ศัพท์และสำนวน

Excuse me vs I’m sorry vs I apologize

สำนวน Excuse me, I’m sorry และ I apologize นี้ แปลว่า ขอโทษได้ทั้งหมด แต่มีที่ใช้ที่บางทีก็ใช้ได้สองอย่าง บางทีก็ได้อย่างเดียว หรือ ก็แล้วแต่คนพูด หรือ แล้วแต่สำเนียงท้องถิ่น ถ้าให้ผมเทียบ ผมขอเรียงลำดับตามความรุนแรงของการขอโทษ ว่าจะขอโทษมากน้อยแค่ไหน การจะใช้ให้ถูกต้อง ก็คือ การขอโทษใช้ให้ถูกกับมุมมองของผู้เสียหายนะครับ ไม่ใช่ทำเขาเสียหายมาก แต่กลับขอโทษเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย ก็จะกลายเป็นเรื่องที่กาละเทศะของสังคม

ผมก็จะเรียงการขอโทษจากเรื่องเล็ก ไปสู่เรื่องใหญ่ ดังนี้

1) เรื่องเล็ก ๆ ที่เป็นการขอโทษแบบมารยาทสังคม เช่น พูดผิดคำขอพูดใหม่ หรือ ฟังเขาไม่เข้าใจ หรือ ขอทางเดิน หรือ ขอตัวออกจากที่ประชุม หรือ เรียกความสนใจ (เช่นจะถามทางกับคนแปลกหน้า) เรื่องนี้คนไทยพูด โทษที หรือ ขอตัวหน่อย อะไรประมาณนั้น ฝรั่งเขานิยมพูดว่า excuse me หรือpardon me สองสำนวนนี้ใช้แทนกันได้

ถ้าเป็นการฟังเขาไม่ได้ยิน ก็ให้ขึ้นเสียงสูงตอนท้าย ถ้าเป็นเรื่องอื่นจะใช้เสียงสูงหรือเสียงต่ำตอนท้ายก็ได้ โดยเสียงสูงนั้นให้ความรู้สึกเป็นเรื่องเล็กน้อยมากกว่าเสียงต่ำ เสียงต่ำให้ความรู้สึกจริงใจมากกว่า

ที่คาบเกี่ยวใช้ได้กันกรณีนี้ก็คือ I’m sorry ซึ่งตามรูปศัพท์นั้นสำหรับเรื่องที่รุนแรกกว่า แต่ก็จะใช้กับกรณีเล็กน้อยบางอย่างก็ได้ บางทีก็ทำให้เบาลงหน่อยได้โดยพูด sorry เฉย ๆ หรือ ลงท้ายด้วยเสียงสูงแทนที่จะเป็นเสียงต่ำ

เช่น

  • Excuse me.

Sympathy, Sympathize, Sympathetic

คุณ M. ถามมาหลายข้อน่าสนใจ ขอเอาข้อแรกมาขยายความหน่อยว่า สามคำข้างต้นใช้ต่างกันอย่างไร

ประเด็นแรกต้องเข้าใจว่า sympathy คือ คำนาม sympathize คือ คำกริยา และ sympathetic เป็นคุณศัพท์ เวลาใช้ก็ต้องให้ถูกที่ทางมัน

ประเด็นที่สอง ศัพท์อังกฤษแต่ละตัวอาจมีวิธีใช้แตกต่างกัน เช่น แม้รู้ว่าเป็นคำกริยา ก็ยังไม่พอ ยังต้องรู้ต่อว่า ใช้กับกรรม หรือไม่ใช้ ใช้กับบุพบทตัวไหนได้ เช่น sympathize ในที่นี้ ก็นิยมใช้เป็น sympathize with someone ไม่ใช้ sympathize someone

ประการที่สาม รู้รูปแบบการใช้ก็ยังไม่พอ ยังต้องรู้ความหมาย และกาละเทศะอีก บางทีก็มีความหมายได้หลายแบบ

ทำยังไง ยากจัง ก็ต้องเรียน ต้องฟัง ต้องอ่าน ไปเรื่อย ๆ จนซึมซามครับ คำไหนไม่คุ้นเคย ผมก็ไม่กล้าใช้ ด้วยเหตุฉะนี้ พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ที่แปลกันสั้น ๆ ไม่มีตัวอย่าง ไม่มีคำอธิบาย จึงไม่ให้ประโยนช์เท่าที่ควร

ย้อนกลับมาในตัวอย่างนี้ sympathize แปลว่า สงสาร หรือ เห็นอกเห็นใจ เช่น

  • I sympathize with you.

Invaluable

ปกติคำคุณศัพท์ที่เติม in ก็กลายเป็นความหมายปฏิเสธ เช่น direct กับ indirect หรือ complete กับ incomplete

แต่ invaluable (-อิน-[แว]-ลู-เอะ-เบิล- หรือ -อิน-[วา]-ลู-เอะ-เบิล-) มีความหมายทำนองเดียวกับ valuable คือ มีค่ามาก ขาดไม่ได้ ไม่ได้มีความหมายว่า not valuable ยิ่งเติม in เข้าไปยิ่งมีค่ามากไปใหญ่ เหมือนเราว่า หาค่าไม่ได้ อีกคำที่คล้ายกัน คือ priceless เช่น

  • This ring is invaluable to me.

วันหยุด

ขอหยุดพักร้อนสักพักครับ สัปดาห์หน้าค่อยกลับมา

พูดถึงวันหยุด วันหยุดของฝรั่งมีสามแบบ weekend คือ เสาร์อาทิตย์ holiday คือ วันหยุดพิเศษ เช่น วันปีใหม่ วันแรงงาน สงกรานต์ ฯลฯ ถ้าเราไปพูดถึงหยุดเสาร์อาทิตย์เป็น holiday คนฟังจะงงนะครับ

ส่วนแบบที่สาม คือ PTO (อ่านว่า พี ที โอ) ย่อมาจาก Paid Time Off เป็นคำรวม ๆ หมายถึง การลาหยุดที่บริษัทจ่ายค่าจ้างให้ จะหยุดไปทำธุระ หรือ ไปเที่ยวก็ได้ ถ้าหยุด PTO หลายวันหน่อย เพื่อพักผ่อน หรือไปเที่ยว ก็เรียก vacation หรือ ลาพักร้อน

นั่นก็สามแบบหลัก แต่จริง ๆ มีอีกหลายแบบ ปลีกย่อย ได้แก่

  • sick leave ลาป่วย บางบริษัทก็นับเป็น PTO
  • ลาเลี้ยงลูกที่เพิ่งเกิด เป็นพนักงานหญิงก็เรียก maternity leave (-มะ-[เทอ]-นิ-ตี-) ถ้าชายก็เรียก paternity leave (-พะ-[เทอ]-นิ-ตี-) หรือ จะเรียกกลาง ๆ ไม่ระบุเพศก็ใช้ parental leave หรือ family leave ก็ได้ บางประเทศมีกฏหมายบังคับให้บริษัทต้องให้หยุด หรือต้องจ่ายค่าแรงให้ในการหยุดแบบนี้ บางประเทศไม่เป็นกฏหมายก็แล้วแต่นโยบายของบริษัทว่าจะจ่าย หรือไม่จ่าย หรือให้ไป หรือไม่ให้ไปกี่วัน
  • Leave of absence คือ ลาทำธุระพิเศษระยะยาว อาจเป็นหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน เช่น ไปดูแลญาติป่วย หรือเสีย อันนี้ไม่จ่ายค่าแรงครับ แต่ตกลงกันว่า จะไปนานแค่ไหน และยังเป็นพนักงานอยู่ คือ กลับมาจะให้ทำงานต่อ ว่างั้น
  • Sabbatical leave (-สะ-[แบ]-ติ-เคิล-) อันนี้เหมือนเป็น vacation พิเศษระยะยาว อาจจะเดือนสองเดือน ถึงยาวถึงหนึ่งปี อันนี้เฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ ดี ๆ ถึงมี เป็นสวัสดิการให้พนักงานที่ทำงานมานาน ๆ เช่น 8 ปี 10 ปี ก็อนุญาติให้พนักงานพักยาว บริษัทอาจจ่ายค่าแรงให้ส่วนหนึ่ง ฝรั่งก็ใช้ในการหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการงาน เช่น ไปท่องเที่ยว ไปเป็นอาสาสมัคร ไปสอนหนังสือ หรือ ทำงานพิเศษชั่วคราวอื่น ฯลฯ

Fired

พูดถึง on fire คราวก่อน ก็มีบางคนคิดว่าแปลว่า ถูกไล่ออกจากงาน อันนั้นมันอีกความหมายหนึ่งของ fire นะครับ เวลาใช้เป็นคำกริยากับคน เช่น Fire him. แปลว่า ไล่เขาออก หรือ He is fired. เขาถูกไล่ออกจากงาน

คล้าย ๆ กับสำนวนนี้ แต่ความหมายคนละเรื่อง คือ to be fired up แค่เติม up ไปอีกตัว fire up แปลว่า จุดไฟ หรือ ติดเครื่อง พอมาใช้เป็น passive voice กับคน ก็หมายความว่า เครื่องติด พร้อมลุย คือ ลุยทำงาน หรือ ไปเที่ยวไหน เช่น

  • Let’s get this work done.

On fire vs Under fire

มาดูสำนวนเกี่ยวกับไฟมั่ง สำนวนว่า on fire ถ้าแปลตามตัวอักษรก็คือ กำลังไฟใหม้อยู่ เช่น That building is on fire. ตีกหลังนั้นกำลังไฟใหม้อยู่

ทีนี้เวลามาใช้กับคน He is on fire. ก็จะแปลว่า ไฟกำลังไหม้เขาอยู่ก็ได้ ถ้าไฟกำลังไหม้เขาอยู่จริง ๆ แต่สถานการณ์อย่างนี้ไม่ค่อยจะมี ส่วนใหญ่จะใช้ในความหมายแสลง คือ แปลว่า เขากำลังมือขึ้น หรือกำลังเฮง คือ ทำอะไรสำเร็จติตต่อกันหลาย ๆ ครั้ง เช่น นักกีฬาบาสเกตบอลยิงลูกลงติดต่อกันหลายลูก นักกีฬา หรือ นักเล่นพนันที่ชนะติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง หรือ นายหน้าขายของที่ขายได้ติดต่อกัน เป็นต้น เราก็สามารถเรียกว่า นายคนนี้ หรือ ทีมนี้กำลัง on fire

อีกคำที่คล้ายกับ on fire คือ hot แต่ hot เป็นแสลงที่มีความหมายได้หลายอย่างกว่า แล้วแต่สถานการณ์ นอกจากหมายความว่า กำลังมือขึ้นแล้ว จะหมายความว่า กำลังเป็นที่นิยมก็ได้ (เช่น หนัง หรือนักร้อง) หรือ หมายความว่า มีเสน่ห์ทางเพศ หรือยั่วยวนก็ได้ (เวลาผู้ชายใช้เรียกผู้หญิง หรือผู้หญิงใช้เรียกผู้ชาย) เพราะฉะนั้นควรระวังอย่าใช้ในกรณีที่อาจมีความหมายสองแง่ได้

สำหรับสำนวนว่า under fire คำว่า fire ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไฟ แต่หมายถึงอาวุธปืน under fire ความหมายตามตัวก็คือ กำลังถูกข้าศึกยิงกระหน่ำอยู่ ในกรณีการต่อสู้ของทหาร หรือตำรวจ (ถ้าผู้ร้ายหลายคน) พูดเต็ม ๆ ก็คือ under gun fire

ที่นี้เวลามาใช้ในความหมายที่ไม่เกี่ยวกับการยิงกัน under fire ก็มีความหมายว่า กำลังถูกคนอื่น หรือสาธารณชนรุมตำหนิ หรือรุมเล่นงาน เวลาทำอะไรผิด ได้ยินในข่าวบ่อย ๆ ครับ เช่น

  • The government is under fire for/from …

The whole is greater than the sum of its parts.

เคยได้ยินไหมครับ ฝรั่งชอบใช้ใน สถานการณ์ที่หมายความว่า ของที่อยู่รวมกันเป็นหนึ่งมีคุณค่ามากกว่าเมื่อแยกกัน the sum of its parts คือ ผลรวมของมูลค่าของชิ้นส่วนแต่ละชิ้น

เช่น นักร้องกับนักดนตรีที่เมื่ออยู่ด้วยกันประสบความสำเร็จ แต่พอแยกกัน แต่ละคนก็ไม่ค่อยดัง ใชักับทีมกีฬา หรือ ทีมอื่น ๆ ก็ได้

ใช้กับสิ่งของก็ได้ ผมก็เพิ่มไปดูนิทรรศการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ เขาก็เขียนประโยคนี้ไว้ อธิบายความว่า ธรรมชาติแต่ละส่วนเมื่ออยู่ด้วยกันแล้วเกิดสมดุล และประโยชน์สูงสุด พอคนเข้าไปจัดแจงเปลี่ยนแปลง อันนี้เอา อันนั้นไม่เอา อันนี้น้อยหน่อย อันนั้นมากหน่อย ก็อาจทำให้เสียสมดุลไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net