กริยาตัวแรกที่เราเรียนในโรงเรียน ผมว่า น่าจะเป็น กริยา to be มั่งครับ หรือ พวก is/am/are ที่เราท่องกันตั้งแต่เด็ก ๆ ว่า แปลว่า “เป็น อยู่ คือ” ลองทบทวนรูปประโยคที่ใช้กริยา to be เป็นกริยาแท้ดูนะครับ ได้แก่
- ตามด้วยคำนามก็ได้ เช่น This is a tree. I am John.
- ตามด้วยคุณศัพท์ก็ได้ เช่น This car is fast. John is good.
- ตามด้วยคุณศัพท์ที่บอกความรู้สึกก็ได้ เช่น This is interesting. I am interested.
- เป็นประโยคถูกกระทำก็ได้ เช่น The dog was beaten.
ทีนี้มีคำกริยาในภาษาอังกฤษอีกมากมายนะครับ ที่สามารถใช้ในรูปประโยคได้เหมือนกริยา to be แต่ให้ความหมายที่ต่างไป เช่น become แทนที่จะแปลว่า เป็น อยู่ คือ become นั้นแปลว่า กลายมาเป็น หรือ เกิดเป็นขั้นมา เช่น
- This becomes very interesting. อันนี้ชักจะน่าสนใจมากขึ้นมาล่ะ
- I became a fan of Michael Jackson after watching his show. ฉันกลายเป็นแฟนของไมเคิล แจ็กสันหลังจาดูโชว์ของเขา
- He has become ill. เขาเกิดป่วยขั้นมา
- You are becoming like him. คุณชักจะเหมือนเขาเข้าไปทุกทีแล้วนะ
- You will become a nice person after this. คุณจะกลายเป็นคนดีหลังจากนี้
สังเกตนะครับ ว่ารูปประโยคข้างต้น ตามด้วยคำนาม หรือ คำคุณศัพท์ เหมือนกับกริยา to be
นอกจาก become แล้วก็มีกริยาอื่นอีก ซึ่งตามด้วยคำคุณศัพท์ได้ become นั้นพิเศษหน่อยที่ตามด้วยนามก็ได้ ได้แก่
- get ความหมาย เหมือน become เช่น This gets interesting. อันนี้ชักน่าสนใจนะ
- look แปลว่า ดู เช่น This looks interesting. อันนี้ดูน่าสนใจนะ
- sound แปลว่า ฟังดู เช่น This sounds interesting. อันนี้ฟังดูน่าสนใจนะ
- seem แปลว่า ดูเหมือน หรือ ราวกับว่า หรือ ท่าทางเหมือน เช่น This seems interesting. อันนี้ท่าทางเน่าสนใจนะ
- appear คล้ายกับ seem แปลว่า ดูเหมือน หรือ ออกมาเหมือน เช่น This appears very white. อันนี้ออกมาดูขาวมากเลย
- feel แปลว่า รู้สึก เช่น This feels good. ฉันนี้รู้สึกดี
- smell แปลว่า ดมดู เช่น This smells good. อันนี้ดมดูดี ก็หมายความว่า อันนี้กลิ่นหอม
คำบางคำเช่น get, look, seem หรือ appear นั้น ย่อมาจากรูปเต็ม ของมันที่มี to be อยู่ด้วย เช่น
- This seems to be true. ก็ย่อได้ว่า This seems true.
- This appears to be true. ก็ย่อได้ว่า This appears true.
become นั้นพิเศษหน่อยที่ตามด้วยนามก็ได้ แล้วยังมีความหมายเดิม แต่กริยาคำอื่นนั้น ส่วนใหญ่ใช้ตามด้วยคุณศัพท์เท่านั้น บางคำถ้าตามด้วยคำนาม ก็กลายเป็นความหมายอื่นไป เช่น
- I get the car out. ฉันเอารถออก ในที่นี้ car เป็นกรรม และ get ก็ใช้ในอีกความหมายหนึ่ง ซึ่งแปลว่า เอา ไม่ได้มีความหมายเหมือน become เหมือนเวลาที่ใช้ตามด้วยคุณศัพท์
- I get to be a friend of his. ฉันได้กลายเป็นเพื่อนเขาคนหนึ่ง ก็ต้องใช้เป็น get to be นะครับ ถึงมีความหมายว่า กลายเป็น
สำนวนเทียบเท่า Verb to be
ไม่เพียงแต่คำเท่านั้น ยังมีสำนวนบางสำนวนที่มีวิธีใช้แบบนี้ คือ สามารถตามด้วยคำคุณศัพท์ หรือ คุณศัพท์ กับ คำนามก็ได้ เช่น
- turn out แปลว่า กลายเป็น ออกมาเป็น เช่น
- He turns out a nice person. ปรากฏว่าเขาเป็นคนดี (อัธยาศัยดี)
- This turns out wonderful. อันนี้ออกมางดงามมาก
- come out แปลว่า ออกมาเป็น เช่น
- After decoration, the cake came out very beautiful. หลังจากแต่งหน้าแล้ว เค้กออกมาสวยมากเลย
- come across as แปลว่า ทำท่าทางเหมือน หรือ ดูเหมือน เช่น
- Yesterday he came across as arrogant (to me). เมื่อวานนี้เขาทำท่าทางเหมือนออดดี
- He comes across as a nice person. เขาท่าทางเหมือนเป็นคนดี (อัธยาศัยดี)
- strike me as ความหมายก็คล้าย ๆ กับ come across as ครับ ลองใช้ในตัวอย่างเดียวกันเพื่อเปรียบเทียบกัน
- Yesterday he struck me as arrogant.
- He strikes me as a nice person.
น่าจะมีอีกหลายคำ และหลายสำนวน แต่ที่นำเสนอมานี้เป็นที่พบเห็นบ่อย ๆ ก็ขอให้ลองไปสังเกตเพิ่มดู
» ไปบทถัดไป 17. คำนำหน้านาม (การใช้ A, An, The) » กลับไปที่ สารบัญ