would, could, should, etc ตอนที่ 2 การขอร้อง

Would นี่จะเรียกว่าเป็นทำนอง อนาคตแบบสมมติ หรือแบบคาดคะเนก็ได้  คิดว่าเราอาจได้เรียนเรื่องรูปประโยคแบบเงื่อนไข (if) มาบ้างแล้ว ทบทวนกันนิดหน่อย เช่น สองประโยดนี้มีความหมายเดียวกันว่า “ถ้าคุณมา เราจะออกไปเที่ยวด้วยกัน”

  • If you come, we will go out together.
  • If you came, we would go out together.

would, could, should, etc ตอนที่ 1 การแนะนำ หรือ ชี้แนะ

สมัยเด็ก ๆ เคยเรียน (ไว้ทำข้อสอบ) ว่า  would, could, should เป็นอดีตกาลของ will, can, shall ใช้เวลาเปลี่ยนจากประโยคคำพูด (direct speech) เป็นประโยคเล่าเรื่อง (Indirect speech) เช่น He said he would go school.  ก็ใช้ได้นะครับ  แต่ระวังอย่าไปจำตายตัวกลายเป็น would เป็นกริยาช่องสองของ will  หรือใช้  would ได้แต่ในการอธิบายอดีตกาลเท่านั้น อย่างนั้นก็จะไม่ถูก  มีวิธีใช้ได้อีกหลายสถานการณ์  ตอนนี้ผมก็ขอแนะนำ การใช้คำพวกนี้เวลาเราต้องการจะพูดเชิงชี้แนะ หรือ สั่งให้คนฟังอื่นทำอะไร

ถ้าสมมติเราจะพูดแนะนำ หรือสอนใครว่า “คุณควรทำอย่างนี้” จะพูดได้อย่างไรบ้างครับ นึกดูแล้วก็พูดได้หลายแบบ ของเรียงลำดับจากอย่างแข็งที่สุด ไปถึงอ่อนที่สุด ตามความรู้สึกนะครับ

  • You must do it this way. 

Debut

debut เป็นศัพท์ที่พบเห็นบ่อย ๆ ในข่าว ออกเสียงไม่ค่อยจะเหมือนรูปเท่าไร คือ ต้องออกว่า -เด-[บิว]- หรือ -เด-[บยู]- ถ้าเป็นสำเนียงอังกฤษก็เน้นพยางค์แรก-[เด]-บยู- แปลว่า เปิดตัว หรือ เผยโฉมเป็นครั้งแรก ใช้เป็นคำนามก็ได้ คำกริยาก็ได้ เช่น

  • Iphone 5 made its Thailand debut last month.

เรียนภาษาอังกฤษจาก Bangkok Post

ผมอ่านเวบ Bangkok Post มานาน แต่เพิ่งเห็นวันนี้ว่า เขามีหน้าพิเศษสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษด้วย

http://www.bangkokpost.com/learning/

ลิงค์ข่าวในหน้านี้เช่นข่าวนี้ จะมีลิงค์ที่เขียนว่า Click button to listen to… ซึ่งคุณสามารถฟังไป แล้วดูตัวหนังสือตามไปได้เลย ข้างล่างของหน้าก็มีคำแปลศัพท์ (ที่ทำเป็นตัวเข้ม) ให้อีก เรียกว่าครบถ้วนเลย ทั้งความหมาย ตัวอย่าง และการออกเสียง จะฟังซ้ำกี่ครั้งก็ได้ จะโหลดมาเป็น mp3 ฟังทีหลังอีกก็ได้ แถมเป็นข่าวที่เป็นเหตุการณ์ปัจจุบันด้วย เห็นแล้วอิจฉาคนเรียนภาษาอังกฤษยุคนี้จริง ๆ ไม่มีข้อแก้ตัวที่จะเรียนไม่เก่งแล้ว

Odds

ทุกคนคงรู้จัก odd ที่เป็นคำคุณศัพท์ ตอนนี้ขอแนะนำ odds ซึ่งเป็นคำนาม และพบเห็นบ่อยมาก odds และใช้เป็นพหูพจน์เสมอ แปลทำนองว่า โอกาส หรือโชคชะตา คล้าย ๆ chance แต่ chance เป็นได้ทั้งเอกพจน์ และพหูพจน์ และก็แทนกันไม่ได้เสมอไป ขอให้ดูตัวอย่าง และไปสังเกตเวลาเขาใช้กัน

  • What are the odds of that?

Register

ว่ากันต่อสำหรับศัพท์ที่พบเห็นประจำ ที่เราชอบออกเสียงเน้นพยางค์ผิด register ออกเสียงเน้นพยางค์ที่หนึ่งว่า -[เร็ก]-จิส-เตอระ- เป็นกริยาแปลว่า ลงทะเบียน เป็นคำนามก็ได้ แปลว่า เครื่องจดบันทึก เช่น cash register ก็คือเครื่องเก็บเงินเวลาเราจ่ายเงินตามห้าง และร้านค้าต่าง ๆ คำที่เป็นลูกหลานของ register ก็ออกเสียงทำนองเดียวกัน ได้แก่ registration -[เรก]-จิส-[[เตร]]-ฉัน- การลงทะเบียน registry -[เรก]-จิส-ตรี- ฐานข้อมูลการลงทะเบียน registrar -[เรก]-จิส-ตราร- นายทะเบียน

  • We need to register for this class.

Determine / Determination

Determine เป็นศัพท์โปรดของผม พบบ่อย และก็ได้ยินคนไทยชอบออกเสียงผิดอีกเช่นกัน determine ออกเสียงเน้นพยางค์ที่สองว่า -ดิ-[เทอร]-มีน- เป็นกริยาที่มีความหมายกว้าง จะแปลว่า หาให้พบก็ได้ หรือ ตัดสินก็ได้ หรือ ตัดสินใจก็ได้ เมื่อเป็นคำนาม determination ออกเสียงว่า -ดิ-[เทอร]-มิ-[[เน]]-ฉัน- ลองดูตัวอย่างการใช้กัน

  • How do we determine the age of the earth?
Copyright © 2013-2025 betterenglishforthai.net