง เราก็เอามาเน้นได้ เหมือนคนไทยเราพูดว่า “มี เขามีรถนะ” แทนที่จะพูดแค่ว่า “เขามีรถ” เฉย ๆ เรื่องการเน้นคำนี้ ในภาษาพูดมีเกี่ยวข้องกับการเน้นเสียงในประโยค คำ do/does/did ที่เติมเข้ามานี้ก็สามารถใช้เป็นจุดให้ผู้พูดเน้นเสียงได้ สำหรับประโยคแบบอื่น ๆ ที่มีกริยาช่วย ผู้พูดสามารถเน้นที่ตัวกริยาช่วยได้อยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น
- He does have a car. เน้นเสียงที่ does เพื่อเน้นว่า มี เขามีรถนะ
- He has gone home. เน้นเสียงที่ has ซึ่งเป็นกริยาช่วย เพื่อเน้นว่า ไปแล้ว เขาไปแล้วนะ ห้ามใช้ว่า He does have gone home.
ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องการเน้นเสียงในประโยคได้ในบทที่ 18 ของหนังสือ พูดภาษาอังกฤษสำเนียงไทยให้ถูกต้อง
ประโยคคำถาม
ก็ในหลักเดียวกันกับประโยคปฏิเสธนะครับ
- สำหรับ Present Simple กับ Past Simple ที่ไม่ใช่ verb to be ให้ใช้ do/does/did เป็นกริยาช่วยเข้ามานำหน้า เช่น
- Does he like this? เขาชอบอันนี้ไหม
- Did they come here? พวกเขามาที่นี่หรือเปล่า (ในอดีต)
- Does she have to do this? เขาต้องทำอันนี้หรือ
- Why does she have to do this?. ทำไมเขาต้องทำอันนี้
- What did you want? คุณต้องการอะไร
- How does the earth move around the sun?
- สำหรับรูปอื่น ๆ ก็เอากริยาช่วยที่มีอยู่นำหน้าเลย เช่น
- Is he doing it right? เขากำลังทำไม่ถูกหรือ
- Have they been doing this? เขาไม่ได้ทำอันนี้มาอยู่หรือ
- Had he lived here before. เขาเคยอยู่ที่นี่มาก่อนหน้าหรือเปล่า
- Could this have been better? อันนี้จะไปได้ดีกว่านี้ได้ไหม
- Was he here? เขาอยู่ที่นี่หรือ กริยาแท้ verb to be ก็เอาขึ้นหน้าได้เลย
- Why was he here? ทำไมเขาอยู่ที่นี่ (ในอดีต)
- How should I do this? ฉันควรทำอันนี้อย่างไร
- What could this be? อันนี้เป็นอะไรได้บ้าง
ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย คำบอกลักษณะของคำถาม อาจจะทำตัวเป็นประธานซะเองก็ได้ ลักษณะนี้ก็ไม่มีการใส่กริยาช่วยนำหน้าประธานในประโยคเหมือนตัวอย่างข้างต้น เช่น
- Which car has leather seats? รถคันไหนมีเบาะหนัง Which car เป็นประธานซะเอง
- What is happening? เกิดอะไรขึ้นอยู่ หรือแปลตามตัวก็ อะไรกำลังเกิดขึ้นอยู่ เช่นเดียวกัน What เป็นประธาน
ประโยคคำถามแบบปฏิเสธ
สำหรับประโยคคำถามแบบปฎิเสธ เช่น ถามว่า ทำไมคุณถึงไม่มา ก็ใช้แบบประโยคคำถามปกติข้างต้น แต่สามารถใส่ not ได้สองที่ คือ
- ใส่หลังประธาน เช่น
- Does he not like you? เขาไม่ชอบคุณหรือ
- Why do you not like him? ทำไมคุณไม่ชอบเขา
- Why is he not coming? ทำไมเขาไม่มา
- ใส่คู่กับกริยาช่วย แต่ต้องทำเป็นแบบลดรูป เช่น does not ก็กลายเป็น doesn’t เช่น
- Doesn’t he like you? เขาชอบคุณไม่ใช่หรือ
- Why don’t you like him? ทำไมคุณไม่ชอบเขา
- Why isn’t he coming? ทำไมเขาไม่มา
ตัวอย่างข้างต้นความหมายค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่บางทีความหมายก็ไม่เหมือนกันเลย เช่น ในประโยคขอร้อง
- Can you not do this? คุณไม่ทำอันนี้ได้ไหม คนพูดขอให้อย่าทำ
- Can’t you do this? คุณทำอันนี้ไม่ได้หรือ คนพูดอยากให้ทำ หรือสงสังว่าทำไมทำไม่ได้ ความหมายคล้ายกับ Can you do this? แต่เพิ่มความอยาก หรือความฉงนใจลงไป
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง:
» ไปบทถัดไป 11. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่ตัวประกอบ » กลับไปที่ สารบัญ