On fire vs Under fire

มาดูสำนวนเกี่ยวกับไฟมั่ง สำนวนว่า on fire ถ้าแปลตามตัวอักษรก็คือ กำลังไฟใหม้อยู่ เช่น That building is on fire. ตีกหลังนั้นกำลังไฟใหม้อยู่

ทีนี้เวลามาใช้กับคน He is on fire. ก็จะแปลว่า ไฟกำลังไหม้เขาอยู่ก็ได้ ถ้าไฟกำลังไหม้เขาอยู่จริง ๆ แต่สถานการณ์อย่างนี้ไม่ค่อยจะมี ส่วนใหญ่จะใช้ในความหมายแสลง คือ แปลว่า เขากำลังมือขึ้น หรือกำลังเฮง คือ ทำอะไรสำเร็จติตต่อกันหลาย ๆ ครั้ง เช่น นักกีฬาบาสเกตบอลยิงลูกลงติดต่อกันหลายลูก นักกีฬา หรือ นักเล่นพนันที่ชนะติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง หรือ นายหน้าขายของที่ขายได้ติดต่อกัน เป็นต้น เราก็สามารถเรียกว่า นายคนนี้ หรือ ทีมนี้กำลัง on fire

อีกคำที่คล้ายกับ on fire คือ hot แต่ hot เป็นแสลงที่มีความหมายได้หลายอย่างกว่า แล้วแต่สถานการณ์ นอกจากหมายความว่า กำลังมือขึ้นแล้ว จะหมายความว่า กำลังเป็นที่นิยมก็ได้ (เช่น หนัง หรือนักร้อง) หรือ หมายความว่า มีเสน่ห์ทางเพศ หรือยั่วยวนก็ได้ (เวลาผู้ชายใช้เรียกผู้หญิง หรือผู้หญิงใช้เรียกผู้ชาย) เพราะฉะนั้นควรระวังอย่าใช้ในกรณีที่อาจมีความหมายสองแง่ได้

สำหรับสำนวนว่า under fire คำว่า fire ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไฟ แต่หมายถึงอาวุธปืน under fire ความหมายตามตัวก็คือ กำลังถูกข้าศึกยิงกระหน่ำอยู่ ในกรณีการต่อสู้ของทหาร หรือตำรวจ (ถ้าผู้ร้ายหลายคน) พูดเต็ม ๆ ก็คือ under gun fire

ที่นี้เวลามาใช้ในความหมายที่ไม่เกี่ยวกับการยิงกัน under fire ก็มีความหมายว่า กำลังถูกคนอื่น หรือสาธารณชนรุมตำหนิ หรือรุมเล่นงาน เวลาทำอะไรผิด ได้ยินในข่าวบ่อย ๆ ครับ เช่น

  • The government is under fire for/from …

The whole is greater than the sum of its parts.

เคยได้ยินไหมครับ ฝรั่งชอบใช้ใน สถานการณ์ที่หมายความว่า ของที่อยู่รวมกันเป็นหนึ่งมีคุณค่ามากกว่าเมื่อแยกกัน the sum of its parts คือ ผลรวมของมูลค่าของชิ้นส่วนแต่ละชิ้น

เช่น นักร้องกับนักดนตรีที่เมื่ออยู่ด้วยกันประสบความสำเร็จ แต่พอแยกกัน แต่ละคนก็ไม่ค่อยดัง ใชักับทีมกีฬา หรือ ทีมอื่น ๆ ก็ได้

ใช้กับสิ่งของก็ได้ ผมก็เพิ่มไปดูนิทรรศการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ เขาก็เขียนประโยคนี้ไว้ อธิบายความว่า ธรรมชาติแต่ละส่วนเมื่ออยู่ด้วยกันแล้วเกิดสมดุล และประโยชน์สูงสุด พอคนเข้าไปจัดแจงเปลี่ยนแปลง อันนี้เอา อันนั้นไม่เอา อันนี้น้อยหน่อย อันนั้นมากหน่อย ก็อาจทำให้เสียสมดุลไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

Condolences

อ่านข่าวสายการบินมาเลเซียถูกยิงตกแล้วก็เศร้านะครับ ผมนั่งเครื่องบินบ่อย ก็อดนึกภาพไม่ได้ถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับผู้โดยสารของสายการบินนี้ ซึ่งมีทั้งเด็กเล็ก จนถึงคนแก่ คำที่เหมาะสมจะพูดถึงในวันนี้ ก็คือ คำว่า condolences (-คอน-[โด]-เลน-ซิส-)ใช้เวลาแสดงความเสียใจกับญาติมิตรของผู้เสียชีวิต

เวลามีใครเล่าเรื่องเศร้าของเขาให้ฟัง อาจจะญาติเสีย สอบตก ถูกไล่ออกจากงาน และอื่น ๆ เราจะบอกว่า เสียใจด้วยนะ ก็พูดได้ว่า I’m sorry to hear that. ที่นี้ถ้าเป็นญาติเสีย ก็มีวิธีพูด หรือเขียนให้เป็นทางการกว่านั้น โดยใช้คำว่า condolences หรือ ความเสียใจ ก็นิยมใช้เป็นพหูพจน์อย่างนี้ เหมือนคำว่า congratulations ความยินดี ก็ใช้เป็นพหูพจน์เวลาจะส่งให้ใคร

มาตัวอย่างการใช้ condolences นิยมใช้กับคำคุณศัพท์ว่า deepest แต่จะไม่ใส่ก็ได้ และสังเกตว่าจะใช้กับคำว่า my หรือ our เช่น

  •  I would like to give my deepest condolences to <someone>

Faith

faith (-เฟธ-) แปลว่า ศรัทธา ก็ได้ เช่น ศรัทธาในพระเจ้า ศรัทธาในพระพุทธเจ้า แต่ faith ใช้กับเรื่องอื่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องศาสนา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะฉะนั้นจะแปลว่า ความเชื่อมั่น ก็ได้ ซึ่งก็คล้าย แต่ไม่เหมือน confidence หรือ belief ซะทีเดียว เพราะ faith เป็นความเชื่อ ผสมกับ ความมั่นใจ ไว้วางใจ และก็ให้ความรู้สึกว่ามาจากภายในมากกว่า

สำนวนว่ามีความเชื่อมั่นก็ใช้ว่า have faith เช่น

  • have faith in god ศรัทธาในพระเจ้า
  • have faith in Buddhism ศรัทธาในพุทธศาสนา
  • have faith in mankind เชื่อมั่นในมนุษยชาติ
  • have faith in humanity เชื่อมั่นในมนุษยธรรม
  • have faith in the leader เชื่อมั่นในผู้นำ
  • have faith in your country เชื่อมั่นในประเทศ
  • have faith in democracy เชื่อมั่นในประชาธิปไตย
  • have faith in yourself เชื่อมันในตัวคุณเอง
  • have faith in what you do เชื่อมั่นในสิ่งที่คุณทำ
  • have faith in me เชื่อมั่นในฉัน

ถ้าเราจะให้ความหมายอ่อนลงหน่อย เป็นเชื่อมั่นทั่วไป ไม่ถึงกับศรัทธา ก็ใช้ believe หรือ have confidence ก็ได้ เช่น

  • believe in yourself เชื่อมั่นในตัวคุณเอง
  • have confidence in yourself มั่นใจในตัวคุณเอง

พูดว่าความหมายอ่อนก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก บางสถานการณ์ใช้ faith ก็ฟังดูเว่อร์ไป เช่น สมัยโอบาม่าหาเสียงก็ใช้คำขวัญว่า Change we can believe in.

Bias vs Prejudice

bias (-[ไบ]-แอส-) กับ prejudice (-[เพร]-จุ-ดีส-) ความหมายคล้ายกันครับ หมายถึง ความเบี่ยงเบน ความลำเอียง หรือ อคติ ทำนองนั้น บางทีก็ใช้แทนกันได้ บางทีก็ไม่ได้  ใช้เป็นคำคุณศัพท์ได้โดยการเติม ed ทั้งคู่เป็น biased กับ prejudiced หมายความว่า มีความเบี่ยงเบน หรือ มีความลำเอียง  ถ้าจะขยายความว่าเบียงเบนเข้าข้างอะไร หรือ ออกจากอะไร ก็ใช้ biased toward something  หรือ biased against something

ผมว่าต่างกันสองจุด คือ หนึ่ง bias ใช้กับคนก็ได้ หรือของที่ไม่ใช่คนได้  แต่ prejudice ใช้กับคนได้อย่างเดียว เช่น

  • This measurement may some some bias.  

Guinea Pig

 หนูตะเภา ในภาษาอังกฤษเรียกว่า guinea pig คำนี้ออกเสียงไม่เหมือนกับตัวเขียนนะครับ ต้องออกเสียงว่า -[กิน]-นี-[พิก]-    เกาะนิวกินนีในอินโดนีเซีย ก็คำว่า Guinea นี้เหมือนกัน และออกเสียงเหมือนกัน

ฝรั่งกับไทยก็มีสำนวนตรงกันอันหนึ่งว่า ถูกใช้เป็นหนูทดลอง  เวลาถูกใช้ให้ทำอะไร โดยคนให้ทำมีวัตถุประสงค์แอบแฝงเพื่อทดลองว่าจะสำเร็จไหม แล้วไม่บอกให้เรารู้  คนไทยพูดว่าถูกใช้เป็นหนูทดลอง แต่ฝรั่งพูดว่าถูกใช้เป็นหนูตะเภา ดูตัวอย่างเช่น

  • The company used this project as a guinea pig.  

Leave someone behind

ผมอ่านบทความเกี่ยวกับครูที่เอาใจใส่เด็กทุก ๆ คน โดยเฉพาะเด็กที่อ่อนกว่าคนอื่น ก็นึกถึงสำนวน leave someone behind แปลตามตัวก็คือ ปล่อยให้ใครตามหลัง หรือ ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เช่น เวลาไปเดินทางไกลเป็นกลุ่ม บางคนอาจจะไม่แข็งแรงเท่าคนอื่น เดินช้ากว่าเขา ถ้าจะบอกคนอื่นว่า ไปก่อนเถอะ ปล่อยฉันไว้ข้างหลัง ก็พูดได้ว่า Go ahead, just leave me behind.

ผมก็ได้เรียนรู้และสัมผัสมาว่า สังคมที่เห็นแก่ตัว คือ สังคมที่ปล่อยคนอ่อนแอไว้ข้างหลัง ให้คุณค่าเฉพาะแก่คนที่ฉลาด แข็งแรง หรือ ร่ำรวย สังคมที่น่าอยู่ คือ สังคมที่ไม่เห็นแก่ตัว อันนี้คนส่วนใหญ่คงเห็นด้วย แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น ถ้าดูตามสถิติแล้ว สังคมที่ไม่เห็นแกตัว ก็เป็นสังคมที่เจริญกว่าด้วย คุณดูประเทศในโลกที่หนึ่งทั้งหลาย มีอัตราภาษีโดยเฉลี่ยที่สูงกว่าประเทศโลกที่สามมาก มีการโกงกินน้อยกว่า และที่สำคัญให้ความสำคัญกับการศึกษาแก่ทุก ๆ คนอย่างเท่าเทียมกัน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคน และค่านิยม

ในโลกเรามีตัวอย่างให้เห็นมากมายว่า แม้แต่คนพิการก็สามารถทำประโยชน์ได้มาก เช่น Steven Hawkins นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ตอนนี้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ตอนนี้อายุ 72 ปีนั่งรถเข็นอย่างเดียว แม้แต่พูดยังพูดไม่ได้ ต้องพูดผ่านคอมพิวเตอร์อย่างเดียว อาการพิการของเขาเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 21 ปี หมอบอกคงอยู่ได้อีกแค่สองปี แต่เขาก็ต่อสู้ไม่เพียงแต่อยู่ต่อมาได้ แต่ทำประโยชน์อย่างมากมาก ทั้งเขียนหนังสือ ค้นคว้าทฤษฎีใหม่ เป็นอาจารย์สอนหนั่งสือ มีเด็กจบปริญญาเอกในความดูแลของเขาถึง 39 คน

Helen Keller หญิงอเมริกันเกิดเมื่อปี 1880 ตาบอดและหูหนวกตั้งแต่อายุ 2 ขวบ สมัยก่อนนั้นคนตาบอดก็ยังพอให้การศึกษาได้ แต่ทั้งบอดและหูหนวกก็เรียกว่าหมดหวัง แต่เธอโชคดีที่มีพ่อแม่ที่พยายามขวนขวาย หาผู้รู้ หาครูพิเศษมาสอนลูกจนได้ ต่อมา Helen นั้นสามารถทั้งอ่านออก เขียนได้  และพูดได้ มีอาชีพเป็นทั้งนักพูด นักรณรงค์ และนักเขียน เรื่องราวของเธอ และครูที่สอน เคยมีคนเอามาทำเป็นหนังชื่อ The Miracle Worker ถ้าสนใจลองหาอ่านดูนะครับ

คนสองคนนี้ ถ้าไม่ได้คนรอบข้างที่เอาใจใส่ เขาไม่มีทางที่จะเป็นประโยชน์อะไรได้เลย เพราะแค่ช่วยตัวเองก็ยังไม่ได้ ผมก็ยกเอาเฉพาะคนดัง ๆ มา แต่ยังมีตัวอย่างอีกมากมาย และก็มีตัวอย่างที่เราทุกคนทำได้ทั้งนั้น เช่น เห็นเพื่อนที่เรียนอ่อน ก็ช่วยสอนเขา  เห็นเพื่อนที่เศร้า ก็ไปถามไถ่ทุกข์สุข  เห็นใครถูกทิ้งไว้คนเดียวไม่มีเพื่อน ไม่มีใครคุยด้วย ก็ไปคุยกับเขา ดูตัวอย่างการใช้สำนวนนี้นะครับ

  • If you leave others behind,
Copyright © 2013-2025 betterenglishforthai.net