Real, Reality

คำว่า real อ่านว่า -เรียล- เวลาเป็นคำนาม reality คนไทยชอบอ่านผิด และไปยืมมาทับศัพท์ว่า เรียวลิตี้ จริง ๆ ต้องออกเสียงเพิ่มอีกหนึ่งพยางค์ และแถมเป็นพยางค์ที่เน้นด้วย เป็น -ริ-[อัล]-ลิ-ที- พยางค์หลังจะออก -ตี- หรือ -ดี- ก็ได้ มาดูตัวอย่างการใช้กัน

  • This guy is for real. หมอนี่มันของจริงว่ะ for real เป็นสำนวน แล้วแต่สถานการณ์ อาจจะหมายถึง มีตัวตนจริง หรือเก่งจริง หรือเอาจริงก็ได้ ส่วน guy -กาย- เป็นภาษาพูดใช้เรียกผู้ชาย คล้ายเราเรียกกันนี่ หมอนี่ ประมาณนั้น
  • You don’t know the real meaning of life.

Kind of, Sort of

สำนวน kind of หรือ sort of ถ้าใช้ในแบบปกติที่เราเรียนกันมาจากโรงเรียน ก็มักขึ้นด้วย a หรือ some หรือ the เช่น Dog is a kind of animals.  แต่ที่จะพูดถึงในตอนนี้เป็นแบบที่ดูประหลาดหน่อย แต่ผู้คนใช้กันโดยทั่วไปในภาษาพูด   ตอนผมได้ยินคนพูดแรก ๆ  ต้องแอบมาถามเพื่อนที่อยู่อเมริกามาก่อนว่า เฮ้ย นี่มันไวยกรณ์ประเภทไหนเนี่ย  เห็นใส่หน้าคำกริยามั่ง หน้าคำคุณศัพท์มั่ง มั่วไปหมด ก็สรุปได้ ไม่มีหลักไวยกรณ์อะไร ใช้เหมือนกับเป็นคำ ๆ เดียวเป็น adverb ไปในภาษาพูด  ความหมาย และวิธีใช้คล้ายกับคำว่า somewhat แต่จะออกแบบไม่เป็นทางการมากกว่า แปลว่า ค่อนข้าง หรือ แบบว่า  หรือ เหมือนว่า   ดูตัวอย่างเอาเลยก็แล้วกันครับ

  • I kind of like this color.  

Effect / Affect

Effect ออกเสียงเน้นพยางค์หลังว่า -อิ-[เฟคท]- คนไทยชอบเน้นผิดพยางค์ เพราะเราไปยีมคำนี้มาทับศัพท์ เช่น คำว่าซาวด์เอฟเฟค เป็นต้น effect เป็นคำนามแปลว่า ผล หรือ ผลกระทบ เวลาใช้เป็นคำกริยา เขียนว่า affect ออกเสียงแทบเหมือนกันเลย ว่า -เอะ-[เฟคท]- จริง ๆ แล้วผมก็จำง่าย ๆ ว่า สองคำนี้ออกเสียงเหมือนกัน เพราะพยางค์แรกเบา และสั้นมาก จะ -อิ- หรือ -เอะ- ก็ฟังแทบจะไม่ต่างกันเลย มาดูตัวอย่างการใช้กัน

  • This drug may have some side effects.

Increase / Decrease

เห็น effect กับ affect ที่เขียนต่างกันเวลาเป็นคำนามกับกริยา แต่ออกเสียงเหมือนกันแล้ว ลองมาดูคำที่เขียนเหมือนกันทั้งคำนาม และกริยา แต่ออกเสียงต่างกันบ้าง increase เวลาเป็นคำนาม ออกเสียงว่า -[อิน]-ครีส- แต่พอใช้เป็นคำกริยา เปลี่ยนเป็นเน้นพยางค์หลังเป็น -อิน-[ครีส]- มาดูตัวอย่างการใช้กัน

  • The increase in food prices is alarming. -ดิ- -[อิน]-ครีส- -อิน- -ฟูด- -[ไพร]-สิซ- -อีซ- -อะ-[ลารม]-มิง- การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารเป็นไปอย่างน่าตกใจ
  • Food prices are increasing very quickly.

Matter

Matter ออกเสียงแบบอเมริกันก็ -[แม]-เดอระ-  ออกให้ตามพจนานุกรมก็ -[แม]-เทอระ-   มีหลายความหมาย จะแปลว่า สสาร ก็ได้  แต่ตอนนี้เรามาดูความหมายที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งป็นได้ทั้งคำนาม และกริยา ถ้าแปลแค่คำเดียวยากหน่อย ขอให้ลองดูสถานการณ์ที่ใช้กันครับ

เวลาเป็นคำนามแปลว่า เรื่องราว หรือประเด็น

  • What’s the matter?  มีเรื่องอะไรกัน (เมื่อเห็นใครทะเลาะกัน หรือทำอะไรวุ่นวายผิดปกติ)
  • The fact of the matter is …  เรื่องของเรื่องมันเป็นอย่างนี้ คือ …  (พวกนักการเมืองพูดบ่อย)
  • This is a matter of life and death. 

That’s pretty good.

คำว่า pretty ออกเสียงตามแบบอเมริกันว่า -[พริ]-ดี- เราคงรู้จักกันดีเมื่อเป็นคุณศัพท์แปลว่า น่ารัก หรือ น่าดู  ที่น่าสนใจคือ คำนี้ยังนิยมใช้ในภาษาพูด เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำคุณศัพท์ได้ เช่น That’s pretty good.  แปลว่า โอ้นั่นดีจัง หรือเก่งจัง   ก็ได้ยินอยู่เป็นประจำ  pretty good, pretty fast, pretty slow, pretty ต่าง ๆ นา ๆ  ใช้เหมือนกับคำว่า very แต่ความแรงอ่อนกว่าหน่อย  ถ้าจะให้เรียงลำดับคำขยายที่แปลว่า มาก ที่ใช้กันบ่อย ๆ ก็คิดว่าเป็นดังนี้

  • That’s really good. 

A as in Apple

ภาษาไทยเรามีชื่อที่บัญญัติ ประกอบกับตัวพยัญชนะทุกตัว เป็นมาตรฐานชัดเจน เช่น ก ไก่  ข ใข่  ค ควาย เวลาใครจะบอกตัวสะกดให้กันก็ไม่มีปัญหาอะไร  แต่ภาษาอังกฤษไม่ได้มีบัญญัติไว้เป็นมาตรฐานเหมือนเรา  ถ้าจะพูด A B C กันเฉย ๆ ก็ฟังไม่ค่อยจะชัดเจน โดยเฉพาะเวลาพูดโทรศัพท์  เวลาเขาจะพูดให้ชัดเจนขึ้น เขาก็จะพูดว่า A as in apple  “as in” ก็พูดเชื่อมกันเป็น -แอซ-ซิน-  ถ้าพูด -ซ- (z) ไม่ถนัดก็พูดเป็น -ส- (s) ก็ได้ครับ  ที่นี้ไอ้ตรงคำที่ใช้ก็มีปัญหาเหมือนกัน เพราะเนื่องจากไม่มีมาตรฐานกลาง  ต่างคนก็อาจใช้แตกต่างกันไป เช่น  A as in ant หรือ  A as in Andrew หรือ อื่น ๆ   เราที่เป็นมือใหม่ภาษาอังกฤษ ก็อาจจะนีกไม่ทัน ว่า A as in อะไรดี  หรือฟังเขาไม่ทันเวลาเขาพูดเร็วเป็นไฟมา   ยิ่งเจอคนมาจากชาติอื่น เขาก็อาจจะใช้คำประหลาด ๆ ทำเอางงได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้นก็ขอให้ฝึกให้ชินกับสำนวน  “as in something” นี้   เวลาฟังจะได้ฟังได้ทัน  และเวลาพูดก็คิดได้ทัน  และให้ลองฝึกใช้กับคำที่ไม่กำกวม และเราพูดได้ชัดเจน  ฝรั่งก็นิยมใช้คำที่เป็นชื่อเฉพาะเหมือนกัน เช่น ผมมักได้ยิน D as in David มากกว่า D as in dog  แต่ก็ถือว่าใช้ได้ทั้งคู่  ไม่มีผิด หรือถูกอะไร  เราจะใช้คำอะไรก็ได้ ขอให้เป็นคำที่ไม่กำกวม รู้จักกันโดยทั่วไป และเราพูดได้ถนัดก็เป็นใช้ได้   ลองดูตัวอย่างคำที่ใช้กันบ่อย ๆ จากที่นี่

ฝึกพูดกับชื่อตัวเองก่อนนี่แหละดีที่สุด  เวลาไปติดต่อใครทางโทรศัพท์ ก็มักจะต้องสะกดชื่อให้เขาฟัง   เช่น  ถ้าชื่อ Somchai  ก็พูดว่า  S as in Sam,

Copyright © 2013-2025 betterenglishforthai.net