concern คำนี้ เห็นคนไทยชอบใช้ทับศัพท์ แต่พอพูดเป็นภาษาอังกฤษก็มักใช้ผิด concern เวลาจะพูดว่าเรารู้สึก concern ต้องใช้ to be concerned ความรู้สึกนี้กำ้กี่งระหว่างความสนใจ กับความเป็นห่วง คือจะแปลว่า กังวล หรือ เป็นห่วงก็พอใช้ได้ แต่ก็ไม่เชิง คำว่ากังวลตรงกับ to be worried ซึ่งสื่อถึงความเป็นทุกข์ ก็หนักกว่า to be concerned ซึ่งอาจจะไม่มีทุกข์ หรือมีแค่นิดหน่อย concern เป็นความสนใจในแง่ว่า สิ่งนั้น ๆ มีความสำคัญกับตัวเรา เกี่ยวข้องกับตัวเรา เราอยากจะติดตามความเคลื่อนไหวว่ามันจะออกมาเป็นอย่างไร หรือ อยากมีส่วนร่วม เพราะฉะนั้นคิดซะว่า เป็นความรู้สึกกำ้กึ่งระหว่างสนใจ กับกังวล นะครับ ในที่นี้ผมก็จะขอแปลส่วนใหญ่ว่า “เป็นห่วง”นะครับ เพราะไม่อยากแปลทับศัพท์ ฟังดูใกล้เคียงที่สุด แต่ก็ไม่ตรงในทุกสถานการณ์ ดูตัวอย่างเช่น
- I am concerned about my mother’s health. ฉันรู้สึกเป็นห่วงสุขภาพของแม่ฉัน
- He is concerned that you may know how to do this work. เขารู้สึกเป็นห่วงว่าคุณอาจจะไม่รู้ว่าจะทำงานนี้ยังไง
- There is nothing to be concerned about. ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง
- I‘m very concerned about the side effect of this drug. ฉันรู้สึกเป็นห่วงมากับผมกระทบข้างเคียงของยานี้
เรามันได้ยินสำนวนคนพูดว่า as far as I'm concerned หรือ as far as someone is concerned บ่อย ๆ จนพร่ำเพรื่อ จนความหมายอ่อนหน่อย ก็ทำนองว่า เท่าที่ฉันใส่ใจ หรือ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฉัน หรือ ในความคิดเห็นของฉัน คล้าย ๆ in my opinion แต่มันฟังหนักแน่นกว่า เช่น
- As far as I‘m concerned, this food is safe to eat. ในความคิดเห็นของฉัน อาหารนี้ปลอดภัย กินได้
ถ้าเราไม่ใช้ในรูป -ed ก็จะเป็นความหมายว่า เกี่ยวข้อง หรือใช้กับคนก็คือ ทำให้รู้สึกเป็นห่วง
- This concerns me. อันนี้ทำให้ฉันเป็นห่วง
- To whom it may concern. อันนี้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายแบบเป็นทางการครับ เวลาไม่รู้ว่าคนอ่านเป็นใคร ชื่ออะไร
- This problem is very concerning. ปัญหานี้น่าเป็นห่วงมาก
และ concern ก็เป็นคำนามได้ครับ เช่น
- Let’s talk about your concern. มาคุยกันเกี่ยวกับจุดที่ยังคุณเป็นห่วงอยู่
- I have no concern at all about this issue. ก็เหมือนกับ I am not concerned at all about this issue. ฉันไม่รู้สึกเป็นห่วงอะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องนี