ผมท่องจำไวยกรณ์สมัยเรียนมัธยมมาเยอะ ก็โชคดีที่ลืมบ้างแต่ส่วนใหญ่ก็พอจำได้ บางครั้งพอได้ยินคนพูดอะไรแปลก ๆ ผมก็อดนึกไม่ได้ว่ามันเป็นไวยกรณ์แบบไหน มีรูปประโยคหนึ่งที่เห็นคนเจ้าของภาษาเขาใช้บ่อยในภาษาพูด ซึ่งนึกไปแล้วมันก็ผิดไวยกรณ์ เช่น Let’s go do something fun today. ก็แปลตรง ๆ ไม่มีพลิกแผลงอะไร ว่า วันนี้เราไปหาอะไรทำสนุก ๆ กันดีกว่า มีคำกริยาเหมือนเป็นกริยาแท้ ใช้ติดกันดื้อ ๆ สองตัว ผมนึกแล้วก็ไม่เคยเรียนมาก่อนครับ
ถ้าคุณจำหลักไวยกรณ์ได้ ประโยคธรรมดา (ที่ไม่มีการเชื่อมประโยคย่อย ๆ) ต้องมีกริยาแท้ตัวเดียว ตัวอื่น ๆ เป็นตัวประกอบทั้งนั้น เช่น go shopping หรือ get to do something หรือ let him go. กริยาตัวแรกนั้นเป็นกริยาแท้ ที่ตามมาเป็นตัวประกอบ กริยาแท้เป็นตัวที่เปลี่ยนไปตาม tense ได้ ตัวอื่นเป็นรูปคงที่ มันก็มีหลายรูปแบบ แต่ไม่มีแบบที่ตามกันดื้น ๆ go do something อย่างนี้
ตามที่ผมเข้าใจ คิดว่ามันเป็นภาษาพูดที่แปลงมาจากประโยคว่า Let’s go and do something fun today. ประโยคนี้ คำ and ไม่เน้น พอพูดเร็วหน่อย บางทีก็ไม่ค่อยได้ยิน พอไม่ค่อยได้ยิน บางทีคนก็ตั้งใจไม่พูดเอาซะเลย ลองฟังผมจะพูดให้ดูสองแบบ
ก็มีอีกเยอะนะครับ แต่ก็เฉพาะกับกริยาไม่กี่ตัว ได้แก่ go, come และ help เป็นต้น ลองดูตัวอย่างเพิ่ม
- I want to come (and) help. ฉันอยากจะมาช่วย
- Come (and) look at this. มาดูตรงนี้สิ
- Why don’t you go (and) clean your room? ทำไม่เธอไม่ไปทำความสะอาดห้องซะ
อีกอันที่คล้าย ๆ กัน คือ help do something ผมว่าน่าจะย่อมาจาก help to do something
- Can you help (to) get this done today? คุณช่วยทำให้เสร็จวันนี้ได้ไหม
- The rain helps (to) keep our plants alive. ฝนช่วยให้ต้นไม้เรายังรอดอยู่ได้
และการแปลงนี้ บางทีก็แปลงจนเหมือนกับว่ากริยาคำแรกเป็นกริยาแท้ แล้วตามด้วยกริยาช่วยช่องที่หนึ่งไป เช่น ถ้าใช้เป็นอดีต ก็ให้ใช้รูปอดีตเฉพาะกริยาคำแรก พบเห็นมากกับคำว่า help เช่น
- He helped clean my room yesterday. เขามาช่วยทำความสะอาดห้องฉันเมื่อวานนี้
- He helps clean my room. เขาช่วยทำความสะอาดห้องฉัน
พบเห็นทั้งในภาษาพูด และเขียน จะถูกผิดไวยกรณ์ดั่งเดิมอย่างไรผมไม่ทราบ แต่เมื่อคนใช้กันทั่วไป ก็ต้องถือว่าถูกต้องโดยปริยาย