11. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่ตัวประกอบ

ในประโยคหนึ่ง ๆ นั้น สามารถมีประโยคย่อย (clause) เป็นส่วนประกอบรวมอยู่ด้วย ส่วนประกอบที่ว่านี้ ก็คือ สิ่งที่ผมได้พูดมาแล้วในบทที่ 9 คือ อาจะเป็นส่วนนาม หรือ ส่วนขยายนาม หรือ ส่วนขยายกริยาก็ได้  ส่วนประกอบเหล่านี้ ก็มาทำหน้าที่ในประโยคกลายเป็น ประธานบ้าง กรรมบ้าง คำขยายบ้าง กรรมของส่วนขยายบ้าง ฯลฯ  บทที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่าส่วนประกอนี้เป็นคำโดด ๆ ก็ได้ เป็นวลีก็ได้  บทนี้ เราก็มาขยายความเพิ่มเติมว่า มันเป็นประโยคย่อยก็ได้ด้วย

 

ประโยคย่อย vs วลี

ลองมาเปรียบเทียบระหว่างวลีที่ขยายนาม กับประโยคย่อยที่ขยายนาม เช่น

  • The person coming here is my brother.  จำได้ใช่ไหมครับ coming here เป็นวลีขยาย The person
  • The person who is coming here is my brother.   คราวนี้ who is coming here เป็นประโยคย่อย ขยาย The person ความหมายไม่ต่างจากประโยคข้างบนนัก

สิ่งที่พิเศษสำหรับประโยคย่อยในที่นี้ ก็คือ มีตัว who ทำหน้าที่เป็นคำสรรพนามแทน The person เป็นประธานของประโยคย่อย จะมองว่าเป็นตัวทำหน้าที่เชื่อมประโยคย่อยเข้ากับประโยคหลักก็ได้ เหมือนภาษาไทยเราในที่นี้ก็แปลว่า “ที่”  ในประโยคย่อยก็จะมีกริยาแท้ที่ต้องแปลรูปตามประธาน และกาลเวลา  สมมติเราจะพูดอธิบายเพิ่มเติมโดยเปลี่ยนกาลเวลาของประโยคย่อยนั้น ก็ทำได้ตามต้องการ เช่น

  • The person who often comes here is my brother.   คนที่มาบ่อย ๆ 
  • The person who came here yesterday is my brother.   คนที่มาเมื่อวานนี้   จะใช้ was my brother ก็ได้นะครับ บางทีคนก็ชอบใช้ เพราะเขารู้สึกว่าเป็นเรื่องในอดีต แต่ใช้ is ก็ได้ เพราะถือว่า คน ๆ นี้ยังเป็นพี่น้องเราอยู่ ไม่ได้ตาย หริือ ยังไม่ได้เลิกคบกัน
  • The person who will come here tomorrow is my brother.   คนที่จะมาพรุ่งนี้
  • The person who will be coming here tomorrow is my brother.   คนที่จะมาพรุ่งนี้
  • The person who might be coming here is my brother.   คนที่อาจจะกำลังมา

จะประยุกต์กับรูปประโยคอะไรก็ได้ที่ได้กล่าวมาในบทที่ 1 – 5   เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า การใช้ประโยคย่อยเป็นคำขยาย ทำให้เราสามารถสื่อความหมายให้มันละเอียดมากขึ้น ชัดเจนมากขึ้นได้  เมื่อเทียบกับการใช้วลี

ถ้าลองมองให้มันลีกซึ้งลงไปอีก เราเห็นได้ว่า ประโยคข้างต้นมันเป็นสองประโยคซ้อนกับอยู่ ถ้าจับแยกกันก็กลายเป็น The person will come here tomorrow.  +  The person is my brother.  เห็นได้ว่ามีกริยาแท้ในทั้งสองประโยค  ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปกาลเวลาเดียวกันเสมอไปนะครับ  แล้วแต่ความหมายที่จะสื่อ  เช่น เราอาจจะบอกว่า

  • The person who will come here tomorrow will be my bride.   คนที่จะมาที่นี่พรุ่งนี้จะเป็นเจ้าสาวของฉัน    ในที่นี้ก็เหมาสมที่จะใช้แบบอนาคตทั้งคู่ เพราะงานแต่งงานเป็นเรื่องอนาคต

นอกจากนี้ ก็ไม่มีกฎตายตัวว่าประโยคไหนต้องเป็นประโยคประกอบ (ขอเรียนประโยคย่อยว่าประโยคประกอบแทน) ประโยคไหนเป็นประโยคหลัก ลองเปรียบเทียบสองประโยคนี้ดู ซึ่งเอาสองประโยคย่อยข้างต้นมาผสมคนละแบบกัน คุณจะเห็นได้ว่า ประโยคประโยคประกอบในที่นี้ กลับมีความหมายที่เด่นกว่าประโยคหลัก

  • The person who will come here tomorrow is my brother.  เราใช้แบบนี้ ก็เมื่อรู้สึกว่าคนฟังสนใจว่าใครคือน้องชายของคนพูด  (หรือ ตอบคำถามว่า Who is your brother?)
  • The person who is my brother will come here tomorrow.   เราใช้แบบนี้ ก็เมื่อรู้สึกว่าคนฟังสนใจว่าใครจะมาพรุ่งนี้  (หรือ ตอบคำถามว่า Who will come here tomorrow?)

 

ประโยคย่อยขยายนาม

ตัวอย่างที่แล้วเป็นการขยายนามที่เป็นบุคคล เราใช้ who เป็นตัวแทน  ถ้าเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่คนก็ใช้ that หรือ where หรือ why ได้ เช่น

  • The dog that bit him died yesterday.  หมาที่กัดเขาตายแล้วเมื่อวานนี้
  • He is looking for someone who can do this work.  เขากำลังมองหาคนที่สามารถทำงานนี้ได้
  • I want to go to the beach that you told me about.   ฉันอยากไปชายหาดที่เธอเคยพูดถึง
  • This is the place where I grew up.  ที่นี่เป็นที่ที่ฉันโตมา (สมัยเด็ก)
  • That was the reason why I wrote this.   นั่นคือเหตุผลที่ฉันได้เขียนเรื่องนี้  จะใช้ that ก็ได้ แต่นิยมใช้ why มากกว่า

that ค่อนข้างจะเป็นคำกลาง ๆ ที่สุด ถ้าเราไม่รู้จะใช้อะไร ก็ใช้ that แทนได้

สำหรับเวลาที่คำขยายนั้นเป็นกรรมของประโยคประกอบ เรายังสามารถใช้แบบย่อ โดยไม่ใส่คำสรรพนามเชื่อมก็ได้ด้วย เช่น

  • I want to go to the beach that you told me about.  ก็ย่อได้เป็น  I want to go to the beach you told me about.
  • The is the place where I grew up.  ก็ย่อได้เป็น  This is the place I grew up.
  • That was the reason why I wrote this.  ก็ย่อได้เป็น That was the reason I wrote this.
  • That is the man whom I want to meet.  เวลา who เป็นกรรมของประโยคย่อย จะใช้ who  หรือ whom ก็ได้   ประโยคนี้ก็ย่อได้เป็น  That is the man I want to meet.

คำสรรพนามอีกคำหนึ่งที่เห็นบ่อยก็คือ which วิธีใช้ก็เหมือนกับ that  ภาษาไทยก็แปลเหมือนกันว่า “ที่”  แต่ในภาษาอังกฤษนั้น that กับ which ความหมายไม่เหมือนกันทีเดียว  บางทีพอใช้แทนกันได้ บางทีก็ไม่ได้  ผมคิดเอาง่าย ๆ ว่า that ใช้ขยายเพื่อชี้เฉพาะ แต่ which ใช้ขยายเพื้อให้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น

  • The dog that bit him die yesterday.  ชี้เฉพาะว่า เป็นหมาตัวนั้นที่กัดเขา ไม่ใช่หมาตัวอื่น ควรใช้ that
  • He gave me his car which he loved so much. อันนี้ควรใช้ which เพราะชี้ชัดอยู่แล้วโดยไม่ต้องมีประโยคขยายว่าเป็นรถของเขา ไม่ใช่รถคันอื่น  which he loved so much  ก็มาให้ข้อมูลเพ่ิมแต่นั้นเองว่า เขารักรถคันนี้มากนะ
  • I want a car that can run 200 kilometers per hour.  อันนี้จะใช้ that หรือ which ก็ได้ ก็คิดได้สองแบบ เป็นการชี้เฉพาะก็ได้ หรือให้ข้อมูลเพืิ่มเติมก็ได้
  • That house, which was sold last year, belonged to him.   บ้านหลังนั้นที่ถูกขายเมื่อปีก่อนเป็นของเขา  อันนี้ควรใช้ which  เพราะชี้เฉพาะอยู่แล้วว่า บ้านหลังนั้น

สังเกตว่า บางทีเขาก็นิยมใช้เครื่องหมายคอมม่าแยกประโยคประกอบที่ขึ้นด้วย which ออกมา ก็เพราะว่ามีใจความที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับประโยคหลัก แต่เป็นการให้ข้อมูลเพ่ิมเติม เป็นลูกเล่น หรือศิลปของผู้พูด หรือเขียน จะประยุกต์ใช้กับประโยคประกอบที่ขึ้นต้นด้วยคำอื่นก็ได้ เช่น

  • Michael Faraday, who discovered electromagnetic induction, was born in a poor family.  ในที่นี้ประโยคประกอบ ก็เป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ได้เข้ามาเป็นการชี้เฉพาะว่าพูดถึงใครอยู่ ดังนั้น เราก็ใช้คอมม่าเพื่อแยกประโยคออกมาได้

 

ประโยคย่อยที่เป็นนาม

เราเห็นประโยคย่อยที่ทำหน้าที่ขยายนามแล้ว คราวนี้มาดูว่ามีแบบทำหน้าที่เป็นนามเองเลยก็ได้ด้วย เช่นเดียวกันจะมีคำสรรพนามเชื่อมนำหน้าประโยคย่อยที่อาจเป็นประธาน หรือกรรมของประโยคนั้นก็ได้ เช่น

  • Who you are is not as important as what you do.  เขากำลังมองหาคนที่สามารถทำงานนี้ไคัญว่าคุณทำอะไร  ในที่นี้ who you are ก็ถือเป็นประโยคประกอบที่เป็นนาม และเป็นประธานของประโยคหลัก   what you do ก็เป็นประโยคประกอบที่เป็นกรรมของบุพบท as
  • Can you tell me why you like this?   บอกหน่อยได้ไหมว่าชอบอันนี้เพราะอะไร   ในที่นี้รูปแบบประโยคเป็นประโยคถามใช่ หรือไม่ใช่  เหมือนกับ Can you tell me something?  แต่ความหมายที่สื่อกลายเป็นคำถามว่า ทำไมคุณถึงชอบอันนี้   ประโยคประกอบ why you like this  ก็เป็นกรรมของประโยคหลักนะครับ ไม่ใช่ตัวคำถาม  เพราะฉะนั้นเราไม่ใช้ why do you like this ในที่นี้ (ซึ่งคนไทยเรามักใช้ผิด)
  • I like what you have been doing.   ฉันชอบสิ่งที่คุณได้ทำมา
  • I like (หรือ liked) that you finished this quickly.   ฉันชอบที่คุณทำอันนี้เสร็จเร็ว
  • I think (that) you are smart.   ฉันว่าคุณฉลาดนะ   ในที่นี้ that ละได้  สำหรับประโยคย่อยที่เป็นนาม คิดว่ามีเฉพาะ that เท่านั้นที่ละได้ในบางที่ และไม่เกี่ยวกับว่าเป็นกรรมของประโยคหรือไม่
  • Which person is right is debatable.   คนไหนเป็นคนถูกก็แล้วแต่คนจะคิด  (debatable สามารถถกเถียงกันได้ ก็คือ แล้วแต่ใครจะคิดว่าอย่างไร)
  • That he is coming is not true.    ที่ว่าเขากำลังมานั้นไม่เป็นความจริง

ลองมองหาตัวอย่างเพิ่มเติมในสื่อต่าง ๆ นะครับ คุณจะเห็นประโยคประกอบสอดแทรกอยู่ตลอดเวลา เรื่องนี้ถึงแม้รูปประโยคไม่ตรงกับไทยนัก แต่คิดว่าการหัดให้คุ้นเคยเป็นเรื่องไม่ยาก  เรื่องของประโยคย่อยยังไม่จบ บทหน้ามาดูกันต่อ

» ไปบทถัดไป 12. ประโยคย่อยที่เชื่อมต่อกัน    » กลับไปที่ สารบัญ

Updated: 24 มกราคม 2017

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

four × two =

Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net