ศัพท์และสำนวน

I was wondering ที่ไม่ได้มีความหมายเป็นอดีต

“Somchai, I was wondering if I could use your pen?” อาสาสมัครต่างชาติคนหนึ่งพูดขึ้นขณะที่กำลังค้นหาของบางอย่างในกระเป๋าของเขา เราก็ตอบกลับไปว่า “Of course” แต่ในใจก็คิดว่าทำไมเขาขึ้นต้นด้วยวลีว่า I was wondering … เท่าที่เรียนมาเข้าใจตลอดว่ากริยา was บ่งบอกว่าเป็นอดีต แต่เหตุการณ์นี้ไม่น่าใช่อดีต เพราะกำลังคุยกันอยู่ตอนนี้ ทำไมเขาไม่ใช้ I am wondering ซึ่งน่าจะเข้ากับสถานการณ์มากกว่า แต่ ณ เวลานั้นก็ไม่ได้ถามเพื่อความกระจ่าง คงเป็นข้อสงสัยมาสักพัก จนมาได้คำตอบภายหลังว่า I was wondering if …

Break the ice

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมก็นั่งเครื่องบินจากอเมริกามาเมืองไทย เที่ยวสุดท้ายขึ้นที่เมืองจีน เกือบทั้งลำเต็มไปด้วยคนจีน อาจจะมีคนไทยบ้างเราก็แยกแยะไม่ออก ผมเดินทางคนเดียวนั่งติดทางเดิน คนที่นั่งข้าง ๆ เป็นชาวผิวดำวัยหนุ่ม  เดี๋ยวนี้คนส่วนใหญ่ที่เดินทางคนเดียว นั่งปุ๋ปก็ดูมือถือ บางคนเสียบหูฟัง บางคนเปิดหนังดู ก็ทำให้การสังคม (socialize) กับคนแปลกหน้าน้อยลง เรียกว่า ต่างคนต่างอยู่  ซึ่งก็ไม่ค่อยดีนัก วันนั้น ผมก็ทึกทักว่า คนนี้คงไม่ค่อยอยากคุยนักมั่ง ตอนเดินมานั่งก็แทรกข้ามาไม่พูดไม่จา ไม่ยิ้ม นั่งก็เอาแขนพาดกินที่ ก็เลยปล่อยเป็นแบบต่างคนต่างอยู่ไป เราก็เสียบหูฟัง ฟัง podcast ที่ค้างอยู่ ฟังจนหลับไป หลังจากตื่นขึ้นมา เห็นเวลาว่าเหลืออีกประมาณครึ่งชัวโมงจะถึง ดูคนข้าง ๆ ท่าทางเขาก็กระสับกระส่ายนิดหน่อย ซึ่งก็ไม่ผิดปกติครับ เพราะที่มันแคบ บางทีเขาเอาหนังสือมาดู บางทีมองไปที่หน้าต่าง แต่ไม่มองมาทางเรา ผมก็นึกในใจว่า เขาไม่ใส่หูฟัง ชวนคุยดีไม่นี่ เออ ช่างเขานะจะถึงแล้ว นั่งต่อมาผมก็รู้สึกกระสับกระส่ายเหมือนกัน แล้วก็คิดว่า เออ เราน่าจะทักทายหน่อยนะ เขามาคนเดียวเหงา ๆ แล้วเราก็เป็นคนไทย ถือเป็นเจ้าภาพ

รอไปรอมาจนเครื่องบินลง กำลังเดินเข้าจอด (taxi) ซึ่งปกติก็มีเวลาประมาณ 10 นาทีก่อนจะลงจากเคื่อง ผมก็นึกว่า เอาละว่ะ เราต้อง break the ice หน่อย ก็นึกถึงประโยคแรกที่จะพูดว่า “Welcome to Thailand”

way ที่แปลว่า มาก

มาดูวิธีใช้ way กันต่อครับ ซึ่งเป็นแบบที่หนังสือไทยไม่มีสอนกัน แต่พบเห็นเป็นประจำในภาษาพูด way อันนี้แปลว่า มาก หรือ เหลือเกิน เช่น

  • This is way easier than I think.   อันนี้ง่ายกว่าที่ฉันคิดมาก
  • I can do it way better than you. 

Way

way นอกจากแปลว่า ทาง แล้วหมายถึง ลักษณะอาการพูด คิด เดิน นั่ง นอน และอื่น ๆ มาดูตัวอย่างการใช้ way ในลักษณะนี้กันครับ หัดให้ชำนาญ เพราะว่า ใช้บ่อยมาก ทำให้การพูดลื่นหูขึ้นได้  แต่ว่าถ้าเรามือใหม่ บางทีพูดไม่ค่อยถูก

  • I feel the same way.   ฉันรู้สึกแบบนั้นเหมือนกัน
  • I feel in a similar way. 

การอ่านตัวเลขเศษส่วน

มาดูต่อเรื่องการออกเสียงตัวเลขนะครับ  เคยตั้งใจจะเขียนเรื่องเลขเศษส่วนและทศนิยมแล้วก็ลืมไป วันนี้มีคนถามถึงเลยนึกขึ้นได้ ภาษาอังกฤษก็มีวิธีออกเสียงเลขเศษส่วนที่พิสดารหน่อย ถ้าเราไม่เคยเรียนมา ไม่เคยได้ยินมา ก็รับรองว่ามั่วไม่ค่อยออก วันนี้มาลองดูกัน

  • 1/3  อ่านว่า one-third ครับ  third ที่มาจาก the third แปลว่า ที่สาม อันดับสาม นั่นแหละครับ ตัวส่วนเขาก็จะใช้ไอ้ตัวเลขอันดับนี้แหละ ถ้าสองส่วนสาม 2/3 ก็เป็น two-thirds สังเกตว่ามากกว่าหนึ่งจะกลายเป็นพหูพจน์
  • 1/4 ก็เป็น one-forth  1/5 ก็เป็น one-fifth เป็นต้น

ดังนั้น ถ้าเรานับเลขอันดับเป็น คือ first,

Look forward to

มีน้องถามถึงการใช้ look forward to ครับ ซึ่งผมมานึก ๆ ดูแล้ว เป็นสำนวนที่ใช้เป็นประจำทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน แต่ถ้าให้แปลเป็นไทยแล้ว แปลไม่ออกครับ เพราะคนไทยเราไม่ค่อยพูดกันอย่างนี้

สำนวนไทยที่พอจะใกล้เคียงในบางสถานการณ์ ก็คือ ตั้งตารอ  เช่น เราบอกว่า ฉันตั้ังตารอจะไปเที่ยวพักร้อนอาทิตย์หน้า ก็ใช้ภาษาอังกฤษได้ว่า

  • I look forward to my vacation next week. 

มิน่าล่ะ

สำนวนที่เราพูดว่า มิน่าละ ในภาษาอังกฤษก็ตรงกับสำนวนว่า no wonder ซึ่งก็ใช้ตามด้วยประโยคเหมือนไทยเลย เช่น

  • He was sick today.  No wonder he did not play well.  เขาไม่สบายวันนี้ มิน่าล่ะ ถึงเล่นไม่ค่อยดี
  • No wonder no one shows up. 
Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net