ศัพท์และสำนวน

Foolish vs Stupid

foolish (-[ฟูล]-ลิฉ-) กับ stupid (-สะ-[ตยู]-ปิด-) ก็แปลเหมือนกันว่า โง่ แต่ความหมายไม่เหมือนกันซะทีเดียว   foolish เป็นโง่ทำนองอ่อนประสบการณ์  ไม่รู้เรื่องรู้ราว  ส่วน stupid นั้น เป็นโง่แบบไม่ใช้สมอง ไม่มีปัญญา  ทั้งสองคำจะใช้อธิบายการกระทำ หรืออธิบายลักษณะคนก็ได้  ดูตัวอย่างเช่น

  • I did something stupid yesterday.  

Smart vs Intelligent

คำว่าสมาร์ท คนไทยไปใช้ทับศัทพ์ในความหมายว่า หล่อ เท่ หุ่นดี  ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่ามาจากไหน  เพราะตามจริงแล้ว smart ในภาษาอังกฤษ แปลว่า เก่ง ฉลาด ปัญญาดี  คล้าย ๆ กับคำว่า intelligent ( -อิน-[เทล]-เละ-จึนท- )  โดยทั่วไปแล้วก็ใช้แทนกันได้  คำว่า intelligent ก็ฟังดูเป็นทางการ และวิชาการกว่าหน่อย  ใช้อธิบายได้ทั้งลักษณะคน หรือการกระทำ เช่น

  • You’re making a very intelligent decision. 

Smart vs Wise

ดังที่ได้กล่าวในตอนที่แล้วแล้วว่า smart เป็นความฉลาดแบบหัวดี ปัญญาดี  เด็ก ๆ เริ่มรู้ความ ทำโน่นทำนี่ได้  ผู้ใหญ่บางคนก็เริ่มชมแล้วว่า เด็กคนนี้ smart นะ  ก็เป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วไป และมีคำความหมายคล้าย ๆ กันหลายคำดังที่ได้กล่าวมาแล้ว   ส่วนคำว่า wise -ไวซ- นั้น มีความหมายแตกต่างออกไปชัดเจน  เป็นความฉลาดที่สูงส่งด้วยประสบการณ์ หรือความรอบรู้ ด้วยความเข้าใจถึงผลกระทบของการกระทำ ด้วยความเข้าใจถึงสัจธรรม หรือภาพรวมของสิ่งต่าง ๆ   ดังนั้น ไม่มีใครชมเด็กเล็ก ๆ ว่า wise หรอกครับ  และก็ไม่มีใครชมคนเรียนหนังสือเก่ง ๆ ว่า wise ด้วย  คนทำงานเก่ง ๆ ฉลาด ๆ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้อง wise เสมอไป

บางคนไปแปล wise ว่า รอบรู้ ซึ่งผมไม่เห็นด้วยนัก  รอบรู้ มีคำภาษาอังกฤษที่ตรงกัน คือ knowledgeable -[นอล]-ลิ-เจอะ-เบิล-  บางคนไปแปลว่า ชาญฉลาด  ซึ่งก็ไม่ตรงนัก แต่ก็อาจจะพอไปวัดไปวากันได้   ผมชอบคำแปลว่า มีความรู้แจ้ง  แต่มันก็ใช้ไม่ได้ทุกสถานการณ์  เช่น wise businessman  ถ้าไปแปลว่า นักธุรกิจผู้รู้แจ้ง  ก็ฟังดูตลก  เอาเป็นว่าเรามีความเข้าใจ แล้วใช้ถูกที่ก็แล้วกัน ปล่อยให้ปัญหาการแปลเป็นเรื่องของนักแปลไป  ลองดูตัวอย่างเช่น

  • Wise people learn from their mistakes,

Clever vs Smart

clever -[เคล]-เฯอระ- กับ smart -สะ-[มารท]- แปลเหมือนกันว่า ฉลาด  คนอังกฤษนั้นใช้คำว่า clever แปลว่า ฉลาดหัวดี มีไหวพริบ  แต่คนอเมริกันสมัยใหม่นิยมใช้คำว่า smart มากกว่า คำว่า clever นั้นก็ใช้แทนกันพอได้  แต่ clever จะออกไปในทางหัวแหลม  หรือมีเล่ห์เหลี่ยมหน่อย แต่ smart จะออกไปในทางหัวดี ปัญญาดี

Smart vs clever Google Ngram comparison

เปรียบเทียบประวัติการใช้คำว่า smart กับ clever ในวรรณกรรมของอเมริกัน 
ข้อมูลจาก Google Books Ngram Viewer

ผมจะขออธิบายแยกกันในสองสถานการณ์  คือ หนึ่งการใช้คำเหล่านี้อธิบายการกระทำ กับ สอง คือ การใช้อธิบายลักษณะของบุคคล

ถ้าเราเห็นใครทำอะไรฉลาด ๆ หรือ คิดอะไรฉลาด ๆ ออกมา เราจะพูดชมการกระทำนั้นว่า ฉลาด ก็พูดได้ว่า  That is clever. 

Proposal

อีกคำหนึ่งที่เรามักเน้นผิดพยางค์ เนื่องจาก บางคนใช้ทับศัพท์เวลาพูดไทย คือ proposal ออกเสียงเน้นพยางค์ที่สองว่า -โพร-[โพ]-สึล- เวลายื่นประมูลงาน หรือ ยื่นเสนองานอะไรก็ตามที่คนรับมีสิทธิเลือกว่าจะเอา หรือไม่เอา ตัวรายงานที่เรานำเสนอนี้ก็เรียกว่า proposal นึกไม่ออกว่า ภาษาไทยใช้คำว่าอะไร ใครรู้ช่วยบอกด้วย เวลาทำรายงานอันนี้ ภาษาอังกฤษเขาก็ใช้ว่า to make a proposal และเวลายื่นเสนองานนี้ ก็ใช้ว่า submit a proposal

คำว่า proposal ไม่จำเป็นต้องใช้แบบเป็นทางการอย่างเดียว จะแปลว่า ข้อเสนอเฉย ๆ ก็ได้ มาจากคำกริยาว่า propose -โพร-[โพส]- แปลว่า เสนอ คำว่า proposal มีความหมายคล้าย suggestion (-สัก-[เจส]-ชึน-) แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว suggestion เป็นข้อเสนอแนะทั่ว ๆ ไป แต่ proposal มักเป็นข้อเสนอแนะถึงแนวทาง หรือวิธีการ ดังนั้น คำนี้จะพบบ่อย ๆ ในที่ประชุม หรือเวลาถกปัญหากับใคร ถ้าเราจะเสนอว่าเรามีความคิดวิธีการในการแก้ปัญหา เราก็พูดได้หลายอย่าง เช่น

  • I have a proposal.

Individual

Individual คำนี้พบเห็นบ่อย ๆ ทั้งในภาษาพูด และเขียน อ่านว่า -[อิน]-ดิ-[[ฯิจ]]-จูอล-  ตัว d ตัวที่สองออกเสียง J เวลาเป็นคำนามก็หมายถึง บุคคลหนึ่ง ๆ หรือ สิ่งของชิ้นหนึ่ง ๆ โดยมากก็หมายถึงคนครับ เหมือนกับแปลว่า person แต่มีความหมายว่า คนเดียวเดี่ยว ๆ แยกกันกับคนอื่น ๆ เวลาเป็นคำคุณศัพท์ ก็หมายถึง เกี่ยวข้องกับแต่ละคน แต่ละอัน แยกกัน เคยดูการแข่งขันว่ายน้ำโอลิมปิกไหมครับ ถ้าแข่งว่ายผลัดเขาก็เรียน relay แต่ถ้าแข่งเดี่ยวเขาก็เรียก individual เช่น individual freestyle เดี่ยวฟรีสไตล์ หรือ individual medley ก็เดี่ยวผสม ดูตัวอย่างเป็นประโยคเพิ่มก็แล้วกันครับ เช่น

  • You can file your tax as an individual or as a married couple.

On the Right Track

พูดถึง right กับ wrong ก็ทำให้นึกถึงคำว่า track -แทรค- ที่มาจากรางรถไฟ (train track) ครับ คนอเมริกันชอบพูดอ้างอิงถึงรางรถไฟ ใช้พูดกับเรื่องอะไรก็ได้ เรื่องงาน เรื่องความรัก และอื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟ คิดว่าคนชาติอื่นก็น่าจะเป็นเหมือนกัน คนไทยเราเองก็มีสำนวน “ตกราง” เหมือนกันใช่ไหมครับ ตอนนี้ลองมาดูสำนวนพูดเกี่ยวกับรางรถไฟกัน เช่น

  • We are on the right track .
Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net