The Birth of a Word

อาจารย์ที่ MIT ชื่อ เดบ รอย เขาทำวิจัยน่าสนใจ และก็เป็นเรื่องใกล้ ๆ ตัว  เขาตั้งกล้องอัดวีดีโอในบ้านไว้ตั้งแต่ลูกเกิดเป็นเวลาสามปี ทั้งเสียงทั้งภาพ รวมเป็นวีดีโอ กับ เสียงทั้งหมดกว่าสองแสนชั่วโมง แล้วก็ใช้คอมพิวเตอร์มาวิเคราะห์ สร้างเป็นภาพสามมิติของทั้งบ้าน จะค้นหาว่าลูกเริ่มเดินก้าวแรกตอนไหน พูดคำแรกอะไรตอนไหนก็ได้ เขาก็เอามาวิเคราะห์ ว่าลูกพูดคำว่า water มีพัฒนาการเป็นอย่างไร เริ่มจากพูดว่า gaga จนพอฟังออกว่าเป็น water ได้รับอิทธิพลจากการเห็นหรือการได้ยินผู้ใหญ่รอบตัวอย่างไร บ่อยแค่ไหน ตอนไหน  เรื่องการวิเคระห์ หรือ การแสดงผลนี้ก็ต้องใช้จิตนาการหน่อยนะครับว่า จะวิเคระห์อะไร พล็อตกราฟอะไร อย่างไร ให้มันดูได้เรื่อง เพราะข้อมูลมันมหาศาล

เขาก็ยังแสดงให้ดูว่า สามารถเอาเทคโนโลยีเดียวกันนี้ ไปวิเคระห์รายการทีวี และการพูดโต้ตอบกันของคนใน Social media (ก็พวกเฟสบุค ทวิตเตอร์ และอื่น ๆ) ถ้าถามว่า เอาข้อมูลมาวิเคระห์แล้วได้ประโยชน์อะไร ดูสนุก ๆ เท่านั้นหรือ ถ้าให้ผมเปรียบเทียบ ก็เหมือนสมัยก่อนที่คนคิดค้นกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องส่องดูดาวได้ ทำให้คนเรามองเห็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น เรามองเห็นเนื้อหนัง แต่ไม่เห็นว่าในเซลล์เป็นอย่างไร  เรามองเห็นท้องฟ้า ดวงดาวแต่ไม่เห็นว่าข้างในดาวแวบ ๆ นั้นมีอะไร  สมัยก่อนผมก็คิดว่า คงมีคนถามเหมือนกันว่า เห็นเซลล์ชัด ๆ  เห็นดาวชัด ๆ แล้วก็ดูสวยดี น่าสนใจ แต่จะดูไปทำไม กินก็ไม่ได้  ฮ่า ผมว่า ถ้ามนุษย์ยังไม่มีกล้องจุลทรรศน์ใช้ เทคโนโลยีต่าง ๆที่มีอยู่ในปัจจุบันในโลก อย่างน้อยน่าจะต้องล้าหลังไปไม่ต่ำกว่า 50 ปี

นี่ก็เหมือนกันครับ เราเห็นเด็กโตทุกวัน เห็นทีวีทุกวัน เห็นคนคุยกันทุกวัน แต่เรายังไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ นา ๆ และรายละเอียดอื่น ๆ ซึ่งบางอย่างเราก็ไม่รู้แม้แต่ว่าจะถามว่ามีอะไรบ้างที่จะดูได้  สิ่งที่เขาทำ และนักวิจัยหลาย ๆ คนทำอยู่ก็เหมือนเป็นกล้องจุลทรรศน์ และกล้องโทรทรรศน์เพื่อส่องดูพฤติกรรมมนุษย์นั่นเอง

Updated: 2 พฤษภาคม 2014

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

5 × two =

Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net