อื่นๆ

ข่าวสาร วัฒนธรรม และเรื่องอื่น ๆ

Happy Chinese New Year

Happy Chinese New Year 2017

สวัสดีปีใหม่จีน หรือตรุษจีน ภาษาอังกฤษ พูดว่า Happy Chinese New Year ครับ ภาษาจีนก็ 新年快乐 (ซิน เหนีย ไคว่ เลื่อ)  วันนี้ลองมาดูศัพท์ที่เกี่ยวกับปีใหม่จีนกัน

ปีนี้เป็นปีไก่ หรือ เรียกว่า Year of the Rooster  ไม่ใช้ว่า chicken นะครับ  rooster นั้นเป็นไก่ตัวผู้ ถ้าเราจะบอกใครว่า เราเกิดปีไก่ก็พูดได้ว่า

  • I was born in the Year of the Rooster.

ประชาธิปไตย

นาน ๆ ทีผมก็ขอนอกเรื่องภาษาหน่อย เรื่องของวัฒนธรรม และบ้านเมืองว่าไปแล้วก็เกี่ยวข้องกับภาษา เพราะถ้าเราไม่เข้าใจเขา บางทีก็คุยกันไม่รู้เรื่องก็มี วันนี้ผมขอพูดการเมืองสักหน่อย ในโอกาสที่คุณทรัมพ์ได้สาบานตนเข้าเป็นประธานาธิปดี หรือคนอเมริกันเรียกว่า inauguration ชัยชนะของเขาเป็นสิ่งที่ทำให้คนอเมริกัน และคนทั่วโลกอ้าปากค้าง เวลาผ่านไปสองเดือนแล้วก็ยังไม่อยากเชื่อกันอยู่ วันนี้ก็เลยมียังมีคนออกมาประท้วงกันมาก

ทรัมพ์ คือ ความล้มเหลวของประชาธิปไตย democracy หรือ?

Knock on wood

มาดูสำนวนเรื่องโชคลางของฝรั่งอีกสักอัน คราวนี้ขอเล่าถึงสำนวน เอามือเคาะไม้ หรือ knock on wood (-น็อก-ออน-วูด-) อันนี้เป็นสำนวนอเมริกัน คนอังกฤษจะใช้ว่า touch wood แต่ก็ใช้ในความหมายเดียวกัน คือหมายถึงว่า เวลามีอะไรที่มันดี ๆ อยู่แล้ว โดยเฉพาะเป็นสถานการณ์ล่อแหลมที่ทำให้ดีได้ยาก เราอยากจะภาวนาขอให้มันดีอย่างนี้ต่อไป ก็เรียกว่า knock on wood เทียบกับคนไทย ก็คงต้องแปลว่า สาธุขอให้ดีอย่างนี้ต่อ ๆ ไปเถิด

ตัวอย่างเช่น

  • Our company has been doing very well.

Keep one’s fingers crossed

คนไทยเวลาเอานิ้วชี้กับนิ้วกลางไขว้กัน มีความหมายอะไรไหมครับ สมัยเด็ก ๆ เขาเรียก อิบอับ หมายถึง หยุดก่อน ขอเวลานอกก่อน ไม่รู้มีความหมายอื่นกันอีกหรือเปล่า แต่สำหรับคนต่างชาติ สัญลักษณ์นี้มีความหมายคนละเรื่องเลยครับ เมื่อวันก่อนผมดูหนัง The Sound of Music ก็มีตอนหนึ่ง พระเอกไขว้นิ้วส่งสัญญาณให้นางเอกดู หันไปถามลูกว่า รู้ไหมเขาหมายความว่าอะไร ลูกบอกไม่รู้ ก็เลยต้องอธิบายให้ฟัง เลยเอามาเล่าต่อตรงนี้

สัญลักษณ์นี้ เขาเรียกว่า keep fingers crossed จะใช้คำพูดก็ได้ จะส่งสัญลักษณ์ด้วยมือก็ได้ มีความหมายว่า ขอให้เหตุการณ์ผ่านไปด้วยดี หรือขอให้ผลลัพธ์ออกมาดี เป็นคนไทยก็อาจจะพูดว่า ขอภาวนาให้ออกมาดีด้วยเถิด หรือ ขอพระช่วยด้วยเถิด อะไรทำนองนั้น keep one’s fingers crossed ใช้เวลาลุ้นอะไรสักอย่าง อาจเป็นเรื่องเล็ก ๆ เช่น เชียร์กีฬาก็ได้ หรือ เรื่องคอขาดบาดตายก็ได้ ถ้าคุณดูกีฬาต่างประเทศบ่อย ๆ บางทีก็จะเห็นคนดูทำสัญลักษณ์นี้เวลาลุ้นโค้งสุดท้าย เช่น นักกีฬากำลังจะยิงลูกโทษ ถ้าเข้าก็ชนะ ถ้าไม่เข้าก็อาจจะแพ้ คนดูที่ลุ้นมาก ๆ เขาก็ทำนิ้วไขว้ทั้งสองมือเลยก็มี

มาดูตัวอย่างการพูดเช่น

  • I’ll keep my fingers crossed for you.

เป็นร้อย ๆ พัน ๆ

มาดูเรื่องการพูดตัวเลขร้อย พันกันต่อ

  • คนเป็นร้อย ๆ hundreds of people
  • คนเป็นพัน ๆ thousands of people
  • คนเป็นหมื่น ๆ tens of thousands of people
  • คนเป็นแสน ๆ hundreds of thousands of people
  • คนเป็นล้าน ๆ millions of people

เรื่องของตัวเลข พัน หมื่น แสน

เรื่องการอ่านตัวแลข ภาษาอังกฤษ กับภาษาไทยเรา อ่านไม่เหมือนกัน ก็เป็นเรื่องที่ทำให้คนมือใหม่ ต้องฉุกคิดนิดหนึ่งเพื่อแปลไทยเป็นอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นไทย ลองมาหัดฟัง หัดพูดให้ชินครับ ลองมาดูตัวอย่าง

  • 1,000: one thousand หรือ a thousand อันนี้ไม่มีปัญหาอะไร
  • 1,500: จะพูดว่า one thousand five hundred ก็ได้ แต่คนส่วนใหญ่มักพูดว่า fifteen hundred เพราะมันกระทัดรัดกว่า นี่ก็ทำให้เป็นปัญหาสำหรับคนไทย เพราะเราไม่พูดอย่างนี้ในภาษาไทย ก็จำหลักไว้ว่า จำนวนที่มีทั้งหลักพัน และร้อย สามารถพูดควบกันได้อย่างนี้
  • 4,826: forty eight hundred and twenty six สังเกตว่า and จะใช้เชื่อมระหว่างหลักสิบกับหลักร้อยนะครับ จะใช้แบบยาวก็ยังอยู่ที่ตำแหน่งเดิมเป็น four thousand eight hundred and twenty six.

ภาษาอังกฤษ คือ ภาษาสากล

ภาษาอังกฤษ ปัจจุบันถือเป็นภาษาสากลครับ ถือแม้พูดกันรู้เรื่อง หรือพอรู้เรื่องกันทั่วโลก ก็มีข้อปลีกย่อยที่แตกต่างกันมากมาย ไม่เพียงแต่สำเนียง คำศัพท์ หรือสำนวน บางทีไวกรณ์ก็ไม่เหมือนกัน แม้แต่คนท้องถิ่นเดียวกัน บรรพบุรุษเขาก็อาจจะพูดไม่เหมือนเขาก็มี เวลาผมได้ไปดูหนังเมื่อ 60 กว่าปีก่อน ก็รู้สึก อ้อเมื่อก่อนเขาพูดไม่เหมือนสมัยนี้เนอะ เพราะฉะนั้น สรุปง่าย ๆ คือ ภาษาอังกฤษนั้นมีการแปรผันตามกาลเวลา และสถานที่ จริง ๆ แล้วทุกภาษามีลักษณะนี้ทั้งสิ้น แต่ภาษาอังกฤษมีมากกว่าเพราะเป็นภาษาสากล

เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ก็ขอให้ระวัง ทำหัวใจให้เปิดกว้างไว้หน่อย ว่าสิ่งที่ครูสอน หรือที่ผู้รู้ทั้งหลายสอน (รวมทั้งผมด้วย) แม้แต่ฝรั่งก็ตาม บางอย่างจริง แต่อาจจะไม่จริงเสมอไป บางอย่างอาจเป็นสิ่งที่คน 90% ในโลกเขาใช้กัน แต่บางอย่างก็อาจเป็นเพียงสิ่งที่คน 10% ในโลกใช้กัน คนสอนบางทีเขาก็ไม่บอกครับ หรือบางทีเขาก็ไม่รู้ด้วยซ๊ำ บางทีผมก็มารู้ทีหลังว่า สิ่งที่สอนไปบางอย่างเป็นเฉพาะแบบอเมริกันใช้กัน ก็โชคดีอาศัยว่าข้อมูลอยู่ในเวบ ไปแก้ไขเมื่อไรก็ได้ ผมเห็นมาหลายครั้งครับ บางทีเปิดหนังสือที่ร้านหนังสือไทยเจอแล้วก็ตกใจ สอนสำนวนอะไรประหลาด ๆ หรือ สอนกฏไวยกรณ์ที่ไม่จริงเสมอไป เคยเห็นฝรั่งอังกฤษที่เคร็งภาษาก็ตลกอีก บางทีบอกว่าต้องใช้อย่างนี้เท่านั้น อีกอย่างหนึ่งใช้ไม่ได้ อ้าว แต่ถ้าแบบที่ผิดเขาใช้กันทั่วไป แล้วคนรู้เรื่องตรงกัน แล้วจะเรียกว่า ผิดได้อย่างไร ฝรั่งอย่างนี้ คือฝรั่งที่ยังหลงอยู่ครับว่า ภาษาอังกฤษคือภาษาของเขา ซึ่งเป็นเรื่องในประวัติศาสตร์ครับ สำหรับปัจจุบันไม่มีของใครทั้งนั้น การใช้ผิด คือ การใช้แล้วคนไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด การพูดผิด หรือพูดไม่ชัด คือ การพูดแล้วคนฟังไม่รู้เรื่อง แม้แต่การพูดมีสำเนียง ปัจจุบัน คนหัวทันสมัยเขาก็ไม่ถือว่า เป็นการพูดไม่ชัดนะครับ

ดังนั้น เวลาเรียนภาษาอังกฤษเราควรต้องรู้พื้นฐานของคนสอนนะครับ จะได้รู้ว่าอาจมีการลำเอียงแนวไหนอยู่ สำหรับเพจนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการสอนภาษาอังกฤษแบบอเมริกันนะครับ แต่เนื่องจาก ผมอยู่อเมริกามานาน กว่า 90 % ของภาษาอังกฤษที่ใช้และได้ยินในชีวิตประจำวันก็เป็นแบบอเมริกัน ดังนั้น บางทีก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าใครสงสังว่าอาจจะเขียนผิดอะไรก็ท้วงติงได้เลย ไม่ต้องเกรงใจ

Copyright © 2013-2024 betterenglishforthai.net