Legacy

Legacy (-[เลก]-เกอะ-สี่-) ก็เป็นอีกคำที่เห็นบ่อย แต่ผมก็นึกคำแปลภาษาไทยไม่ได้ legacy หมายถึง สิ่งที่คนหนึ่ง ๆ ทำไว้ให้คนรุ่นหลัง ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งใจทำนะครับ แต่ถ้าเป็นอะไรที่เขาทำไว้ สร้างไว้แล้วส่งผลต่อคนรุ่นหลังก็ถือเป็น legacy ครับ เวลาคนดังเสียชีวิต หรือ พ้นจากตำแหน่ง คนก็จะพูดถึง legacy ของเขาว่า สมัยเขาอยู่ หรือสมัยเขาดำรงตำแหน่งอยู่ ได้ทำอะไรไว้ สร้างอะไรไว้ ที่จะยืนยาวส่งผลต่อไป

ของไทยมีคำว่า อนุสรณ์ ซื่งก็ใกล้เคียงแต่ไม่ตรงเป๊ะ อนุสรณ์ (memorial ) ผมว่าใช้สำหรับให้คนรุ่นหลังระลึกถึง ให้จำได้ แต่ legacy ให้ความหมายถึง ผลงาน และผลกระทบต่อคนรุ่นหลังมากกว่า อาจจะใกล้เคียงกับคำว่า วีรกรรม มากกว่า

legacy ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องดีเสมอไป มหาโจรก็สร้าง legacy ได้ และก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเสมอไป เป็น legacy ของเหตุการณ์ก็ได้ ดูตัวอย่างเช่น

  • The sad legacies of world war 2 endure long after it had ended.

Simply, Basically, Essentially, Fundamentally

สมัยไปอเมริกาใหม่ ๆ มีคำ ๆ หนึ่งที่ผมได้ยินคนใช้บ่อย ๆ โดยเฉพาะเวลาเรียนหนังสือ แต่ตัวเองไม่เคยใช้มาก่อนในชีวิต ก็คือ basically (-[เบ]-สิก-ลี-) ก็มาคิดว่า basic ก็แปลว่า พื้นฐาน แล้วพอมาเป็น adverb มันแปลว่าอะไรหว่า จะแปลว่า “ว่ากันตามพื้นฐานแล้ว” (ซึ่งคนไทยไม่ค่อยมีคนพูดกันแบบนี้) หรือ “ว่ากันตามเนื้อผ้า” หรือ “ว่ากันแบบง่าย ๆ”

By and Large

สำนวนที่แปลว่า “โดยปกติแล้ว” หรือ “โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว” ในภาษาอังกฤษมีให้เลือกใช้มากมายนะครับ เช่น

  • By and large , this is a good place to work. โดยทั่วไปแล้ว ที่นี่เป็นที่ทำงานที่ดี
  • For the most part,

การเขียนชื่อไทยในภาษาอังกฤษ

เคยเขียนเรื่องนี้ไปบ้างแล้ว ก็ลองมารวบรวมเขียนอีกสักที การเขียนชื่อไทยในภาษาอังกฤษนี่เป็นปัญหาใหญ่ครับ เพราะ เรามีเสียงสระที่หลากหลายกว่า มีเสียงวรรณยุกต์ที่ผันตามความหมาย พยัญชนะบางเสียงภาษาอังกฤษก็ไม่มี และภาษาอังกฤษนั้นสระรูปเดียวกันก็ออกเสียงได้หลายแบบแล้วแต่คำ เช่น a จะเป็น อา เอ หรือ แอก็ได้ u จะเป็น อุ อู หรือ อันก็ได้ เวลาเขียนคำไทยเป็นอังกฤษจึงค่อนข้างเป็นเรื่องของศิลปนิดหน่อย บางทีเอาแน่นอนไม่ได้ บางทีต้องเลือกว่าจะเอาเสียงใกล้เคียง หรือรูปใกล้เคียง ถ้าเอาเสียงใกล้เคียงต้องมีความรู้ว่าคำในภาษาอังกฤษที่คล้าย ๆ กับที่เราเขียน เขาออกเสียงอย่างไร และก็ต้องระมัดระวังไม่เขียนเป็นคำที่มีความหมายไม่ดีในภาษาอังกฤษ

  • ตัวอย่างเช่น อ่อนนุช ผมรู้สึกว่าทางการเขียนว่า On Nut เราก็รู้สึกว่าน่าจะเขียนเป็น On Nood ทำไมต้องทำให้ฝรั่งออกเสียงไม่ถูก ถ้าจะเขียนว่า On Nude ก็เสียงถูกแต่รูปผิด เพราะตรงกับคำไม่ดี เพราะฉะนั้น On Nood ดีกว่า
  • คำว่า พรเทพ เราเขียนเป็น Pornthep ผมก็รู้สึกว่าน่าจะเขียนเป็น Ponthep ตัว R นั้นนอกจากทำให้ตรงกับคำที่ความหมายไม่ดีแล้ว ยังทำให้ออกเสียงผิดด้วย คำว่า พล กับ พร นั้นเขียนให้ใกล้เคียงที่สุดในภาษาอังกฤษก็เป็น pon เหมือนกันครับ เพราะ R นั้นไม่มีในเสียงไทย เราใช้แทนตัวเสียง ร แต่คำว่า พร นั้นคือ พอน ไม่มีเสียง ร ถ้าชื่อพลเทพ ก็ต้องบอกเขาว่า ออกเสียง pon ให้สั้นหน่อยเท่านั้นเองเช่นเดียวกันคำว่า กรณ์ ก็ควรเป็น kon ไม่ใช่ korn
  • ส่วนคำว่า thep นั้น h ไม่มีความจำเป็น แต่ใส่ไว้ก็ไม่ผิด ก็บอกเขาว่าให้ออกเสียงยาวหน่อย ถ้าจะให้ใกล้เสียงไทยมากขึ้นก็ใช้ theb ก็ได้ คำที่ลงด้วย b นั้นในภาษาอังกฤษออกเสียงยาวและแน่นกว่าลงด้วย p แต่เนื่องจากตัว p รูปเหมือน พ ในภาษาไทย ดังนั่้น ใช้ thep จึงดูดีกว่า ยอมเพี้ยนเสียงนิดหน่อย
  • คำว่า สุขุมวิท ทางการเขียนเป็น Sukhumvit ถ้าให้เสียงใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็น Sukumwid หรือ Sukoomwid เมือพิจารณารูปประกอบด้วย ผมว่าก็น่าจะเป็น Sukumwit ไม่มีความจำเป็นต้องใส่ h ส่วน ว แหวนนั้น ควรเป็นตัว w ทั้งสิ้น เสียง v ไม่มีในไทย และไม่มีตัวใช้แทน
  • คำว่า วานิช เป็นผมก็จะเขียนเป็น Wanit แทนที่จะเป็น Vanich เพราะเขาจะได้ไม่อ่านเป็น วา-นิด-เชอะ- เข้าใจครับว่า ช กับ ch รูปตรงกัน แต่คำไทยไม่มีเสียงลงท้าย มีแต่ตัวสะกด ถ้าคุณชอบน้ำลายพ่นใส่หน้าก็เอา ผมไม่เอาครับ และขี้เกียจบอกเขาว่า ไม่ต้องเชอะได้ไหม เสียง เทอะ จาก t นั้นน้ำลายเบากว่า ch เยอะ
  • คำว่า ภูษิท ก็น่าจะเป็น Poosit หรือ Pusit แทนที่จะเป็น Phusit คำที่มี ph นั้นออกเสียงเป็น f แทบทั้งสิ้นในภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องทำให้สับสน
  • ตัว ก ก็น่าจะใช้แทนด้วย g ครับ แต่เราชอบใช้ k เช่น กิ่งแก้ว ก็ควรเป็น Ging Gaew แทนที่จะเป็น King Kaew เสียง ป ในภาษาอังกฤษไม่มี เราก็เลยต้องใช้ p แทน แต่เสียง ก นั้นมีคือ g ไม่จำเป็นต้องใช้ k แทน

ผมร่ายยาวมา ต้องขออภัยที่วิจารณ์ มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้ความรู้เท่านั้น และเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ถ้าเป็นชื่อของเรา เราพอใจจะเขียนอย่างไร และบอกคนอื่นว่าออกเสียงอย่างไร ก็เป็นเรื่องของเรา ไม่มีผิดครับ ท้ายที่สุด ขอคำสุดท้าย ถ้าบังเอิญใครต้องเไปเขียนคำว่า ฟักทอง เป็นภาษาอังกฤษ เป็นผมก็จะเขียนว่า Fag Thong ซึ่งฝรั่งก็จะอ่านว่า ฝากทอง เราก็บอกว่า เออ ใช่ คุณออกเสียงชัดมากเลย เพราะคำว่า ฟัก (f,

คำที่คนไทยมักเน้นเสียงผิด

เขาว่าสำเนียงไทยแท้พูดแบบราบเรียบ ไม่มีการเน้นพยางค์ แต่จริง ๆ แล้วมีการเน้นทางอ้อมอยู่นิดหน่อยครับ เนื่องจาก 1) เรามีการใช้ระดับเสียงขึ้นลงที่คงที่ พยางค์ที่เราออกเสียงเป็นโท ตรี ก็ฟังเหมือนเน้นมากกว่าพยางค์ที่เป็นเสียงสามัญ และเอก 2) บางพยางค์เราก็ออกเสียงเร็วตามความนิยม ทำให้ฟังเหมือนไม่เน้น ดังนั้น สำเนียงไทย ในบางคำก็เลยฟังเหมือนไปเน้นพยางค์ผิดตัว ทำให้ฟังไม่รู้เรื่อง ใครที่พยายามเน้นแต่ไปเน้นผิดพยางค์ก็ยิี่งไปกันใหญ่

ตัวอย่างเช่น คำว่า advertise เน้นพยางค์แรก กับพยางค์ที่สาม สำเนียงไทยเราพูด แอ๊ด-เวอ-ไทส ซึ่งก็ฟังเหมือนเน้นพยางค์แรกและพยางค์ที่สาม ก็เลยถูกโดยบังเอิญ แต่คำว่า advantage เน้นพยางค์ที่สอง แต่สำเนียงไทยพูดเหมือนเดิมว่า แอ๊ด-แวน-เทจ ซึ่งฟังเหมือนเน้นพยางค์ที่หนึ่ง ก็กลายเป็นผิดไป ถ้าพูดให้ถูกก็ต้องลดเสียงพยางค์แรกลง แล้วเน้นพยางค์ที่สองให้ยาวและสูงขึ้น เป็น แอด-แว๊น-เทจ (แบบอเมริกัน) หรือ แอด-ว๊าน-เทจ (แบบอังกฤษ) วิธีเขียนคำอ่านของผม จะเอาพวกวรรณยุกต์ออก เพราะมันขึ้นกับสำเนียงและอื่น ๆ ก็เลยเขียนโดยใช้วงเล็บสี่เหลี่ยมบอกการเน้นพยางค์แทน เป็น -แอด-[แฯน]-เทจ- และ advertise ก็เป็น -[[แอด]]-เฯอะ-[ไทส]-   (Note: เสียง v ไม่ใช่ ว นะครับ ผมแทนด้วย ฯ  กดอ่านรายละเอียดได้ที่ เสียงตัว v)

คำบางคำ ก็เน้นพยางค์ไหนก็ได้ เพราะมีคนพูดทั้งสองแบบ เช่น address ถ้าเป็นคำกริยาต้องเน้นพยางค์ที่สอง แต่ถ้าเป็นคำนามมีคนพูดทั้งสองแบบ -แอด-[เดรส]- หรือ -[แอด]-เดรส- ก็ได้

คำอื่น ๆ ที่เรามักเน้นผิด ทำให้คนอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง ก็เช่น

  • advance -แอด-[ฯานส]- (แบบอังกฤษ) หรือ -แอด-[แฯนส]- (แบบอเมริกัน)  เน้นพยางค์ที่สอง
  • advice -แอด-[ไฯส]- เน้นพยางค์ที่สอง
  • orange -[ออ]-เรนจ-  เน้นพยางค์ที่หนึ่ง
  • effect -อิ-[เฟคท]- หรือ -เอะ-[เฟคท]- เน้นพยางค์ที่สอง
  • exam  -เอก-[แซม]- เน้นพยางค์ที่สอง
  • example -เอก-[ซาม]-เปิล- (แบบอังกฤษ) หรือ -เอก-[แซม]-เปิล- (แบบอเมริกัน)  เน้นพยางค์ที่สอง
  • mobile -[โม]-เบาล- หรือ -[โม]-เบิล-เน้นพยางค์ที่หนึ่ง
  • suggest -สัก-[เจสท]- เน้นพยางค์ที่สอง
  • appreciate -แอพ-[[พริ]]-ชิ-[เอด]-เน้นพยางค์ที่สอง
  • entrance -[เอน]-ทรานส- เน้นพยางค์ที่หนึ่ง

ฯลฯ มีอีกเยอะ ไว้คิดได้ค่อยใส่เพิ่มครับ ใครเห็นคำอื่นก็ขอเชิญแนะนำมาได้

สนใจอ่านรายละเอียดของการออกเสียงพยางค์ที่ไม่เน้นได้ที่ เสียงสระ ə

After the fact

after the fact แปลตามตัว คือ หลังจากความจริงกระจ่ายออกมาแล้ว ก็คือ หลังจากเหตุการณ์ผ่านพ้นไปแล้ว นี่ก็คือ การกระทำบางอย่าง ถ้าทำล่วงหน้าก็อาจจะมีความไม่แน่นอน เช่น การวางแผน การทำนาย หรือการทำงานทั่ว ๆ ไปซึ่งต้องขึ้นกับปัจจัยภายนอก เช่น

  • Did you write this plan beforehand or after the fact?

Ahead of time

Ahead of time แปลว่า ล่วงหน้าครับ หรือ ก่อนที่เหตุการณ์อะไรบางอย่างจะเกิดขึ้น  จะใช้คำว่า beforehand หรือ in advance ก็ได้ คำที่เราคุ้นเคยกันที่ความหมายคล้าย ๆ กับ ahead of time แต่เบากว่าหน่อยก็ ก็คือคำว่า early ตัวอย่างเช่น

  • Let’s go there early.
Copyright © 2013-2025 betterenglishforthai.net