การออกเสียง

การเขียนชื่อไทยในภาษาอังกฤษ

เคยเขียนเรื่องนี้ไปบ้างแล้ว ก็ลองมารวบรวมเขียนอีกสักที การเขียนชื่อไทยในภาษาอังกฤษนี่เป็นปัญหาใหญ่ครับ เพราะ เรามีเสียงสระที่หลากหลายกว่า มีเสียงวรรณยุกต์ที่ผันตามความหมาย พยัญชนะบางเสียงภาษาอังกฤษก็ไม่มี และภาษาอังกฤษนั้นสระรูปเดียวกันก็ออกเสียงได้หลายแบบแล้วแต่คำ เช่น a จะเป็น อา เอ หรือ แอก็ได้ u จะเป็น อุ อู หรือ อันก็ได้ เวลาเขียนคำไทยเป็นอังกฤษจึงค่อนข้างเป็นเรื่องของศิลปนิดหน่อย บางทีเอาแน่นอนไม่ได้ บางทีต้องเลือกว่าจะเอาเสียงใกล้เคียง หรือรูปใกล้เคียง ถ้าเอาเสียงใกล้เคียงต้องมีความรู้ว่าคำในภาษาอังกฤษที่คล้าย ๆ กับที่เราเขียน เขาออกเสียงอย่างไร และก็ต้องระมัดระวังไม่เขียนเป็นคำที่มีความหมายไม่ดีในภาษาอังกฤษ

  • ตัวอย่างเช่น อ่อนนุช ผมรู้สึกว่าทางการเขียนว่า On Nut เราก็รู้สึกว่าน่าจะเขียนเป็น On Nood ทำไมต้องทำให้ฝรั่งออกเสียงไม่ถูก ถ้าจะเขียนว่า On Nude ก็เสียงถูกแต่รูปผิด เพราะตรงกับคำไม่ดี เพราะฉะนั้น On Nood ดีกว่า
  • คำว่า พรเทพ เราเขียนเป็น Pornthep ผมก็รู้สึกว่าน่าจะเขียนเป็น Ponthep ตัว R นั้นนอกจากทำให้ตรงกับคำที่ความหมายไม่ดีแล้ว ยังทำให้ออกเสียงผิดด้วย คำว่า พล กับ พร นั้นเขียนให้ใกล้เคียงที่สุดในภาษาอังกฤษก็เป็น pon เหมือนกันครับ เพราะ R นั้นไม่มีในเสียงไทย เราใช้แทนตัวเสียง ร แต่คำว่า พร นั้นคือ พอน ไม่มีเสียง ร ถ้าชื่อพลเทพ ก็ต้องบอกเขาว่า ออกเสียง pon ให้สั้นหน่อยเท่านั้นเองเช่นเดียวกันคำว่า กรณ์ ก็ควรเป็น kon ไม่ใช่ korn
  • ส่วนคำว่า thep นั้น h ไม่มีความจำเป็น แต่ใส่ไว้ก็ไม่ผิด ก็บอกเขาว่าให้ออกเสียงยาวหน่อย ถ้าจะให้ใกล้เสียงไทยมากขึ้นก็ใช้ theb ก็ได้ คำที่ลงด้วย b นั้นในภาษาอังกฤษออกเสียงยาวและแน่นกว่าลงด้วย p แต่เนื่องจากตัว p รูปเหมือน พ ในภาษาไทย ดังนั่้น ใช้ thep จึงดูดีกว่า ยอมเพี้ยนเสียงนิดหน่อย
  • คำว่า สุขุมวิท ทางการเขียนเป็น Sukhumvit ถ้าให้เสียงใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็น Sukumwid หรือ Sukoomwid เมือพิจารณารูปประกอบด้วย ผมว่าก็น่าจะเป็น Sukumwit ไม่มีความจำเป็นต้องใส่ h ส่วน ว แหวนนั้น ควรเป็นตัว w ทั้งสิ้น เสียง v ไม่มีในไทย และไม่มีตัวใช้แทน
  • คำว่า วานิช เป็นผมก็จะเขียนเป็น Wanit แทนที่จะเป็น Vanich เพราะเขาจะได้ไม่อ่านเป็น วา-นิด-เชอะ- เข้าใจครับว่า ช กับ ch รูปตรงกัน แต่คำไทยไม่มีเสียงลงท้าย มีแต่ตัวสะกด ถ้าคุณชอบน้ำลายพ่นใส่หน้าก็เอา ผมไม่เอาครับ และขี้เกียจบอกเขาว่า ไม่ต้องเชอะได้ไหม เสียง เทอะ จาก t นั้นน้ำลายเบากว่า ch เยอะ
  • คำว่า ภูษิท ก็น่าจะเป็น Poosit หรือ Pusit แทนที่จะเป็น Phusit คำที่มี ph นั้นออกเสียงเป็น f แทบทั้งสิ้นในภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องทำให้สับสน
  • ตัว ก ก็น่าจะใช้แทนด้วย g ครับ แต่เราชอบใช้ k เช่น กิ่งแก้ว ก็ควรเป็น Ging Gaew แทนที่จะเป็น King Kaew เสียง ป ในภาษาอังกฤษไม่มี เราก็เลยต้องใช้ p แทน แต่เสียง ก นั้นมีคือ g ไม่จำเป็นต้องใช้ k แทน

ผมร่ายยาวมา ต้องขออภัยที่วิจารณ์ มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้ความรู้เท่านั้น และเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ถ้าเป็นชื่อของเรา เราพอใจจะเขียนอย่างไร และบอกคนอื่นว่าออกเสียงอย่างไร ก็เป็นเรื่องของเรา ไม่มีผิดครับ ท้ายที่สุด ขอคำสุดท้าย ถ้าบังเอิญใครต้องเไปเขียนคำว่า ฟักทอง เป็นภาษาอังกฤษ เป็นผมก็จะเขียนว่า Fag Thong ซึ่งฝรั่งก็จะอ่านว่า ฝากทอง เราก็บอกว่า เออ ใช่ คุณออกเสียงชัดมากเลย เพราะคำว่า ฟัก (f,

คำที่คนไทยมักเน้นเสียงผิด

เขาว่าสำเนียงไทยแท้พูดแบบราบเรียบ ไม่มีการเน้นพยางค์ แต่จริง ๆ แล้วมีการเน้นทางอ้อมอยู่นิดหน่อยครับ เนื่องจาก 1) เรามีการใช้ระดับเสียงขึ้นลงที่คงที่ พยางค์ที่เราออกเสียงเป็นโท ตรี ก็ฟังเหมือนเน้นมากกว่าพยางค์ที่เป็นเสียงสามัญ และเอก 2) บางพยางค์เราก็ออกเสียงเร็วตามความนิยม ทำให้ฟังเหมือนไม่เน้น ดังนั้น สำเนียงไทย ในบางคำก็เลยฟังเหมือนไปเน้นพยางค์ผิดตัว ทำให้ฟังไม่รู้เรื่อง ใครที่พยายามเน้นแต่ไปเน้นผิดพยางค์ก็ยิี่งไปกันใหญ่

ตัวอย่างเช่น คำว่า advertise เน้นพยางค์แรก กับพยางค์ที่สาม สำเนียงไทยเราพูด แอ๊ด-เวอ-ไทส ซึ่งก็ฟังเหมือนเน้นพยางค์แรกและพยางค์ที่สาม ก็เลยถูกโดยบังเอิญ แต่คำว่า advantage เน้นพยางค์ที่สอง แต่สำเนียงไทยพูดเหมือนเดิมว่า แอ๊ด-แวน-เทจ ซึ่งฟังเหมือนเน้นพยางค์ที่หนึ่ง ก็กลายเป็นผิดไป ถ้าพูดให้ถูกก็ต้องลดเสียงพยางค์แรกลง แล้วเน้นพยางค์ที่สองให้ยาวและสูงขึ้น เป็น แอด-แว๊น-เทจ (แบบอเมริกัน) หรือ แอด-ว๊าน-เทจ (แบบอังกฤษ) วิธีเขียนคำอ่านของผม จะเอาพวกวรรณยุกต์ออก เพราะมันขึ้นกับสำเนียงและอื่น ๆ ก็เลยเขียนโดยใช้วงเล็บสี่เหลี่ยมบอกการเน้นพยางค์แทน เป็น -แอด-[แฯน]-เทจ- และ advertise ก็เป็น -[[แอด]]-เฯอะ-[ไทส]-   (Note: เสียง v ไม่ใช่ ว นะครับ ผมแทนด้วย ฯ  กดอ่านรายละเอียดได้ที่ เสียงตัว v)

คำบางคำ ก็เน้นพยางค์ไหนก็ได้ เพราะมีคนพูดทั้งสองแบบ เช่น address ถ้าเป็นคำกริยาต้องเน้นพยางค์ที่สอง แต่ถ้าเป็นคำนามมีคนพูดทั้งสองแบบ -แอด-[เดรส]- หรือ -[แอด]-เดรส- ก็ได้

คำอื่น ๆ ที่เรามักเน้นผิด ทำให้คนอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง ก็เช่น

  • advance -แอด-[ฯานส]- (แบบอังกฤษ) หรือ -แอด-[แฯนส]- (แบบอเมริกัน)  เน้นพยางค์ที่สอง
  • advice -แอด-[ไฯส]- เน้นพยางค์ที่สอง
  • orange -[ออ]-เรนจ-  เน้นพยางค์ที่หนึ่ง
  • effect -อิ-[เฟคท]- หรือ -เอะ-[เฟคท]- เน้นพยางค์ที่สอง
  • exam  -เอก-[แซม]- เน้นพยางค์ที่สอง
  • example -เอก-[ซาม]-เปิล- (แบบอังกฤษ) หรือ -เอก-[แซม]-เปิล- (แบบอเมริกัน)  เน้นพยางค์ที่สอง
  • mobile -[โม]-เบาล- หรือ -[โม]-เบิล-เน้นพยางค์ที่หนึ่ง
  • suggest -สัก-[เจสท]- เน้นพยางค์ที่สอง
  • appreciate -แอพ-[[พริ]]-ชิ-[เอด]-เน้นพยางค์ที่สอง
  • entrance -[เอน]-ทรานส- เน้นพยางค์ที่หนึ่ง

ฯลฯ มีอีกเยอะ ไว้คิดได้ค่อยใส่เพิ่มครับ ใครเห็นคำอื่นก็ขอเชิญแนะนำมาได้

สนใจอ่านรายละเอียดของการออกเสียงพยางค์ที่ไม่เน้นได้ที่ เสียงสระ ə

พร้อมเพย์

ผมมาเมืองไทยได้สักพัก ได้ยินคำนี้ทางทีวีก็งง เอะฟังเหมือนคำทับศัพท์แต่ไม่รู้มาจากภาษาอังกฤษว่าอะไร ต้องมาเห็นคำที่เขียนไว้ถึงรู้ เข้าใจว่าคนคิด คงต้องการเล่นคำให้มีความหมายไทยด้วย และก็สอดคล้องกับคำอังกฤษด้วย ก็ดีครับมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ถ้าถามผม ผมว่าใช้คำไทยไปเลยดีกว่า เช่น ระบบพร้อมจ่าย หรือ จ่ายพลัน

คำว่า พร้อม กับ prompt เราอาจจะฟังว่าออกเสียงคล้ายกัน แต่ฝรั่งฟังแล้วออกเสียงคำละเรื่องครับ จุดแรก คือ ตัว R กับ ร ออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่จริง ๆ อันนี้เป็นจุดเล็ก ถ้าเราออกเสียง ร ฝรั่งก็ยังฟังพอรู้เรื่อง จุดที่สองที่สำคัญกว่า คือ คำว่า prompt เนื่องจากลงด้วยพยัญชนะ p กับ t ทำให้สระมีเสียงสั้น ต้องออกเสียงเป็น พร็อม แทนที่จะเป็น พร้อม ถ้าเราพูดให้ฝรั่งฟังก็ออกเสียงสั้นหน่อยว่า พร็อมเพย์ เขาก็จะรู้ว่ามาจากคำอะไร ไม่เชื่อลองดูครับ ส่วนเสียง t ละท้าย ละได้เนื่องจากตามด้วยพยางค์ เพย์ ทำให้ฟังไม่ค่อยออก ถ้าเราออกเสียง prompt โดด ๆ ก็จะได้ยินเสียง t ลงท้าย เป็น เทอะ เล็ก ๆ
เรื่องนี้เคยสอนไปหมดแล้วครับ อ่านทบทวนได้ที่ เสียง R และ L  กับ เสียง T และ D

Like

คำที่ฮิตคำหนึ่งของยุคนี้ ก็ใกล้ตัวมาก คือ คำว่า like คำง่าย ๆ อย่างนี้ มีที่ใช้มากมาย นอกเหนือจากที่แปลว่า ชอบ ขอแนะนำทีละตัวสองตัว

  • He likes me. เขาชอบฉัน
  • He’s like me. เขาเหมือนฉัน

ประโยคที่สองนั้น พอ like เป็นคำคุณศัพท์แปลว่า เหมือน แปลคนละเรื่องกับประโยคแรกเลย แต่เสียงคล้าย ๆ กันมาก แค่ใส่กริยา to be เข้าไปเท่านั้น ซี่งในประโยคนี้ ก็แค่มีเสียงตัว s วางคนละที่กับประโยคแรกเท่านั้นเอง

ถึงแม้จะดูคล้ายกัน แต่การออกเสียงของสองประโยคนี้มีท่วงทำนองต่างกันนะครับ

  • He likes me.  

Man / Men / Person / People

มาดูคำเอกพจน์ และ พหูพจน์ ของคนกันหน่อยครับ

  • man (แมน) / men (เมน)
  • woman(-[วู]-เมิน-) / women (-[วี]-เมิน-)
  • gentleman / gentlemen (เนื่องจากพยางค์สุดท้ายเป็นสระเสียงเบา ทั้งสองคำออกเสียงเหมือนกันว่า -[เจน]-เทิล-เมิน-)
  • lady (-[เล]-ดี-) / ladies (-[เล]-ดีซ-)
  • human (-[ฮิว]-เมิน-) / humans (-[ฮิว]-เมินซ-)
  • human being / human beings
  • person / persons หรือ people

คำว่า people โดยทั่วไปก็เป็นพหูพจน์ เช่น There are people outside.  

Excuse me vs I’m sorry vs I apologize

สำนวน Excuse me, I’m sorry และ I apologize นี้ แปลว่า ขอโทษได้ทั้งหมด แต่มีที่ใช้ที่บางทีก็ใช้ได้สองอย่าง บางทีก็ได้อย่างเดียว หรือ ก็แล้วแต่คนพูด หรือ แล้วแต่สำเนียงท้องถิ่น ถ้าให้ผมเทียบ ผมขอเรียงลำดับตามความรุนแรงของการขอโทษ ว่าจะขอโทษมากน้อยแค่ไหน การจะใช้ให้ถูกต้อง ก็คือ การขอโทษใช้ให้ถูกกับมุมมองของผู้เสียหายนะครับ ไม่ใช่ทำเขาเสียหายมาก แต่กลับขอโทษเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย ก็จะกลายเป็นเรื่องที่กาละเทศะของสังคม

ผมก็จะเรียงการขอโทษจากเรื่องเล็ก ไปสู่เรื่องใหญ่ ดังนี้

1) เรื่องเล็ก ๆ ที่เป็นการขอโทษแบบมารยาทสังคม เช่น พูดผิดคำขอพูดใหม่ หรือ ฟังเขาไม่เข้าใจ หรือ ขอทางเดิน หรือ ขอตัวออกจากที่ประชุม หรือ เรียกความสนใจ (เช่นจะถามทางกับคนแปลกหน้า) เรื่องนี้คนไทยพูด โทษที หรือ ขอตัวหน่อย อะไรประมาณนั้น ฝรั่งเขานิยมพูดว่า excuse me หรือpardon me สองสำนวนนี้ใช้แทนกันได้

ถ้าเป็นการฟังเขาไม่ได้ยิน ก็ให้ขึ้นเสียงสูงตอนท้าย ถ้าเป็นเรื่องอื่นจะใช้เสียงสูงหรือเสียงต่ำตอนท้ายก็ได้ โดยเสียงสูงนั้นให้ความรู้สึกเป็นเรื่องเล็กน้อยมากกว่าเสียงต่ำ เสียงต่ำให้ความรู้สึกจริงใจมากกว่า

ที่คาบเกี่ยวใช้ได้กันกรณีนี้ก็คือ I’m sorry ซึ่งตามรูปศัพท์นั้นสำหรับเรื่องที่รุนแรกกว่า แต่ก็จะใช้กับกรณีเล็กน้อยบางอย่างก็ได้ บางทีก็ทำให้เบาลงหน่อยได้โดยพูด sorry เฉย ๆ หรือ ลงท้ายด้วยเสียงสูงแทนที่จะเป็นเสียงต่ำ

เช่น

  • Excuse me.

Guinea Pig

 หนูตะเภา ในภาษาอังกฤษเรียกว่า guinea pig คำนี้ออกเสียงไม่เหมือนกับตัวเขียนนะครับ ต้องออกเสียงว่า -[กิน]-นี-[พิก]-    เกาะนิวกินนีในอินโดนีเซีย ก็คำว่า Guinea นี้เหมือนกัน และออกเสียงเหมือนกัน

ฝรั่งกับไทยก็มีสำนวนตรงกันอันหนึ่งว่า ถูกใช้เป็นหนูทดลอง  เวลาถูกใช้ให้ทำอะไร โดยคนให้ทำมีวัตถุประสงค์แอบแฝงเพื่อทดลองว่าจะสำเร็จไหม แล้วไม่บอกให้เรารู้  คนไทยพูดว่าถูกใช้เป็นหนูทดลอง แต่ฝรั่งพูดว่าถูกใช้เป็นหนูตะเภา ดูตัวอย่างเช่น

  • The company used this project as a guinea pig.  
Copyright © 2013-2025 betterenglishforthai.net