มาดู like กันต่อนะครับ ยังมีที่ใช้อีกมาก โดยเฉพาะในภาษาพูด
ถ้าจะว่าใครเจ๊บ ๆ ว่า “คนอย่างเธอไม่มีทางเข้าใจฉันหรอก” ไอ้อย่างเธอ นี่ก็ใช้ได้ว่า like you เป็น
- People like you will never understand me.
เป็นไงครับ ดูมันเข้าเนื้อกว่าไหม like ที่แปลว่า “อย่าง” ก็นิยมใช้กันมาก ดูตัวอย่างเพิ่ม เช่น
- I don’t do stuff like this. ฉันไม่ทำเรื่องพรรค์อย่างนี้ ความหมายเหมือนกับ I don’t do this kind of stuff.
- Something like this is good enough. อะไรอย่างนี้ (เหมือน ๆ อย่างนี้) ก็ถือว่าใช้ได้
- I want to find someone like him. ฉันอยากจะหาคนสักคนเหมือนอย่างเขา
ในภาษาพูด บางทีก็ใช้ในความหมายเป็นการยกตัวอย่าง เหมือน for example เช่น
- You can do a lot of things here like watching a movie or shopping. คุณทำอะไรได้หลายอย่างที่นี่ เช่น ดูหนัง หรือ ซื้อของ
ในภาษาพูด บางทีก็ใช้เป็นคำแทรก อันนี้สำหรับภาษาพูดเท่านั้นนะครับ ถ้าเทียบก็คล้ายกับคนไทยพูดว่า “แบบว่า”
- I want to go to like a park. สังเกตว่าไม่ถูกไวยกรณ์นะครับ แต่คนพูดกันโดยทั่วไป เอา like มาคั่น บางทีก็พูดเต็ม ๆ เป็น I want to go to like a park or something. ฉันอยากจะไปที่ แบบว่าเป็นสวนสาธารณะ หรืออะไรประมาณนั้น
- This is like crazy. อันนี้มันยังกับบ้าชัด ๆ
ภาษาพูดอีกเช่นเดียวกันครับ คนนิยมใช้มาก เวลาเล่าเรื่องว่า คนนั้นพูดอันนั้น คนนี้พูดอันนี้ เช่น
- I was like “What are you doing?” and he was like “Nothing. I’m just walking here.”
สังเกตว่ามันทำให้เรื่องน่าตื่นเต้นขึ้น ใส่รสชาติของเรื่องมากขึ้น แทนที่จะเป็น I said, he said ก็ใช้ to be like จะเป็น past tense หรือ present tense ก็ได้ มันเหมือนกับคนเล่า แสดงบทบาทของตัวละครที่เล่าไปด้วย