Make Do, Makeshift

เวลาเราอยากจะใช้ของอะไรสักอย่างแต่ไม่มี มีแต่ของอื่นที่พอทดแทน หรือพอถูไถใช้แทนกันไปได้ เช่น ไม่มีค้อนแต่เอาก้อนหินใช้แทน อย่างนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า make do ใช้สองคำติด ๆ กันอย่างนี้ เป็นคำกริยา  กริยาแท้คือ make ครับ ถ้าเป็นอดีตก็ made do  เช่น

  • We did not have a hammer but made do with a stone.  

As Well

มาดูสำนวน as well กันหน่อยครับ มีน้องถามมา  ผมเข้าใจว่าอาจจะงงก็เพราะ well เป็นคำวิเศษณ์ (adverb) ที่แปลว่า ดี  มันมีประโยคที่แปลปกติ ๆ ว่า ดี เหมือนกันเช่น

  • I don’t feel as well today.  ฉันรู้สึกไม่ค่อยดีนักวันนี้  ความหมายคล้ายกับ I don’t feel so well today.

Last Straw

Last straw ก็หมายถึง ฟางเส้นสุดท้าย คำว่า straw แปลว่า เส้นฟางก็ได้ แปลว่า หลอด(ดูดน้ำ)ก็ได้  เพราะฟางหนึ่งเส้นก็มีรูปร่างเหมือนหลอดนั่นเอง แต่ถ้าฟางที่เป็นมัด ๆ เป็นกอง ๆ เขาก็เรียกว่า hay

สำนวนฟางเส้นสุดท้ายของไทย ก็มาจากภาษาอังกฤษว่า the last straw คือ เรื่องอะไร หรือปัญหาอะไรที่มันหมักหมกมานาน จนกระทั่งมาเจอเรื่องสุดท้ายทำให้แตกหักขึ้นมา หรือเรื่องอะไรที่เราทนมานาน จนเจอเรื่องสุดท้าย ที่ทำให้ทนไม่ไหวแล้ว ต้อง take action หรือ ทำอะไรสักอย่างแล้ว เช่น

  •  That was the last straw for me so I fired him.  

Speak Up

Speak up มีสองความหมายครับ ความหมายแรก คือ พูดให้เสียงดังขึ้น หรือ speak louder  เช่น

  • Can you speak up a little bit?  คุณพูดเสียงดังขึ้นอีกหน่อยได้ไหม   ก็เหมือนกับ  Can you speak a little louder?

สำนวนในการพูดคุยโทรศัพท์ภาษาอังกฤษ

วันนี้มาดูสำนวนที่เกี่ยวข้องกับการพูดโทรศัพท์กันหน่อย   รับโทรศัพท์ วางหูโทรศัพท์ สายไม่ว่าง และอื่น ๆ สำนวนเหล่านี้ภาษาอังกฤษพูดว่าอย่างไร  เป็นเรื่องง่าย ๆ ใช้กันประจำ แต่ถ้าเราไม่เคยได้ยิน หรือไม่เคยใช้ ก็เป็นเรื่องได้เหมือนกัน เช่น

  • รับโทรศัพท์ เมื่อก่อนโทรศัพท์บ้าน มันต้องยกหูขึ้นมา ก็เรียกว่า pick up the phone  หรือ pick up the call   สมัยนี้ก็ยังใช้ได้  แต่ให้เป็นกลาง ๆ ก็ใช้ว่า  answer the phone หรือ answer the call  ใช้ได้กับทั้งโทรศัพท์เก่า หรือ โทรศัพท์มือถือ
    • Can you pick up the phone?  

อ่านอย่างไรให้เพิ่มทักษะภาษา

มีแฟนเพจถามมาว่า “คิดว่าการอ่านแบบไหนที่จะพัฒนาการเขียนได้ดีที่สุด เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ข่าว บทความทั่วไป นิตยสาร ตำราวิชาการ หรืออื่นๆ ผมเข้าใจว่าการที่จะเขียนให้ดี ให้เก่ง ให้สวย ต้องอ่านเยอะๆ แต่ควรอ่านแนวไหนดี”

ผมขอตอบกว้าง ๆ ก่อนว่า อ่านอะไรที่จะเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษโดยทั่วไป ปัญหาของคนไทยที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษอ่อนก็คือ หนึ่งเจอศัพท์ที่ไม่รู้จักเยอะ ทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง สองอาจจะพอเข้าใจความหมายแต่ไม่รู้วิธีออกเสียง ทำให้ออกเสียงผิด ถ้าจะอ่านไปเปิดดิกไปก็ทำให้ไม่สนุก ถ้าจะไมเปิดดิกเลย ก็จะไม่เข้าใจความหมาย หรือเข้าใจผิด หรือ จำวิธีออกเสียงผิด ๆ ไป เด็ก ๆ ที่เรียนภาษานั้นเขาก็มีผู้ปกครอง หรือครูอ่านให้ฟัง และก็มีหนังสือเด็ก ๆ ให้อ่านตามวัย ดังนั้นคำศัพท์ต่าง ๆ ก็จะพัฒนาตามวัย และก็รู้วิธีออกเสียงโดยอัตโนมัติเพราะมีคนอ่านให้ฟัง แต่สำหรับเรามันไม่โชคดีขนาดนั้น หนังสือเด็กในไทยมีน้อยมาก และถึงมีก็เอามาให้เด็กโตอ่านไม่ค่อยสนุก เพราะเนื้อเรื่องเป็นแบบเด็ก ๆ

บางคนก็แนะนำว่าอย่าอ่านไปเปิดดิกไป ผมไม่เห็นด้วยนัก ผมว่าก็ทำได้เฉพาะถ้าเรามีทักษะถึงขั้นหนึ่งแล้ว พอเข้าใจเนื้อเรื่องโดยส่วนรวม พอเดาความหมายได้ โดยปกติถ้าเราเจอคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่รู้สึกว่าสำคัญ หรือเคยเห็นแต่ยังไม่เข้าใจ ก็ควรเปิดดิกให้เข้าใจความหมาย และการออกเสียง และตัวอย่างการใช้ก็เห็นอยู่แล้วในเรื่องที่อ่านอยู่ เดี๋ยวนี้โทรศัพท์มือถึอก็มีดิกที่ออกเสียงได้ การเปิดดิกไม่วุ่นวายเหมือนสมัยก่อน

ผมก็ขอแนะนำให้ อ่านเรื่องที่เราสนใจ และอ่านเรื่องทีี่เรามีพื้นฐานความรู้อยู่บ้างแล้ว เช่น เราอาจจะชอบอ่านนิยายฝรั่ง ก็เอาฉบับแปลมาอ่านก่อนจนจบ เสร็จแล้วก็ไปหาฉบับอังกฤษมาอ่านซ๊ำ อ่านไปก็เปิดดิกไป ทำความเข้าใจกับภาษาไป รับรองว่าอ่านเล่มเดียวได้ทักษะเพิ่มขึ้นเยอะ พออ่านเล่มที่สองที่สามมันก็เร็วขึ้น ในที่สุดอาจจะไม่ต้องอ่านฉบับไทยก่อนเลยด้วย ใครชอบติดตามกีฬาก็ลองไปอ่านข่าวกีฬาภาษาอังกฤษดู ชอบติดตามข่าวในประเทศ หลังจากอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ไทยแล้วก็ไปอ่านฉบับภาษาอังกฤษดู เดี๋ยวนี้ Bangkok Post หรือ The Nation ก็มีให้อ่านออนไลน์ เด็กคนไหนชอบอ่านการ์ตูนก็ไปหาการ์ตูนภาษาอังกฤษให้อ่าน เห็นรูปประกอบไปด้วยก็ทำให้เข้าใจมากขึ้น

สำหรับ คำถามว่า อ่านอะไรที่จะเพิ่มทักษะการเขียนโดยเฉพาะ อันนี้ผมคิดว่า ก่อนอื่นต้องศึกษาไวยกรณ์พื้นฐานให้ดีก่อน พออ่านแล้วก็มองให้เห็นโครงสร้าง และไวยกรณ์ของประโยค ไม่เพียงแต่เข้าใจความหมาย บางทีคนเขียนใช้ไวยกรณ์ผิดก็มีถมไป เราก็ควรจะดูให้ออก ภาษาไทยนั้นมีโครงสร้างการเขียน และไวยกรณ์ที่อ่อน หมายถีงกฏเกณฑ์ที่อ่อนเมื่อเทียบกับภาษาอังกฤษ ดังนั้น ข้อนี้ก็เป็นจุดอ่อนหนึ่งของคนไทย

เมื่อไวยกรณ์ใช้ได้แล้ว ก็อ่านสิ่งที่เราอยากเขียน อยากเขียนนิยายก็อ่านนิยาย อยากเขียน essay หรือบทความ ก็อ่านบทความของคนอื่น หรือ พวกคอลัมน์วิเคราะห์ข่าว หรือแสดงความเห็นที่เกี่ยวกับข่าว อยากเขียนบทความวิชาการ ก็อ่านบทความวิชาการ ฯลฯ อันนี้ก็ทำให้เราสามารถศึกษาสไตล์การเขียน และเอามาดังแปลงใช้กับของเราได้ การลอกเลียนประโยคโดยตรงนั้นทำไม่ได้ แต่การลอกเลียนสไตล์นั้นไม่เป็นไร ลอกไปลอกมา เราก็สามารถปรับเป็นสไตล์เราเองได้

สำหรับมือใหม่ ถ้าเราเขียนแล้วก็ควรให้ครู หรือคนอื่นตรวจดูว่ามีที่ผิด หรือมีข้อติ ข้อแนะนำอะไร ถ้าใครหาคนตรวจไม่ได้ ก็ส่งมาให้ผมอ่านได้ครับ (ยินดีรับใช้ สำหรับนักเรียน และนักศึกษาเท่านั้นนะครับ) มีหนังสือที่แนะนำวิธีเขียนอยู่มากมายครับ ผมเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอะไร การเขียน ก็เช่นเดียวกับการพูดปราศรัย เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน ไม่ใช่ว่า เป็นเจ้าของภาษา อ่านออก ฟังได้ก็จะทำได้ดีกันทุกคน

Unanimous

ช่วงนี้เห็นคำนี้ในข่าวเยอะครับ ก็เอามาเล่าสู่กันฟัง  unanimous แปลว่า เป็นเอกฉันท์ ใช้กับอะไรก็ได้ที่ต้องมีการออกเสียง หรือลงคะแนน ใครชอบดูมวยคงเคยเห็นคำนี้ เวลาเขาจะประกาศว่า ชนะโดยคะแนนแบบเอกฉันท์ ก็พูดว่า win by a unanimous decision  unanimous ออกเสียงเน้นพยางค์ที่สองว่า -ยู-[แน]-นิ-มัส-

ถ้าต้องการจะบอกว่า ชนะแบบไม่เป็นเอกฉันท์ ภาษาอังกฤษก็พูดว่า win by a split decision  ดูตัวอย่างเพิ่มเติมเช่น

  • He was elected as the chair by unanimous vote.  
Copyright © 2013-2025 betterenglishforthai.net